ผู้ว่าฯขอนแก่น ไกรสร กองฉลาด
KKIC หรือ Khon Kaen Innovation Centre ประสานความร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชนระดับประเทศ นำโดย หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และ จังหวัดขอนแก่น เตรียมจัดงาน “ปลาร้า หมอลำ อีสาน ทู เดอะ เวิลด์’24” มหกรรมยิ่งใหญ่แห่งปี ณ จังหวัดขอนแก่น เดินหน้าสานต่อแนวคิด ‘ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ’ ผลักดันด้านการท่องเที่ยว ชูอัตลักษณ์ท้องถิ่น และศูนย์กลางสร้างเศรษฐกิจไทยให้ยั่งยืน ไปพร้อม ๆ กับสังคมและชุมชน โดยมี “ปลาร้า” ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของอาหารพื้นบ้าน และ “หมอลำ” การแสดงดนตรีภาษาพื้นถิ่นอีสานอันทรงคุณค่า เพื่อยกระดับภาคอีสานสู่สายตาชาวโลกครบทุกมิติ
คุณกวิน ว่องกุศลกิจ ผู้อำนวยการ บริษัท ขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด กล่าวว่า “ด้วยการผสานแนวคิดจาก 3 ภาคีเครือข่าย ซึ่งได้แก่ บริษัท ขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด พร้อมด้วย ดร.ศิริกุล เลากัยกุล ผู้อำนวยการ Sustainable Brands (SB) Thailand ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่ให้ความสำคัญกับเรื่อง Food Security และ Equality และ คุณสุชาติ อินทร์พรหม ผู้อำนวยการ บริษัท นิวเจน เอ็นเตอร์เทนเมนท์ และผู้ผลิตรายการหมอลำไอดอล ที่มีใจรักในดนตรีหมอลำ และผลักดันให้หมอลำก้าวไปสู่ระดับโลก ร่วมกันขับเคลื่อนศักยภาพของภาคอีสาน และจังหวัดขอนแก่นให้เป็นศูนย์กลาง ภายใต้แนวคิด “ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ” ชูอัตลักษณ์ท้องถิ่น และสร้างศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาสังคมและชุมชน ตลอดจนยกระดับภาคอีสานให้เป็นอีกหนึ่ง Thailand Destination
“การจัดงาน “ปลาร้า หมอลำ อีสาน ทู เดอะ เวิลด์’24” ได้ต่อยอดไปจนถึงการส่งเสริม “มานานุภาพ” (Soft Power) ของวัฒนธรรมอีสานเพื่อสร้างโอกาสด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและพื้นถิ่น โดยการเดินหน้าด้วยหลัก 3 ประการ ด้านเศรษฐกิจ สร้างโอกาสทางการตลาดโดยเฉพาะ “ปลาร้า” ให้กับพื้นถิ่นผู้ผลิตรวมถึงการขยายตลาดไปสู่ตลาดโลกในระดับสากล ด้านส่งเสริมวัฒนธรรม นำเสนอมรดกทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนทั้งด้านอาหารและความบันเทิงอันเป็นที่ภาคภูมิใจของชาวอีสาน ด้านสังคม เปิดโอกาสให้ประชาชนพื้นถิ่นอีสานที่อาศัยอยู่ทั่วโลกได้เดินทางกลับมายังบ้านเกิด กระตุ้นให้แรงบันดาลใจ ความภาคภูมิใจ พร้อมดึงดูดนักท่องเที่ยวในประเทศและต่างประเทศ และผลักดันให้งานดังกล่าวเป็น Thailand Festival งานยิ่งใหญ่ประจำปีของภาคอีสาน โดยคาดหวังว่างานมหกรรมครั้งนี้จะมีเม็ดเงินสะพัดได้มากกว่า 500 ล้านบาท” คุณกวิน กล่าวเสริม
