นายวราวุธ กล่าวว่า คาร์บอนฟุตพริ้นท์(Carbon Footprint ) หรือปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น สะท้อนให้เห็นว่าเราใช้วัตถุดิบต่างๆ โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมา แล้วท้ายที่สุดผลกระทบที่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้นกับมนุษย์ โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางที่กระทรวง พม. ดูแลไม่ว่าจะเป็น ผู้สูงอายุ คนพิการ หรือเด็ก เวลามีเกิดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมขึ้น จะกระทบกับพวกเรา การดูแลผู้สูงอายุหรือถ้าหากว่า มีขยะบนพื้นแล้วคนพิการเข็นรถเข็นมา หรือว่าตาบอดเดินมา ย่อมกระทบกับชีวิตทุกคน ดังนั้นการกำจัดคาร์บอนฟุตพริ้นท์(Carbon Footprint ) กำจัดไม่ได้ เพราะว่าตราบใดที่ยังมีสิ่งมีชีวิตอยู่ มนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตเราซึ่งเกิดมาจากCarbon Based
ทั้งนี้ สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดคือการลดปริมาณขยะ และหาวิธี Offset Carbon Footprint ของเรา เพื่อที่ว่าผลกระทบทั้งหมดที่เราทำจะได้ไม่ลำบากกระทรวง พม. เพราะว่าการดูแลพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเปราะบาง เป็นสิ่งที่หนักหนาสากรรจ์มาก จำนวนอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(อพม.) เราต้องใช้ทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้เรามีอยู่ 330,000 กว่าคน ซึ่งถ้าเทียบกับจำนวนชุมชนหรือเคสที่เกิดขึ้น ถือว่ายังน้อยอยู่ ดังนั้นถ้าหากเราช่วยกันรักษาปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของเรา จำกัดปริมาณขยะบางอันที่เลี่ยงไม่ได้ก็ต้องใช้ ก็คงต้องเป็นการบ้านของพวกเราทุกคนที่ต้องช่วยกัน#ช่วย24ชั่วโมง #พม24ชม #ข่าวพม #esshelpme #วราวุธรับฟังทำจริง #พมพอใจให้ทุกวัยพึงพอใจในพม #พมหนึ่งเดียว #ศรส#คาร์บอนฟุตพริ้นท์#จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย#พม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น