• ต้นแบบตลาดกลางค้าส่งระดับโลก ที่บริหารจัดการครบวงจร การจัดประเภทสินค้า การให้บริการอย่างมีระบบโดยเทคโนโลยีที่ทันสมัย การจัดระบบแรงงาน และการเก็บข้อมูลราคาสินค้าที่องค์กรและเกษตรกรนำไปใช้อ้างอิงเป็นราคากลางของประเทศ
• สี่มุมเมือง คือ เมืองแห่งโอกาสและการสร้างสร้างอาชีพที่มั่นคงยั่งยืน เป็น Sustainable Ecosystem ที่เชื่อมโยงกันเป็นฟันเฟือง ทั้งผู้ซื้อ ผู้ขาย แรงงาน และชุมชน รวมกว่า 70,000 คน
• ตลาดค้าส่งเพื่อความยั่งยืน สร้าง Circular Economy ที่ดำเนินธุรกิจให้มีความสมดุลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สู่ความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม
• มุ่งมั่นพัฒนาต่อยอดธุรกิจภายใต้วิสัยทัศน์ Customer Centricity การยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางตลาดสี่มุมเมือง ฉลองความสำเร็จพร้อมก้าวเข้าสู่ปีที่ 40 อย่างยิ่งใหญ่ ตลาดค้าส่งผักผลไม้ของสดชั้นนำของเอเชีย ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเคียงข้างคนไทยมาตลอด 4 ทศวรรษ เป็นศูนย์กลางที่เกษตรกรนำสินค้ามาจำหน่ายบนพื้นที่กว่า 350 ไร่ เพื่อกระจายวัตถุดิบอาหารไปทั่วประเทศด้วยสินค้ากว่า 8,000 ตันต่อวัน ยืนหยัดเคียงคู่เกษตรกร พ่อค้าแม่ค้า แรงงาน ชุมชน ตลาดสด ร้านอาหาร โรงแรม องค์กร และผู้บริโภค
ต้นแบบตลาดกลางค้าส่งระดับโลก ที่มีการบริหารจัดการที่ทันสมัยครบทุกมิติ
สี่มุมเมืองเป็นตลาดต้นแบบของตลาดค้าส่งผักผลไม้ของสดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอด 40 ปี ตลาดสี่มุมเมืองไม่เคยหยุดพัฒนา มีการนำเทคโนโลยีผสมผสานกับระบบการจัดการที่เข้าใจง่ายและมีประสิทธิภาพสูงสุด อาทิ
-ตลาดแรกที่มีการวางระบบแบบแยกประเภทสินค้าเป็นหมวดหมู่โซนตลาดอย่างชัดเจน (โซนผัก ของสด เครื่องปรุง 12 อาคารตลาด, โซนผลไม้ 7 อาคารตลาด, ตลาดดอกไม้และสังฆภัณฑ์, ลานคอนเทนเนอร์ และโซนอาคารห้องเย็น) ทั้งหมดตั้งอยู่บนพื้นที่ 350 ไร่
-ตลาดแรกที่กำหนดมาตรฐานสินค้าเป็นคำเรียกเฉพาะ (อาทิ LA (ใหญ่ สวย) MA (กลาง สวย) SA (เล็ก สวย)) เพื่อสร้างความเข้าใจตรงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
-ศูนย์กลางของข้อมูลราคาสินค้า ผัก ผลไม้ วัตถุดิบอาหาร ดอกไม้ ที่องค์กรรัฐและเอกชน เกษตรกร ผู้ประกอบการและสื่อมวลชนใช้อ้างอิงเป็นราคากลางของประเทศไทย
-มีฝ่ายตรวจสอบสารพิษภายใต้มาตรฐานกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สุ่มตรวจสินค้าที่จำหน่ายในตลาดทุกวัน และยังเปิดให้ผู้ที่สนใจที่ต้องการใบรับรองเพื่อส่งออกเข้ามาใช้บริการได้
-เพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ซื้อมากขึ้นด้วย Simummuang Online มาร์เก็ตเพลสที่ผู้ซื้อสามารถสั่งสินค้าผ่านทางออนไลน์ ทำให้เข้าถึงสินค้าได้โดยตรงกับแผงค้าในตลาดฯ และได้ราคาส่งโดยไม่จำเป็นต้องเข้ามาซื้อสินค้าด้วยตัวเอง รวมถึงอำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรและผู้ค้าส่งในตลาดฯ สามารถเข้าถึงผู้ซื้อได้ง่ายขึ้นมากกว่าตลาดค้าส่ง “สี่มุมเมือง” คือ เมืองแห่งโอกาส
ตลาดสี่มุมเมืองเป็นมากกว่าตลาด แต่เป็นเมืองแห่งโอกาสและแหล่งสร้างอาชีพเป็น Sustainable Ecosystem ที่เชื่อมโยงกันเป็นฟันเฟือง ทั้งผู้ซื้อ ผู้ขาย แรงงาน ชุมชน โรงเรียน และเครือข่ายรถเร่สี่มุมเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ รวมกว่า 70,000 คน 24 ชั่วโมง ตลอด 40 ปี ที่ไม่เคยหยุด ทำให้หลายครอบครัวมีรายได้ มีชีวิตที่ดีขึ้น ส่งลูกเรียนจบ ปลดหนี้สิน ตลาดสี่มุมเมืองกลายเป็นพื้นที่แห่งความผูกพันจากรุ่นสู่รุ่น การซื้อขายอย่างซื่อสัตย์ บริการอย่างคนรู้ใจ เพื่อมอบสิ่งที่ดีที่สุด คุณค่าที่ส่งต่อจนถึงผู้บริโภค ทั้งหมด คือ รากฐานสำคัญที่ทำให้ตลาดสี่มุมเมืองแข็งแกร่งและมั่นคง