ด้าน ดร.ศิริกุล เลากัยกุล ผู้อำนวยการ Sustainable Brands (SB) Thailand กล่าวว่า สำหรับอาหารพื้นถิ่นอีสาน อย่าง “ปลาร้า” ถือเป็นศาสตร์และศิลป์ของการหมักดอง ซึ่งเรียกได้ว่ากำลังเป็นกระแสสำคัญของธุรกิจอาหารทั่วโลก โดยเป็นอาหารที่คนส่วนใหญ่ยอมรับในรสชาติและถือเป็นภูมิปัญญาของคนอีสานอย่างแท้จริง อีกทั้งยังเป็นศิลปะที่สะท้อนวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น โดยอีสานเป็นภูมิภาคที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ปลาหลากหลายกว่า 1,200 สายพันธุ์ มักนำมาถนอมอาหารด้วยการหมักปลาร้า นับเป็นศาสตร์และศิลป์ของการหมักในแต่ละที่ จึงทำให้มีรสชาติและเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไป ทั้งยังมีคุณค่าและศักยภาพที่สามารถพัฒนาสู่มาตรฐานสากลได้ ซึ่งกระแสของปลาร้าไทยถูกพูดถึงผ่านสื่อของศิลปินและคนดังในต่างแดน ยิ่งทำให้ปลาร้าได้รับความสนใจจากหลากหลายประเทศ เป็นการเปิดตลาดให้ปลาร้ากลายเป็นเครื่องปรุงรสที่ได้รับการยอมรับในร้านอาหารไทยและนานาชาติ ซึ่งปัจจุบันยังคงมีแนวโน้มการเติบโตที่น่าสนใจ โดยในอนาคตปลาร้าจะเป็นหนึ่งในอาหารของไทยที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างและพัฒนาอย่างยั่งยืนในหลายมิติ
สอดคล้องกับคอนเซ็ปต์ ISAN Home Coming Festival ซึ่งงานในครั้งนี้ได้ร่วมมือกับสถาบันอาหาร (National Food Institute) และเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) ที่จะเข้ามารองรับในเรื่องมาตรฐานและนวัตกรรมอาหาร โดยมีการคิดค้นวิธีเก็บรักษาปลาร้าได้นานยิ่งขึ้น และสามารถขนส่งได้คล่องตัวมากขึ้นสำหรับภาคการส่งออก เช่น การทำปลาร้าผง หรือ ปลาร้าอัดก้อน เป็นต้น อีกทั้งจะมีการให้ความรู้และรับรองทางด้านสุขอนามัย เพื่อยกระดับปลาร้าไทยให้มีมาตรฐานระดับสากลได้อีกด้วย โดยเฉพาะการสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผลิตภัณฑ์พื้นบ้านรายเล็ก โดยภายในงานจะให้ความรู้ในเรื่องของปลาร้า และดึงจุดเด่นมาสร้างสรรค์ได้หลากหลายเมนู จากความร่วมมือของ Celebrity Chef ชื่อดัง ทั้งในและต่างประเทศ ที่ได้เชิญมาทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการทำ Work shop สร้างสรรค์เมนูจากปลาร้า ร่วมสัมผัสอาหารมื้อพิเศษ Dining Experience ISAN Original Cuisine และการแข่งขันสร้างสรรค์เมนูใหม่ ๆ จากปลาร้า อีกทั้งในงานนี้ยังได้รวบรวมปลาร้าจากหลาย ๆ แห่งในภาคอีสานให้ได้ลองสัมผัสรสชาติที่แตกต่างกัน นอกจากนี้จะได้สัมผัสถึงความยิ่งใหญ่ของ “ศาสตร์การหมักดองอาหาร” อันเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ในการประกอบอาหารที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนในทุกมิติ (food security + ISAN Wisdom) ซึ่งเชื่อว่า ปลาร้า จะเป็นหนึ่งในหมวดอาหารของไทยที่สามารถพัฒนาเปลี่ยนแปลงสังคมได้ในทุกมิติของความยั่งยืน” ดร.ศิริกุล กล่าวต่อ
ด้าน คุณสุชาติ อินทร์พรหม ผู้อำนวยการ บ.