‘กรมเจรจาฯ’ นำผู้ประกอบการชา กาแฟ โกโก้ และนมไทย เพิ่มช่องทางจำหน่าย เจาะตลาดส่งออกต่างประเทศ เร่งใช้ประโยชน์จาก FTA สร้างแต้มต่อทางการค้า พร้อมร่วมโชว์ศักยภาพสินค้าไทยในบูธ FTA Café by DTN ในงานแสดงสินค้าอาหาร THAIFEX - ANUGA ASIA 2024 วันที่ 28 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน 2567 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี
นางสาวโชติมา เอี่ยมสวัสดิกุล อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ในวันที่ 28 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน 2567 ในช่วงการจัดงาน THAIFEX - ANUGA ASIA 2024 งานแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่มชั้นนำแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าระดับนานาชาติที่ยิ่งใหญ่และครบวงจรมากที่สุด ในปีนี้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้จัดสรรพื้นที่ให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จัดกิจกรรม “ยกทัพชา กาแฟ โกโก้ และนมไทย ไปตลาดโลกด้วย FTA” ซึ่งกรมจัดอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 ติดต่อกันเป็นปีที่ 5 และเป็นไปตามนโยบายของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายภูมิธรรม เวชยชัย) ที่มุ่งผลักดันการใช้ประโยชน์จาก FTA ส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการไทยให้สามารถปรับตัวและเตรียมความพร้อมให้สอดรับกับกรอบกติกาการค้าใหม่ของโลก
พร้อมกับนำผลจากการเจรจาไปสื่อสารกับเกษตรกรและผู้ประกอบการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันและขยายการส่งออกสินค้าไทยไปตลาดโลก โดยเฉพาะสินค้าชา กาแฟ โกโก้ และนมโคแปรรูป ขยายการส่งออกไปตลาดการค้าเสรี ที่ไทยจัดทำความตกลงการค้าเสรี หรือ FTA จำนวน 15 ฉบับกับ 19 ประเทศ อาทิ อาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และศรีลังกา เป็นต้น ซึ่งประเทศคู่ค้า FTA ได้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีนำเข้าศุลกากรส่วนใหญ่ให้กับสินค้าดังกล่าวจากไทยแล้ว ดังนั้น FTA จึงเป็นเครื่องมือทางการค้าที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าให้กับผู้ประกอบการในเวทีการค้าโลก อีกทั้งการจัดงานในครั้งนี้ ยังเน้นการประชาสัมพันธ์สินค้าเครื่องดื่มแบรนด์ไทยเกรด
โดยมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาความพร้อมตลอดห่วงโซ่การผลิตตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ โดยลงพื้นที่พบหารือกับเกษตรกรและผู้ประกอบการสินค้าเป้าหมายทั่วประเทศ เพื่อติวเข้มการใช้ประโยชน์จาก FTA กฎระเบียบทางการค้า กลยุทธ์การเจาะตลาดต่างประเทศผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยียกระดับการผลิตสินค้าสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งกรมมั่นใจว่า การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆ และพัฒนาคุณภาพให้มีมาตรฐาน จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันในตลาดพรีเมี่ยมของต่างประเทศได้ ขณะที่ FTA จะช่วยสร้างแต้มต่อให้สามารถเข้าถึงตลาดได้โดยมีต้นทุนที่ต่ำลง
ทั้งนี้ ปี 2566 ไทยส่งออกสินค้าเครื่องดื่มดังกล่าว ได้แก่ ชาและผลิตภัณฑ์เป็นอันดับที่ 23 ของโลก มีมูลค่าการส่งออก 61.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า ร้อยละ 6.21 ตลาดส่งออกสำคัญคือ กัมพูชา สหรัฐอเมริกา และสปป.ลาว ส่วนกาแฟและผลิตภัณฑ์ เป็นอันดับที่ 42 ของโลก มีมูลค่าการส่งออก 124.70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 13.51 ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว และฟิลิปปินส์ สำหรับโกโก้และผลิตภัณฑ์ ส่งออกเป็นอันดับที่ 55 ของโลก มีมูลค่าการส่งออก 87 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 25.59 ตลาดส่งออกสำคัญคือ ญี่ปุ่น จีน และเมียนมา และนมและผลิตภัณฑ์ส่งออกเป็นอันดับที่ 18 ของโลก มีมูลค่าการส่งออก 712.93 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 8.68 ตลาดส่งออกหลักคือ อาเซียน จีน และฮ่องกง
พรีเมี่ยมในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศให้เป็นที่รู้จักในตลาดโลก โดยกรมได้นำผู้ประกอบการชา กาแฟ โกโก้ และนมโคแปรรูป ที่มีความแข็งแกร่งและพร้อมใช้ประโยชน์จาก FTA เข้าร่วมงานแสดงสินค้าและสาธิตการชงเครื่องดื่มเมนูพิเศษต่างๆ ในบูธ FTA Café by DTN ของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เช่น กาแฟอะราบิก้าและโรบัสต้าน่านและเชียงราย ชาอู่หลง ชาหอมหมื่นลี้ และชาเลือดมังกรเชียงราย โกโก้จันทบุรีและพะเยา และนมโคแปรรูปที่มีสมบัติเฉพาะที่ใช้เป็นส่วนผสมของเมนูเครื่องดื่มพิเศษต่างๆ
