ร่วมรำลึกถึงความทรงจำที่หายไปกว่า 20 ปี ของครอบครัวสมชาย นีละไพจิตร ทนายความและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้ถูกบังคับสูญหาย พร้อมร่วมกันตั้งคำถามถึงคดีที่มีคนในครอบครัวถูกบังคับให้สูญหายจะก้าวต่อไปอย่างไร หลังจากพระราชบัญญัติฉบับใหม่ (พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565) มีผลบังคับใช้ไปเมื่อปีที่ผ่านมา
11 มีนาคม 2567 พบกันที่ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) BTS เพลินจิต กรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 19.00 - 21.00 น. กับวงเสวนา “ใช้อำนาจให้เกิดความยุติธรรมแทนบังคับสูญหาย: 20 ปีทนายและนักปกป้องสิทธิฯ สมชาย นีละไพจิตร” (การเสวนาเป็นภาษาอังกฤษ ไม่มีการแปลเป็นภาษาไทย)
รับชมไลฟ์ได้ทาง Foreign Correspondents' Club of Thailand - FCCT
12 มีนาคม 2567 พบกันที่ Social Innovation Hub ชั้น 1 ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ อยู่บริเวณคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ถ.พญาไท เขตปทุมวัน ตั้งแต่เวลา 13.30 - 16.30 น. กับวงเสวนา “ยุติการลอยนวลผู้กระทำความผิด: หนทางยาวไกลของงานสิทธิมนุษยชนไทยเรื่องการบังคับบุคคลสูญหาย” (การเสวนาเป็นภาษาไทย)
รับชมไลฟ์ได้ทาง สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พบกับ พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
สนิทสุดา เอกชัย อดีตบรรณาธิการบทความและผู้ผลิตเนื้อหาสารคดีสื่อสารประเด็นสิทธิมนุษยชนของ Bangkok Post
ศยามล ไกยูรวงศ์ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ อดีตสมาชิกวุฒิสภาและอดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
สัณหวรรณ คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากลชน
.ดำเนินรายการโดย ปรานม สมวงศ์ ผู้แทนองค์กรโปรเท็คชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล (PI)
พร้อมทั้งชวนชมการแสดงนิทรรศการ
กิจกรรมทั้ง 2 วันจะเผยแพร่ภาพยนตร์สั้นเรื่อง “พราก” และพูดถึงที่มาของการทำภาพยนตร์ โดย คุณ คาเงะ ธีระวัฒน์ มุลวิไล ศิลปินรางวัลศิลปาธร หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง B-Floor ในงานนี้มีนิทรรศการจัดแสดงให้ทุกคนได้ดูเกี่ยวกับการบังคับให้สูญหายด้วย
ติดตามข่าวสารของกิจกรรมเพิ่มเติม ได้ที่ : https://fb.me/e/1Lwbt86Da
และ https://fb.me/e/4kIYk956F
มาร่วมกันหยุดไม่ให้การบังคับสูญหายเกิดขึ้นในเมืองไทยและทั่วโลกไปพร้อมกัน
.พี่น้องสื่อมวลชนที่สนใจเข้าร่วม สามารถลงทะเบียนล่วงหน้าที่ได้นี่
https://forms.gle/xsxkLXr9mdcuNMaJ7
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น