นิวเจน เอ็นเตอร์เทนเมนท์ กล่าวว่า “หมอลำ เป็นการแสดงพื้นบ้านของชาวอีสานที่มีประวัติความเป็นมา พัฒนาการ และพลวัติการปรับตัวท่ามกลางกระแสที่เปลี่ยนแปลงของสังคมอีสานมาอย่างยาวนาน โดย “หมอ” คือผู้เชี่ยวชาญ “ลำ” คือการถ่ายทอดบทกลอนออกมาเป็นท่วงทำนอง ดังนั้น “หมอลำ” คือ ศิลปินผู้เชี่ยวชาญในการถ่ายทอดวิถีเรื่องราวผ่านกลอนลำ หมอลำ เป็นสื่อสะท้อนวิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ และความเคลื่อนไหวของผู้คนในภูมิภาคแห่งนี้ นอกจากนี้ยังสื่อถึง ความสนุกสนาน ความรัก ความคิดถึง และท่วงท่าของคนอีสาน ซึ่งจุดเด่นของหมอลำคือ “ความม่วน” เมื่อได้ยินได้ฟังถึงแม้จะไม่เข้าใจความหมายของกลอนลำ แต่มือไม้จะขยับเข้าจังหวะทันทีโดยเฉพาะคนที่มาจากต่างวัฒนธรรม ดังนั้นหมอลำจึงเป็นศิลปะพื้นบ้านที่สามารถเข้าถึงและผสมผสานกับวัฒนธรรมดนตรีและการแสดงของต่างชาติได้อย่างลงตัว
ยิ่งไปกว่านั้น หมอลำยังมีบทบาทสำคัญในการสื่อสารนโยบายสาธารณะ รวมถึงการรณรงค์ด้านต่าง ๆ ของรัฐและเป็นช่องทางสื่อสารการเมืองในระดับต่าง ๆ หมอลำเป็นต้นแบบในการสอน และให้สติสังคมในด้านศีลธรรมจรรยาทางพุทธศาสนา ในปัจจุบันบทบาทของหมอลำมีผลต่อสังคม แรงงานสร้างสรรค์ และเศรษฐกิจฐานราก เป็นจุดเชื่อมหลักของกิจกรรมทางธุรกิจในระดับชุมชนที่มีมูลค่าสูงมาก โดยภายในงานจะมีศิลปินหมอลำระดับตำนาน และ ศิลปินหมอลำเมืองขอนแก่น ที่มีชื่อก้องฟ้าเมืองไทยและดังไกลทั่วโลกจากหมอลำสองวง คือ ระเบียบวาทศิลป์ ประถมบันเทิงศิลป์ และ สาวน้อยเพชรบ้านแพง มาจัดการแสดงหมอลำและโชว์ด้านวัฒนธรรมอีสานที่เข้มข้น ความแซ่บนัวของปลาร้า และ ความม่วนของหมอลำ ไว้ในที่เดียวกัน ที่ไม่เคยนำเสนอที่ใดมาก่อน อีกทั้งเพลงประจำงาน “ปลาร้า หมอลำ อีสาน ทู เดอะ เวิลด์’24” ให้เกียรติขับร้องโดย คุณอ๊อฟ สุรพล หมอลำไอดอล อีกด้วย”
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
คุณกวิน ว่องกุศลกิจ ผู้อำนวยการ บริษัท ขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด กล่าวว่า “ด้วยการผสานแนวคิดจาก 3 ภาคีเครือข่าย ซึ่งได้แก่ บริษัท ขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด พร้อมด้วย ดร.ศิริกุล เลากัยกุล ผู้อำนวยการ Sustainable Brands (SB) Thailand ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่ให้ความสำคัญกับเรื่อง Food Security และ Equality และ คุณสุชาติ อินทร์พรหม ผู้อำนวยการ บริษัท นิวเจน เอ็นเตอร์เทนเมนท์ และผู้ผลิตรายการหมอลำไอดอล ที่มีใจรักในดนตรีหมอลำ และผลักดันให้หมอลำก้าวไปสู่ระดับโลก ร่วมกันขับเคลื่อนศักยภาพของภาคอีสาน และจังหวัดขอนแก่นให้เป็นศูนย์กลาง ภายใต้แนวคิด “ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ” ชูอัตลักษณ์ท้องถิ่น และสร้างศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาสังคมและชุมชน ตลอดจนยกระดับภาคอีสานให้เป็นอีกหนึ่ง Thailand Destination
“การจัดงาน “ปลาร้า หมอลำ อีสาน ทู เดอะ เวิลด์’24” ได้ต่อยอดไปจนถึงการส่งเสริม “มานานุภาพ” (Soft Power) ของวัฒนธรรมอีสานเพื่อสร้างโอกาสด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและพื้นถิ่น โดยการเดินหน้าด้วยหลัก 3 ประการ ด้านเศรษฐกิจ สร้างโอกาสทางการตลาดโดยเฉพาะ “ปลาร้า” ให้กับพื้นถิ่นผู้ผลิตรวมถึงการขยายตลาดไปสู่ตลาดโลกในระดับสากล ด้านส่งเสริมวัฒนธรรม นำเสนอมรดกทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนทั้งด้านอาหารและความบันเทิงอันเป็นที่ภาคภูมิใจของชาวอีสาน ด้านสังคม เปิดโอกาสให้ประชาชนพื้นถิ่นอีสานที่อาศัยอยู่ทั่วโลกได้เดินทางกลับมายังบ้านเกิด กระตุ้นให้แรงบันดาลใจ ความภาคภูมิใจ พร้อมดึงดูดนักท่องเที่ยวในประเทศและต่างประเทศ และผลักดันให้งานดังกล่าวเป็น Thailand Festival งานยิ่งใหญ่ประจำปีของภาคอีสาน โดยคาดหวังว่างานมหกรรมครั้งนี้จะมีเม็ดเงินสะพัดได้มากกว่า 500 ล้านบาท” คุณกวิน กล่าวเสริม
ด้าน ดร.ศิริกุล เลากัยกุล ผู้อำนวยการ Sustainable Brands (SB) Thailand กล่าวว่า สำหรับอาหารพื้นถิ่นอีสาน อย่าง “ปลาร้า” ถือเป็นศาสตร์และศิลป์ของการหมักดอง ซึ่งเรียกได้ว่ากำลังเป็นกระแสสำคัญของธุรกิจอาหารทั่วโลก โดยเป็นอาหารที่คนส่วนใหญ่ยอมรับในรสชาติและถือเป็นภูมิปัญญาของคนอีสานอย่างแท้จริง อีกทั้งยังเป็นศิลปะที่สะท้อนวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น โดยอีสานเป็นภูมิภาคที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ปลาหลากหลายกว่า 1,200 สายพันธุ์ มักนำมาถนอมอาหารด้วยการหมักปลาร้า นับเป็นศาสตร์และศิลป์ของการหมักในแต่ละที่ จึงทำให้มีรสชาติและเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไป ทั้งยังมีคุณค่าและศักยภาพที่สามารถพัฒนาสู่มาตรฐานสากลได้ ซึ่งกระแสของปลาร้าไทยถูกพูดถึงผ่านสื่อของศิลปินและคนดังในต่างแดน ยิ่งทำให้ปลาร้าได้รับความสนใจจากหลากหลายประเทศ เป็นการเปิดตลาดให้ปลาร้ากลายเป็นเครื่องปรุงรสที่ได้รับการยอมรับในร้านอาหารไทยและนานาชาติ ซึ่งปัจจุบันยังคงมีแนวโน้มการเติบโตที่น่าสนใจ โดยในอนาคตปลาร้าจะเป็นหนึ่งในอาหารของไทยที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างและพัฒนาอย่างยั่งยืนในหลายมิติ
สอดคล้องกับคอนเซ็ปต์ ISAN Home Coming Festival ซึ่งงานในครั้งนี้ได้ร่วมมือกับสถาบันอาหาร (National Food Institute) และเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) ที่จะเข้ามารองรับในเรื่องมาตรฐานและนวัตกรรมอาหาร โดยมีการคิดค้นวิธีเก็บรักษาปลาร้าได้นานยิ่งขึ้น และสามารถขนส่งได้คล่องตัวมากขึ้นสำหรับภาคการส่งออก เช่น การทำปลาร้าผง หรือ ปลาร้าอัดก้อน เป็นต้น อีกทั้งจะมีการให้ความรู้และรับรองทางด้านสุขอนามัย เพื่อยกระดับปลาร้าไทยให้มีมาตรฐานระดับสากลได้อีกด้วย โดยเฉพาะการสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผลิตภัณฑ์พื้นบ้านรายเล็ก โดยภายในงานจะให้ความรู้ในเรื่องของปลาร้า และดึงจุดเด่นมาสร้างสรรค์ได้หลากหลายเมนู จากความร่วมมือของ Celebrity Chef ชื่อดัง ทั้งในและต่างประเทศ ที่ได้เชิญมาทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการทำ Work shop สร้างสรรค์เมนูจากปลาร้า ร่วมสัมผัสอาหารมื้อพิเศษ Dining Experience ISAN Original Cuisine และการแข่งขันสร้างสรรค์เมนูใหม่ ๆ จากปลาร้า อีกทั้งในงานนี้ยังได้รวบรวมปลาร้าจากหลาย ๆ แห่งในภาคอีสานให้ได้ลองสัมผัสรสชาติที่แตกต่างกัน นอกจากนี้จะได้สัมผัสถึงความยิ่งใหญ่ของ “ศาสตร์การหมักดองอาหาร” อันเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ในการประกอบอาหารที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนในทุกมิติ (food security + ISAN Wisdom) ซึ่งเชื่อว่า ปลาร้า จะเป็นหนึ่งในหมวดอาหารของไทยที่สามารถพัฒนาเปลี่ยนแปลงสังคมได้ในทุกมิติของความยั่งยืน” ดร.ศิริกุล กล่าวต่อ
