“วราวุธ” ระบุ พม. โดย ศรส. ส่งทีมสหวิชาชีพ เข้าปลอบขวัญครอบครัวญาติเหยื่อหีบเหล็กถ่วงน้ำ วอนเพื่อนบ้าน ชุมชน เป็นหูเป็นตา ป้องกันเกิดเหตุซ้ำ...S - MSK News

Breaking

Home Top Ad

วันพุธที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2567

“วราวุธ” ระบุ พม. โดย ศรส. ส่งทีมสหวิชาชีพ เข้าปลอบขวัญครอบครัวญาติเหยื่อหีบเหล็กถ่วงน้ำ วอนเพื่อนบ้าน ชุมชน เป็นหูเป็นตา ป้องกันเกิดเหตุซ้ำ...S


เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2567 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีผู้ก่อเหตุลวงพ่อและน้องสาวเที่ยวเขื่อนแล้วยัดโรงเหล็กถ่วงน้ำ 2 ศพ ซึ่งสะท้อนปัญหาสังคมไทยอย่างมาก ว่า เหตุการณ์ดังกล่าวถึงแม้ว่าความรุนแรงจะเกิดขึ้นกับบุคคลในครอบครัวด้วยกันก็ตาม ตนเองขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวและญาติพี่น้อง อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัวของสังคมไทยทุกวันนี้ไม่ใช่ว่า จะเกิดขึ้นได้เพียงชั่วข้ามคืน จึงขอฝากถึงพี่น้องประชาชนทุกคนว่า เมื่อเราอยู่ในครอบครัว อย่าถือคติว่าบ้านใครบ้านมัน เรื่องของใครของมัน แต่ในวันนี้ สิ่งเหล่านี้คงไม่สามารถคิดแบบเดิมได้อีกต่อไป

นายวราวุธ กล่าวต่อไปว่า ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวไม่ว่าจะขึ้นกับเด็ก สตรี หรือแม้แต่ในกรณีนี้ ซึ่งเกิดขึ้นกับบิดาและน้องสาวของผู้ก่อเหตุเอง เชื่อว่าจะต้องมีสาเหตุมาก่อน ไม่ใช่คิดจะทำแล้วทำเลย แสดงว่าจะต้องมีอาการที่เกิดขึ้นมา ดังนั้น ตนคิดว่าเพื่อนบ้านไม่ว่าจะอยู่ซ้ายหรือขวา หรือคนในชุมชนนั้น ต้องใส่ใจซึ่งกันและกันให้มากขึ้น ซึ่งดูว่าลักษณะของบ้านนี้ พฤติกรรมของคนนี้ ระยะหลังๆ แปลกไป เกิดอะไรขึ้นหรือไม่ ซึ่งกำลังพูดถึงการป้องกัน เพราะเมื่อเกิดเหตุไปแล้ว เราไม่สามารถไปแก้ไขหรือป้องกันได้ แน่นอนว่าเมื่อเกิดเหตุสลดเช่นนี้ ทีมสหวิชาชีพของกระทรวง พม. จะเข้าไปให้การเยียวยาทางด้านจิตใจ แต่ส่วนเรื่องทางคดีเป็นขั้นตอนทางกฎหมายของทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ

นายวราวุธ กล่าวต่อไปอีกว่า กระทรวง พม. มีศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน หรือ ศรส. สามารถส่งหน่วยเคลื่อนที่เร็ว ประกอบด้วย ทีมสหวิชาชีพ นักจิตวิทยา เข้าไปเยียวยาทางด้านจิตใจของสมาชิกครอบครัวที่เหลืออยู่ แต่นั่นคือการแก้ปัญหา ซึ่งปัญหานั้นเกิดขึ้นแล้ว แต่ในความเป็นจริง เราไม่อยากแก้ปัญหา แต่เราอยากป้องกันปัญหามากกว่า โดยการเอาใจใส่ดูแลกันในครอบครัว คนเป็นพ่อแม่ต้องเข้าใจในสังคมที่เปลี่ยนไป คนที่เป็นบุตรหลานต้องเปิดใจให้กว้างในการรับฟังข้อมูลหลายๆ อย่าง ขณะเดียวกันชุมชน สังคม ที่อยู่ใกล้กัน ต้องเอาใจใส่ดูแลกัน โดยสังเกตว่าลักษณะของคนข้างเคียงบ้านเปลี่ยนไปหรือไม่ มีปัญหาใดหรือไม่ พูดคุยกันได้หรือไม่


นายวราวุธ กล่าวต่อไปอีกว่า ในบางครั้งเมื่อเกิดเหตุขึ้นมาแล้ว เป็นเรื่องง่ายในการวิเคราะห์ว่าอาจจะเกิดเพราะเหตุนั้นเหตุนี้ แต่ในสังคมทุกวันนี้ ตนยังเชื่อว่ามีสิ่งที่รอจะเกิด ดังนั้น สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดคือ การพูดคุยซึ่งกันและกัน ปรับทุกข์ พูดคุยกันในชุมชน ในครอบครัว และการเอาใจใส่เฝ้ามองของเพื่อนบ้าน และเมื่อคนในชุมชนได้ทราบเรื่องแล้วไม่รู้ว่าจะไปปรึกษากับใคร สามารถโทรมาได้ที่ ศรส. ผ่าน ฮอตไลน์ 1300 ของกระทรวง พม. หรือเจ้าหน้าที่อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) ทั่วประเทศ แต่อย่างน้อย การพูดคุยกับคนในชุมชน ผู้นำชุมชน หมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน หรือกำนัน อย่าเก็บไว้คนเดียว เมื่อทราบว่าการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของบุคคลเพื่อนบ้านหรือที่เรารู้เห็น ขอให้รีบแจ้ง

นายวราวุธ กล่าวเพิ่มเติมว่า วิธีการหยุดปัญหาสังคมได้ดีที่สุดคือ การป้องกันและสร้างความตื่นตัวให้กับประชาชน และทุกปี กระทรวง พม. มีการรณรงค์ในวันยุติความรุนแรงในครอบครัว เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ แต่อย่างไรก็ตาม นโยบายภาครัฐที่ตนเน้นย้ำอยู่เสมอว่าเป็นการตบมือข้างเดียว หากตบมือแล้วมืออีกข้างหนึ่งซึ่งหมายถึงพี่น้องประชาชนไม่ตอบรับในแนวนโยบายหรือกฎหมายต่างๆ เสียงจะไม่ดัง ดังนั้น ภาครัฐ โดยกระทรวง พม. ในวันนี้ จะทำงานกันอย่างเต็มที่ ด้วย ศรส. ผ่าน ฮอตไลน์ 1300 เมื่อได้รับเรื่องแล้ว เราบูรณาการงานของหลายหน่วยงานให้เป็นหน่วยเดียวกัน ดังนั้น เมื่อเกิดเหตุและได้รับแจ้งเหตุ ศรส. จะส่งหน่วยเคลื่อนที่เร็วเข้าไป ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งสหวิชาชีพ นักจิตวิทยา เข้าไปแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นก่อน เช่นในกรณีเหตุการณ์ที่เป็นข่าวนี้ จะส่งทีมสหวิชาชีพเข้าไปปลอบขวัญเยียวยาด้านจิตใจของผู้ที่ได้รับผลกระทบก่อน#ช่วย24ชั่วโมง #พม24ชม #ข่าวพม #esshelpme #วราวุธรับฟังทำจริง #พมพอใจให้ทุกวัยพึงพอใจในพม #พมหนึ่งเดียว #ศรส #พม #สหวิชาชีพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น