ของชา กาแฟ และโกโก้ รวมทั้งไอศกรีมผลไม้เพชรบูรณ์
นางสาวโชติมา เพิ่มเติมว่า กรมได้เลือกเฟ้นเกษตรกรและผู้ประกอบการที่มีศักยภาพเข้าร่วมโครงการและกิจกรรมต่างๆ ของกรมในช่วงที่ผ่านมา เข้าร่วมแสดงสินค้าในงาน THAIFEX ในครั้งนี้ โดยพิจารณาหลักเกณฑ์เรื่องการใช้นวัตกรรมการผลิตที่ทันสมัย กระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Zero waste) รสชาติที่โดดเด่น มีเอกลักษณ์ ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ รวมถึงมีการกระจายรายได้สู่เกษตรกรในท้องถิ่น ซึ่งการจัดงานจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเจาะตลาดใหม่เพิ่มทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และเพิ่มการใช้ประโยชน์จาก FTA มากขึ้น นอกจากนี้ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
ให้ความสำคัญกับการยกระดับการผลิตสินค้าชา กาแฟ โกโก้ และนมโคแปรรูป อย่างต่อเนื่อง ผ่านการจัดโครงการต่างๆ เช่น การอบรมเชิงลึก Boot Camp การนำผู้ประกอบการไปสำรวจศักยภาพตลาดและจับคู่ธุรกิจในตลาดต่างประเทศ และการเข้าร่วมงานแสดงและจำหน่ายสินค้า FTA Fair
ของชา กาแฟ และโกโก้ รวมทั้งไอศกรีมผลไม้เพชรบูรณ์
นางสาวโชติมา เพิ่มเติมว่า กรมได้เลือกเฟ้นเกษตรกรและผู้ประกอบการที่มีศักยภาพเข้าร่วมโครงการและกิจกรรมต่างๆ ของกรมในช่วงที่ผ่านมา เข้าร่วมแสดงสินค้าในงาน THAIFEX ในครั้งนี้ โดยพิจารณาหลักเกณฑ์เรื่องการใช้นวัตกรรมการผลิตที่ทันสมัย กระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Zero waste) รสชาติที่โดดเด่น มีเอกลักษณ์ ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ รวมถึงมีการกระจายรายได้สู่เกษตรกรในท้องถิ่น ซึ่งการจัดงานจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเจาะตลาดใหม่เพิ่มทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และเพิ่มการใช้ประโยชน์จาก FTA มากขึ้น นอกจากนี้ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
ให้ความสำคัญกับการยกระดับการผลิตสินค้าชา กาแฟ โกโก้ และนมโคแปรรูป อย่างต่อเนื่อง ผ่านการจัดโครงการต่างๆ เช่น การอบรมเชิงลึก Boot Camp การนำผู้ประกอบการไปสำรวจศักยภาพตลาดและจับคู่ธุรกิจในตลาดต่างประเทศ และการเข้าร่วมงานแสดงและจำหน่ายสินค้า FTA Fair
โดยมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาความพร้อมตลอดห่วงโซ่การผลิตตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ โดยลงพื้นที่พบหารือกับเกษตรกรและผู้ประกอบการสินค้าเป้าหมายทั่วประเทศ เพื่อติวเข้มการใช้ประโยชน์จาก FTA กฎระเบียบทางการค้า กลยุทธ์การเจาะตลาดต่างประเทศผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยียกระดับการผลิตสินค้าสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งกรมมั่นใจว่า การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆ และพัฒนาคุณภาพให้มีมาตรฐาน จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันในตลาดพรีเมี่ยมของต่างประเทศได้ ขณะที่ FTA จะช่วยสร้างแต้มต่อให้สามารถเข้าถึงตลาดได้โดยมีต้นทุนที่ต่ำลง
ทั้งนี้ ปี 2566 ไทยส่งออกสินค้าเครื่องดื่มดังกล่าว ได้แก่ ชาและผลิตภัณฑ์เป็นอันดับที่ 23 ของโลก มีมูลค่าการส่งออก 61.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า ร้อยละ 6.21 ตลาดส่งออกสำคัญคือ กัมพูชา สหรัฐอเมริกา และสปป.ลาว ส่วนกาแฟและผลิตภัณฑ์ เป็นอันดับที่ 42 ของโลก มีมูลค่าการส่งออก 124.70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 13.51 ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว และฟิลิปปินส์ สำหรับโกโก้และผลิตภัณฑ์ ส่งออกเป็นอันดับที่ 55 ของโลก มีมูลค่าการส่งออก 87 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 25.59 ตลาดส่งออกสำคัญคือ ญี่ปุ่น จีน และเมียนมา และนมและผลิตภัณฑ์ส่งออกเป็นอันดับที่ 18 ของโลก มีมูลค่าการส่งออก 712.93 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 8.68 ตลาดส่งออกหลักคือ อาเซียน จีน และฮ่องกง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น