NIA สร้างเครือข่ายความร่วมมือในงาน SITE2024 ดึง 7 หน่วยงานลงนามร่วมยกระดับระบบนิเวศนวัตกรรมไทย - MSK News

Breaking

Home Top Ad

วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

NIA สร้างเครือข่ายความร่วมมือในงาน SITE2024 ดึง 7 หน่วยงานลงนามร่วมยกระดับระบบนิเวศนวัตกรรมไทย


เมื่อวันที่ 22 ก.ค.2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงาน นวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ดึง 7 หน่วยงาน ลงนามบันทึกข้อตกลง และบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความ ร่วมมือในการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมในหลากหลายมิติต่าง ทั้งการพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรม การใช้ประโยชน์จาก งานวิจัย และการพัฒนาย่านนวัตกรรม โดยพิธีลงนามจัดขึ้นในงาน "STARTUP x INNOVATION THAILAND EXPO 2024* หรือ SITE 2024 มหกรรมนวัตกรรมและเครือข่ายสตาร์ทอัพไทยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน อว.แฟร์ "SCI Power” จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 22 - 28 กรกฎาคม 2567 ณ โซน C ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า "งาน 'STARTUP x INNOVATION THAILAND EXPO 2024" หรือ SITE 2024 จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อยกระดับสตาร์ท อัพและผู้ประกอบการนวัตกรรมของไทยให้มีโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืน โดยปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด "Innovation for Growth and Sustainability" เพื่อเร่งสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจและสตาร์ทอัพไทยในทุกมิติ โดยมี 5 กิจกรรมไฮไลด์ ได้แก่ Forum : รวมสตาร์ทอัพและนวัตกรชั้นนำของเมืองไทย และวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากต่าง มาร่วม แลกเปลี่ยนความรู้ และสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนานวัตกรรม Marketplace : ตลาดสินค้านวัตกรรมกว่า 300 ราย Business Matching : โอกาสสำหรับสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมในการจับคู่ทางธุรกิจ พร้อมรับคำปรึกษา เพื่อให้ธุรกิจเติบโต Prime Minister Award : พิธีมอบรางวัลประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติให้แก่ผู้มีส่วนร่วมในการ ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบนิเวศสตาร์ทอัพของประเทศ และ Startup Thailand League 2024: National Pitching เวทีใหญ่ 14 ทีมสุดท้ายในรอบชิงแชมป์ประเทศไทย”

“นอกจากกิจกรรมไฮไลต์แล้ว NIA ในฐานะ “ผู้กำหนดทิศทางนวัตกรรม (Focal Conductor)" ยังได้เดินหน้าสร้าง ความร่วมมือกับเครือข่ายนวัตกรรมทั้งในและต่างประเทศ เพื่อยกระดับระบบนิเวศสตาร์ทอัพ และระบบนิเวศนวัตกรรมของ ไทยให้เข้มแข็ง และนำไปสู่การขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ชาตินวัตกรรม โดยได้ลงนามบันทึกข้อตกลงและบันทึกความเข้าใจ ร่วมกับ 7 หน่วยงานที่มีพันธกิจครอบคลุมการดำเนินงานด้านนวัตกรรมในหลากหลายมิติ ทั้งการพัฒนาศักยภาพด้าน นวัตกรรม การใช้ประโยชน์จากงานวิจัย และการพัฒนาย่านนวัตกรรม ดังนี้ 1. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการนวัตกรรมและวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น กับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการนวัตกรรมดิจิทัลให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน และเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขันทั้งในและต่างประเทศได้ 


2. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการโครงการ Al Thailand Mobile Lab กับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ แห่งชาติ (NECTEC) เพื่อสนับสนุนการทำงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence: Al) ทั้งในส่วนของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา 


3. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการ ยกระดับอุตสาหกรรมไมซ์ไทยสู่การเป็นจุดหมายปลายทางมูลค่าสูงแห่งเอเชีย กับสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและ นิทรรศการ (องค์การมหาชน) (TCEB) เพื่อสนับสนุนการดำเนินการด้านนวัตกรรมร่วมกับด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์ และมุ่งพัฒนาการเพิ่มศักยภาพของประเทศไทย 


4. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรมจาก งานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ กับบริษัทลีฟ อะ เนส สิงคโปร์ (Leave a Nest Singapore, Pte. Ltd.) เพื่อพัฒนาศักยภาพของ นักวิจัย และสตาร์ทอัพในการนำงานวิจัย ต่อยอดออกสู่เชิงพาณิชย์


5. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจเริ่มต้นและผู้ประกอบการนวัตกรรม กับบริษัท เทคซอส มีเดีย จำกัด เพื่อพัฒนา ศักยภาพผู้ประกอบการนวัตกรรม ให้มีองค์ความรู้ ความสามารถในการพัฒนาธุรกิจ พร้อมผลักดันให้เกิดการพัฒนาระบบ นิเวศนวัตกรรมร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ 


6. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือพัฒนาย่านนวัตกรรม กับอิมแพ็ค เมืองทองธานี เพื่อส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่เป้าหมายให้สามารถดึงดูดการลงทุน รวมทั้งร่วมกันพัฒนาแผนแม่บทและกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม และการเชื่อมโยงภายในพื้นที่ ผ่านการจัดการแหล่งเรียนรู้ การถ่ายทอด องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และสิ่งแวดล้อม และ 


7. บันทึกข้อตกลงว่าด้วยเรื่องนวัตกรรมพลาสติกกับองค์การวิจัยทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งเครือจักรภพ (CSIRO) เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการเครือข่าย นวัตกรรมพลาสติกอินโด-แปซิฟิก (IPPIN) โดยมีกลไกการสนับสนุนด้านเงินทุนทวิภาคีระหว่าง NIA และ CSIRO เพื่อการ พัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาขยะพลาสติก”


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น