เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2567เวลา 13.00 น. นางสาวโสพิญฐ์ สุวรรณหงส์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดแพร่ (พมจ.) มอบหมายข้าราชการและเจ้าหน้าที่ พร้อมด้วยทีม พม.หนึ่งเดียวจังหวัดแพร่ ร่วมการประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) จังหวัดแพร่ เพื่อเตรียมความพร้อมการใช้งานระบบขอรับความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม หรือ พม.Smart โดยมีนายอติพันธ์ สุวัฒน์เมฆินทร์ นักวิจัยมูลนิธิศูนย์วิจัยและติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ, นางสาวณัฐนาถ รัตนประหาต ผู้ช่วยนักวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร และนางสาวสุวภัทส์ ปรีเปรม นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ กองตรวจราชการ สำนักงานปลัดกระทรวง พม. ร่วมเป็นวิทยากร มีผู้เข้าร่วมจำนวน 30 คน ณ ห้องประชุมเวียงโกศัย ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดแพร่
โครงการ ‘การพัฒนาระบบการขอรับการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์’ หรือ ‘พม. Smart ดำเนินการโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และ มูลนิธิศูนย์วิจัยและติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ ซึ่งได้เล็งเห็นปัญหาในปัจจุบัน กล่าวคือประเทศไทยยังมีประชาชนกลุ่มเปราะบางเป็นจำนวนมาก ทั้งเด็ก เยาวชน คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ที่ขาดโอกาสการเข้าถึงสิทธิ สวัสดิการต่างๆ อีกทั้งยังเผชิญกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมด้วย ดังนั้น โจทย์สำคัญที่จะต้องแก้ให้ได้คือการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม เพื่อทำให้คนด้อยโอกาส สามารถเข้าถึงสิทธิต่างๆ ที่พวกเขาพึงได้รับมากขึ้น
โดยเดิมทีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลใช้การเขียนเอกสาร ประมาณ 10 หน้า ต่อผู้ประสบปัญหาทางสังคม 1 ราย เมื่อต้องส่งต่อเคส ก็ต้องเอาเอกสารทั้งหมดส่งไปให้หน่วยงานอื่น ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลา และทำให้กระบวนการช่วยเหลือล่าช้า ทาง กสศ. และกระทรวง พม. จึงพัฒนาระบบ พม.Smart ขึ้น เพราะในระบบ พม.Smart มีการนำข้อมูลในแต่ละส่วนมาบูรณาการ เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวก และลดความทับซ้อนในการทำงานลง อีกทั้งลดปัญหาความล่าช้าและยุ่งยากจากขั้นตอนการส่งเอกสารดังกล่าว และเพื่อทำให้การให้ความช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางมีความรวดเร็วมากขึ้น #ข่าวพม #พม #ศรส #esshelpme #1300 #วราวุธรับฟังทำจริง #พมพอใจให้ทุกวัยพึงพอใจในพม #พมหนึ่งเดียวรวมใจ #ช่วยเหลือ #น้ำท่วม #เชียงราย #เชียงใหม่ #ศูนย์รับบริจาค #พม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น