“ครอบครัวสี่มุมเมือง” หลังคาทุกอาคารตลาดของสี่มุมเมืองมาจากโลโก้ของตลาด ซึ่งสื่อถึงหลังคาบ้านที่พร้อมจะปกป้องและเป็นที่พึ่งให้กับทุกคนในตลาดแห่งนี้ นอกจากนี้ยังมาจากอักษรจีน 人 อ่านว่า เหริน แปลว่า “ผู้คน” ที่นี่เปรียบเสมือนบ้านหลังใหญ่ของทุกคน
นอกจากนี้ ตลาดสี่มุมเมือง ยังมีบทบาทในการดูแลหมู่บ้านภายในโครงการกว่า 10,000 หลังคาเรือน รวมถึงก่อตั้งโรงเรียนพัฒนาวิทยา เพื่อดูแลด้านการศึกษาให้กับบุตรหลานของคนในชุมชน พ่อค้าแม่ค้า และพนักงานอีกด้วย
ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดค้าส่งเพื่อความยั่งยืน ภายใต้แนวคิด Circular Economy
ตลาดสี่มุมเมืองดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักความสมดุลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สู่ความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งตลาดฯ ให้ความสำคัญเรื่องขยะ ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า และคืนน้ำดีให้กับชุมชน ทั้ง 3 สิ่งล้วนมีผลงานเชิงประจักษ์
-ด้านบริหารจัดการขยะ ตลาดสี่มุมเมืองได้รับรางวัลชนะเลิศ ผลงานประเภทการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (Resource Efficiency) จาก TGDA 2021 เป็นต้นแบบของตลาดที่มีระบบการจัดการขยะ เป็นรูปธรรมและมีความยั่งยืน สามารถ Recycle และ Upcycle 40% จากขยะทั้งหมด 230 ตัน ต่อ วัน ทำให้ลดการฝั่งกลบและสร้างรายได้เพิ่มอีกด้วย
-การจัดการขยะอินทรีย์ นำเศษผักกว่า 190 ตันต่อวัน สามารถเปลี่ยนเป็นอาหารปลาได้ถึงวันละ 50 ตันต่อวัน และสามารถนำไปแปรรูปเป็นอาหารโคได้ 20 ตันต่อวัน
-การจัดการขยะอนินทรีย์ นำขวดแก้ว กล่องโฟม กระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะจากทั้งในตลาดและหมู่บ้านไปจำหน่ายต่อให้กับโรงงานและบริษัทที่รับซื้อเพื่อไปรีไซเคิลต่อไป และมีรถบริการรับซื้อขยะถึงที่
-ลดการใช้ไฟฟ้าด้วยการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ บนหลังคาของโซนห้องเย็น และหลังคาอาคารตลาดต่าง ๆ กว่า 4,000 ตารางเมตร (1,271 แผ่น) สามารถลดการใช้ไฟฟ้าได้มากถึง 12% ต่อเดือน
-คืนน้ำดีให้กับชุมชน ตลาดฯ ลงทุน 40 ล้านบาท นำเทคโนโลยี Activated Sludge มาใช้บำบัดน้ำเสียทั้งจากตลาดและหมู่บ้าน ได้มากถึง 6,500ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และผ่านการรับรองจากสำนักสิ่งแวดล้อม จังหวัดปทุมธานี น้ำที่ได้จากการบำบัดถูกนำไปใช้ประโยชน์รอบตลาด เช่น ล้างพื้นตลาด รดน้ำต้นไม้ รวมทั้งปล่อยน้ำดีคืนให้กับแหล่งน้ำของชุมชนต่อไป
ทุกโครงการได้รับความร่วมมือจากผู้ค้า แรงงาน พนักงานทุกคน และชุมชนรอบตลาดฯ ที่ร่วมผนึกกำลังขับเคลื่อนการดำเนินงานประสบความสำเร็จและอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืนเตรียมเปิดตลาดดอกไม้ปลายปี 2566 และโครงการระยะ 3 ในปี 2568
ตลาดสี่มุมเมืองยังพัฒนาต่อยอดธุรกิจภายใต้วิสัยทัศน์ Customer Centricity คือ การยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางด้วยการเพิ่มโซนสินค้าเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภค
-พฤษภาคม 2566 เปิดบริการตลาดปลา-อาหารทะเล บนพื้นที่ 6,700 ตร.ม. ประกอบไปด้วย 2 โซน คือ โซนสินค้าปลาน้ำจืด ขายส่งกลุ่มปลาเศรษฐกิจ และโซนสินค้าอาหารทะเล ขายส่งอาหารทะเล
-พฤศจิกายน 2566 เปิดบริการตลาดดอกไม้ยุคใหม่ ขยายจากตลาดดอกไม้เดิมขึ้น 150% บนพื้นที่ 5,200 ตร.ม. ประกอบไปด้วย 4 โซน คือ โซนดอกไม้ไหว้พระ โซนดอกไม้ประดับ โซนสังฆภัณฑ์และอุปกรณ์ตกแต่ง และโซนจัดแต่งดอกไม้
-ปี 2568 เตรียมเผยโปรเจกต์ใหญ่ โครงการระยะที่ 3 ซึ่งเป็นธุรกิจใหม่ที่ตลาดยังไม่เคยทำมาก่อน เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่ปรับเปลี่ยนตลอดเวลา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น