พม. ระดมเครือข่าย ขับเคลื่อน SDGs เป้าหมายที่ 5 หนุนความเสมอภาคระหว่างเพศ - สร้างฐานข้อมูลประเทศไทย พร้อมนำร่อง 5 จังหวัด - MSK News

Breaking

  

Home Top Ad

วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2568

demo-image

พม. ระดมเครือข่าย ขับเคลื่อน SDGs เป้าหมายที่ 5 หนุนความเสมอภาคระหว่างเพศ - สร้างฐานข้อมูลประเทศไทย พร้อมนำร่อง 5 จังหวัด

add

S__27418682_0

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 5 ในระดับพื้นที่ : การส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและเสริมสร้างฐานข้อมูลในประเทศไทย เพื่อการจัดทำแผนพัฒนาระดับจังหวัดที่ตอบสนองต่อมิติทางเพศ และสนับสนุนการเก็บข้อมูลสำหรับ SDGs เป้าหมายที่ 5 ในพื้นที่จังหวัดนำร่อง 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี เชียงราย นครราชสีมา ภูเก็ต และปัตตานี 

S__27418683_0

จัดโดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) ประจำประเทศไทย องค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ (UN Women) สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประจำประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งมีนางสาวแรมรุ้ง วรวัธ อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กล่าวรายงาน พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ ห้องประชุมปกรณ์ อังศุสิงห์ ชั้น 2 อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพฯ อีกทั้งผู้ปฏิบัติงานด้านความเสมอภาคระหว่างเพศจากหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคม 71 จังหวัด ร่วมประชุมผ่านระบบออนไลน์

S__27418679_0

นายอนุกูล กล่าวว่า การประชุมวันนี้ เป็นการขับเคลื่อนในการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและมุ่งเน้นเรื่องฐานข้อมูลของประเทศไทยใน SDGs เป้าหมายที่ 5 เพื่อให้เห็นว่าประเทศไทยนั้น มีความมุ่งมั่นและให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนความเสมอภาคระหว่างเพศ ซึ่งมีหลายเรื่องที่ประเทศไทยดำเนินการไปแล้ว ไม่ว่าจะเรื่องของสมรสเท่าเทียม และเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 68 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้มีมติรับหลักการของร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวง พม. เสนอ ซึ่งมีการปรับคำนิยามให้มีความสอดคล้องและชัดเจนมากขึ้น และมีมิติอื่นๆ ที่ต้องการขับเคลื่อน อาทิ การทำงบประมาณที่คำนึงถึงเพศภาวะ บทบาทผู้หญิง สุขภาวะผู้หญิง และการศึกษาของเด็กผู้หญิง ซึ่งเป็นเรื่องของฐานข้อมูลในประเทศไทย ที่จะแสดงรายละเอียดออกมาว่าประเทศไทยมีความก้าวหน้าอย่างไร เพราะฉะนั้นต้องได้รับการสนับสนุนและร่วมมือจากผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ

S__27418681_0

นายอนุกูล กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม SDGs นั้น เหลือเวลาอีก 5 ปี ที่จะต้องขับเคลื่อนและรายงานความสำเร็จทั้งโลก เพราะฉะนั้นประเทศไทยเรามีความมุ่งมั่น และได้รับการสนับสนุนต่างๆ จากองค์การสหประชาชาติ (UN) ซึ่งเรามีความมุ่งมั่นที่จะทำให้เด็กผู้หญิงหรือผู้หญิงได้รับความเท่าเทียมระหว่างเพศหรือลดความเหลื่อมล้ำให้เกิดขึ้นในประเทศไทยต่อไป ทั้งนี้ การดำเนินการใน 5 จังหวัดนำร่อง ต้องขับเคลื่อนงานอย่างมีเป้าหมายตามกำหนดเวลาที่ชัดเจน เพราะฉะนั้นถือว่าการขับเคลื่อนงานใน 5 จังหวัดนำร่อง เป็นระยะเร่งด่วน ซึ่งการประชุมครั้งนี้ จะทำให้เกิดแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนทั้ง 5 จังหวัดนำร่อง ซึ่งจะแล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ 2568 และคาดว่าอีก 71 จังหวัด จะสามารถจัดทำแผนปฏิบัติการการเบื้องต้นได้

S__27418684_0

นายอนุกูล กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ การประชุมครั้งนี้ เป็นการนำ SDGs เป้าหมายที่ 5 มาขยายผลสู่การขับเคลื่อนงานในระดับจังหวัดได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงช่วยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงการปฏิรูป และการมีส่วนร่วม เพื่อทำให้ความเท่าเทียมระหว่างเพศ และการเสริมพลังผู้หญิงในประเทศไทยเป็นจริง โดยมีเป้าหมายย่อย และหวังว่าผู้เข้าประชุมครั้งนี้ จะได้รับความรู้ ความเข้าใจถึง SDGs เป้าหมายที่ 5 และความสำคัญของความเท่าเทียมระหว่างเพศ ต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับจังหวัด ตลอดจนสามารถปรับใช้ให้เข้ากับบริบทพื้นที่ของจังหวัดได้อย่างเป็นรูปธรรม#ข่าวพม #พม #ศรส #esshelpme #5x5ฝ่าวิกฤติประชากร #พมหนึ่งเดียว #วราวุธศิลปอาชา #ศบปภ #พันธกิจสำคัญ9ด้าน #SDGsเป้าหมายที่5


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *