พม. ร่วมเสวนา Special Invitation Sessions อบรมเกี่ยวกับระบบสวัสดิการสังคมของญี่ปุ่น แลกเปลี่ยนประเด็นปัญหา “เด็กเกิดน้อย ด้อยคุณภาพ” ร่วม 9 ประเทศเอเชีย โดยมูลนิธิ FWEAP ณ กรุงโตเกียว - MSK News

Breaking

Home Top Ad

วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2566

พม. ร่วมเสวนา Special Invitation Sessions อบรมเกี่ยวกับระบบสวัสดิการสังคมของญี่ปุ่น แลกเปลี่ยนประเด็นปัญหา “เด็กเกิดน้อย ด้อยคุณภาพ” ร่วม 9 ประเทศเอเชีย โดยมูลนิธิ FWEAP ณ กรุงโตเกียว


เมื่อวัน 11 - 15 ก.ย. 2566 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) มอบหมายให้ นางสาวสราญภัทร อนุมัติราชกิจ อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พร้อมด้วย ผู้แทนกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวง พม. เป็นผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เข้าร่วมการเสวนา Special Invitation Sessions เพื่อประเมินเนื้อหาของโครงการฝึกอบรมเกี่ยวกับระบบสวัสดิการสังคมของญี่ปุ่น ซึ่งจัดขึ้นโดยมูลนิธิ Foundation for the Welfare & Education of the Asian People (FWEAP) ระหว่างวันที่ 11 – 15 กันยายน 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับข้อท้าทายด้านสวัสดิการสังคม รวมถึงร่วมกันหารือหัวข้อหลักของโครงการฝึกอบรมเกี่ยวกับระบบสวัสดิการสังคมของญี่ปุ่น (สมัยปกติ) ซึ่งจะจัดขึ้นครั้งต่อไปในปี พ.ศ. 2568


สำหรับการประชุม Special Invitation Sessions ครั้งนี้ มีผู้แทนจาก 9 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา อินเดีย มองโกเลีย เนปาล ไต้หวัน เวียดนาม ศรีลังกา และฟิลิปปินส์ ร่วมหารือเกี่ยวกับข้อท้าทายของการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการ และนำเสนอปัญหาเร่งด่วน (Urgent Issue) ของแต่ละประเทศเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสังคมในเอเชียประกอบการกำหนดหัวข้อหลักของโครงการฝึกอบรมฯ สมัยปกติต่อไป โดยไทยได้แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสถานการณ์ “เด็กเกิดน้อย ด้อยคุณภาพ” ที่นอกจากจะส่งผลให้ไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) แล้วยังส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ และสังคม โดยเวียดนามและไต้หวันก็ได้ที่นำเสนอสถานการณ์เช่นเดียวกับไทยและเห็นพ้องกันว่าปัญหาอัตราการเกิดต่ำเป็นปัญหาที่ต้องดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน นอกจากนี้ ยังมีประเด็นข้อท้าทายที่น่าสนใจ เช่น ฟิลิปปินส์ และเนปาลได้กล่าวถึงปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติซึ่งส่งผลกระทบเชิงลบต่อสังคมในหลายมิติ มองโกเลีย นำเสนอเกี่ยวกับปัญหาความเหลื่อมล้ำและการเข้าถึงบริการสังคม และสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม เป็นต้น






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น