ด้าน คุณสุชาติ อินทร์พรหม ผู้อำนวยการ บ.นิวเจน เอ็นเตอร์เทนเมนท์ กล่าวว่า “หมอลำ เป็นการแสดงพื้นบ้านของชาวอีสานที่มีประวัติความเป็นมา พัฒนาการ และพลวัติการปรับตัวท่ามกลางกระแสที่เปลี่ยนแปลงของสังคมอีสานมาอย่างยาวนาน โดย “หมอ” คือผู้เชี่ยวชาญ “ลำ” คือการถ่ายทอดบทกลอนออกมาเป็นท่วงทำนอง ดังนั้น “หมอลำ” คือ ศิลปินผู้เชี่ยวชาญในการถ่ายทอดวิถีเรื่องราวผ่านกลอนลำ หมอลำ เป็นสื่อสะท้อนวิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ และความเคลื่อนไหวของผู้คนในภูมิภาคแห่งนี้ นอกจากนี้ยังสื่อถึง ความสนุกสนาน ความรัก ความคิดถึง และท่วงท่าของคนอีสาน ซึ่งจุดเด่นของหมอลำคือ “ความม่วน” เมื่อได้ยินได้ฟังถึงแม้จะไม่เข้าใจความหมายของกลอนลำ แต่มือไม้จะขยับเข้าจังหวะทันทีโดยเฉพาะคนที่มาจากต่างวัฒนธรรม ดังนั้นหมอลำจึงเป็นศิลปะพื้นบ้านที่สามารถเข้าถึงและผสมผสานกับวัฒนธรรมดนตรีและการแสดงของต่างชาติได้อย่างลงตัว
ยิ่งไปกว่านั้น หมอลำยังมีบทบาทสำคัญในการสื่อสารนโยบายสาธารณะ รวมถึงการรณรงค์ด้านต่าง ๆ ของรัฐและเป็นช่องทางสื่อสารการเมืองในระดับต่าง ๆ หมอลำเป็นต้นแบบในการสอน และให้สติสังคมในด้านศีลธรรมจรรยาทางพุทธศาสนา ในปัจจุบันบทบาทของหมอลำมีผลต่อสังคม แรงงานสร้างสรรค์ และเศรษฐกิจฐานราก เป็นจุดเชื่อมหลักของกิจกรรมทางธุรกิจในระดับชุมชนที่มีมูลค่าสูงมาก โดยภายในงานจะมีศิลปินหมอลำระดับตำนาน และ ศิลปินหมอลำเมืองขอนแก่น ที่มีชื่อก้องฟ้าเมืองไทยและดังไกลทั่วโลกจากหมอลำสองวง คือ ระเบียบวาทศิลป์ ประถมบันเทิงศิลป์ และ สาวน้อยเพชรบ้านแพง มาจัดการแสดงหมอลำและโชว์ด้านวัฒนธรรมอีสานที่เข้มข้น ความแซ่บนัวของปลาร้า และ ความม่วนของหมอลำ ไว้ในที่เดียวกัน ที่ไม่เคยนำเสนอที่ใดมาก่อน อีกทั้งเพลงประจำงาน “ปลาร้า หมอลำ อีสาน ทู เดอะ เวิลด์’24” ให้เกียรติขับร้องโดย คุณอ๊อฟ สุรพล หมอลำไอดอล อีกด้วย”
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
นอกจากนี้ ภายในงานยังมีกิจกรรมให้ผู้เข้าชมงานได้ร่วมสนุกอีกหลากหลาย อาทิ Isan Homecoming Parade ขบวนพาเหรดม่วนซื่นคืนถิ่น, Dining Session และ Food Feast ร้าร้า ลำลำ กับบรรดาเซเลปเชฟทั้งในและต่างประเทศ และเชฟชุมชนในระดับตำนาน, คอนเสิร์ตหมอลำบริเวณลานศรีจันทร์แบบม่วนหลาย รวมถึง หมอลำ Truck, ร้านค้าอาหารพื้นบ้านจากจังหวัดต่าง ๆ ในภาคอีสาน และมุม Talk กับกูรูสายอาหารและหมอลำแบบม่วนใจในช่วง Conference Forum เตรียมพบกับความอลังการของงาน “ปลาร้า หมอลำ อีสาน ทู เดอะ เวิลด์’24” ในวันที่ 26 - 29 ธันวาคม 2567 ณ อาคารขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น และยังได้รับความร่วมมือจากร้านอาหาร โรงแรม ทั่วเมืองขอนแก่น อีกมากมาย ซึ่งจะช่วยเศรษฐกิจอีสานเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด พร้อมอนุรักษ์และส่งเสริมผลักดันให้วัฒนธรรมอีสานได้ประกาศออกสู่สายตาชาวโลกอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น