คงได้เห็นกันแล้วว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างทางการเมือง ล่าสุดก็ พรรคเก๋าเกม ทางการเมืองแบบโบราณ อ้างตัวเป็นสถาบันทางการเมือง อย่างพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อเกิดความขาดเอกภาพอย่างรุนแรงอีกครั้ง จากการประชุมใหญ่เพื่อเลือกหัวหน้าพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ที่ล่มติดกันถึง 2 ครั้ง จนเมื่อวันที่ 6 ส.ค.66 ที่ผ่านมา อาการเดือดปุดๆก็ขึ้นที่ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน ที่ถึงกับเอ่ย "เลวทรามมาก"
เมื่อวันที่ 6 ส.ค.66 พรรคประชาธิปัตย์ จัดการประชุมพรรคครั้งที่ 2 เพื่อเลือกหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ หลังการประชุมครั้งก่อนล่ม ว่ากันว่าเพราะเป็นเจตนาเพื่อสกัดบทบาทกลุ่มของ นายเฉลิมชัย ซึ่งตำแหน่งในพรรคเป็นรักษาการเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจากไม่ยินยอมให้มีการแก้ไขข้อบังคับพรรค ที่ให้น้ำหนักคะแนนในการโหวตอยู่ที่ ส.ส.ถึง 70% ซึ่งฝ่ายเสนอแก้มองว่า สมัยก่อนพรรคมี ส.ส.มาก แต่ปัจจุบันมีเพียง 25 คน และกว่า 16-17 คนอยู่ในกลุ่มของนายเฉลิมชัย ขณะที่เสียงของอดีตหัวหน้าและอดีต ส.ส.นับร้อยคน มีคะแนนแค่เพียง 30% หรือ 30 คนของผู้มีสิทธิโหวตเท่ากับเสียง สฬส. 1 คน เอาละท่านก็มันคือประชาธิปไตยในพรรคเสียงใครมากก็ย่อมได้รับการไว้วางใจหรือสามารถบริหารพรรคได้เป็นกติกาไหม
เมื่อเป็นอย่างนี้เสียงน้อยกว่า ก็อยากจะให้ใช้สัดส่วนคะแนนแบบ 1 คน 1 เสียง ในการเลือกผู้บริหารพรรคที่กำลังจะเกิดขึ้น เมื่อไม่ได้รับการตอบรับในการประชุมครั้งแรก จึงใช้วิธีล่มองค์ประชุมประลองกำลังกัน และก็เกิดอีกครั้ง องค์ประชุมอยู่ที่ 223 คน ไม่ถึง 250 คน ตามข้อคับพรรค จึงไม่สามารถประชุมได้
มันจึงพัวพันไปถึงการตัดสินใจร่วมรัฐบาลที่มีพรรคเพื่อไทย เนื่องจากเป็นประเด็นที่เห็นต่างกันมากในเรื่องนี้ แต่น้ำร้อนเดือดปุดๆแล้วของ นายเฉลิมชัย แม้จะตามด้วยลีลาของ นายชวน หลีกภัย อดีตหัวหน้าพรรค ที่ยังคงใช้คำพูดแนวสะบัดมีดโกนอาบน้ำผึ้งที่เขาว่ากัน มีดจะสนิมเขรอะไปแล้วก้ได้นะท่าน แต่ก็ประชันกันผ่านหน้าสื่อได้คือเก่า
นายชวน ย้ำว่าการตัดสินใจเรื่องการร่วมรัฐบาลกรรมการบริหารพรรคชุดปัจจุบันสามารถตัดสินใจได้ เพราะมีทั้งหัวหน้าพรรค กรรมการบริหารพรรค และ สส. เพียงแต่ต้องไปคุยกันและมีมติพรรคออกมา สังเกตได้ว่ามีการพูดย้ำอีกรอบว่า "อะไรที่สมาชิกไปทำส่วนตัว ต้องไม่กระทบต่อพรรค อะไรที่เป็นนโยบายที่ต้องทำเพื่อมติพรรค ต้องให้พรรคให้ความเห็นชอบ ไม่ใช่ไปหารือส่วนตัวอย่างนี้ไม่ได้" ส่วนที่สมาชิกพรรคเห็นอย่างหนึ่ง สส.ปัจจุบันเห็นอย่างหนึ่งก็ไม่เป็นไร เพราะมติพรรคออกมาแล้วก็จบ มติเป็นอย่างไร กรรมการบริหารพรรคก็ต้องรับผิดชอบ...หุหุหุ แบะท่ารออีกละ ไอ้พรรคนี้ นี่ น่าจะชื่อพรรคเสียบ
ส่วนนายเฉลิมชัย หลังองค์ประชุมล่ม มีการนำ ส.ส. 21 คน มาร่วมแถลง ซึ่งนอกจากด่าว่าเป็นพฤติกรรมที่เลวทรามแล้ว ยังเน้นหลายครั้งว่า ประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่มีระเบียบ ข้อบังคับ ไม่สามารถทำอะไรโดยส่วนตัวได้ แต่วันนี้คนในพรรคมาฉีกข้อบังคับเสียเอง เป็นสิ่งที่คิดว่าจะทำให้พรรคประชาธิปัตย์เสื่อมถอย ทั้งยังได้ประณามพฤติกรรมของคนบางกลุ่ม พร้อมเรียกร้องไปยังทุกกลุ่มว่า หากมีจิตสำนึกเพียงพอ ต้องไม่เล่นเกมเพื่อหวังตอบสนองความต้องการของใครบางคน ถ้าคิดว่าประชาธิปัตย์ไม่มีเจ้าของ ก็ต้องทำให้เหมือนที่พูด
นายเฉลิมชัย อารมณ์เดือดไม่ยอมลดไปถึงช่วงเย็น โพสต์เฟซบุ๊ก สันดาน… "สามัญสำนึก" ล้มประชุม ไม่เคารพกติกาของพรรค "คนรุ่นใหญ่" ขวาง "คนรุ่นใหม่" ระบุ ปากบอกพื้นที่ของคนรุ่นใหม่ แต่ "คนรุ่นใหญ่" จะขวางทุกเรื่องไม่ได้ ต้องให้ "คนรุ่นใหม่" มีพื้นที่คิด มีพื้นที่ทำงาน มีความสุขสนุกกับการทำงาน และทำงานเป็นทีมได้ ไม่ใช่ "ห้ามไปทุกเรื่อง" ห้ามจนทีมแตก "คนรุ่นใหญ่" ทั้งหมดควรเป็นที่ปรึกษาและเป็นอาจารย์ทางการเมืองของน้อง ๆ ส.ส. รุ่นใหม่ ไม่ใช่ครอบตลอดเวลา พรรคประชาธิปัตย์ ควรเป็น #แสงแห่งความหวัง #แสงแห่งโอกาส ประชุมครั้งต่อไป "กางเต็นท์" เลือก "หัวหน้าพรรค" จะได้เอาเงินที่ประชาชนสนับสนุนพรรคไปใช้ประโยชน์ ไม่ใช่ "ผลาญเล่น" เพื่อ "ล้มองค์ประชุม"
เห็นโพสต์ก็ได้แต่หวังว่าจะไม่ใช่ "ปชป.การละคร"
ขณะที่ รักษาการหัวหน้าพรรคคนปัจจุบัน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ เปิดเผยว่า การร่วมรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ เป็นหน้าที่ของกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ และที่ประชุมร่วม ส.ส.พรรค แต่หากยังไม่มีกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ กรรมการบริหารชุดรักษาการ และ ส.ส.จะทำหน้าที่ไปพลางก่อน ซึ่งเป็นหลักที่ปฏิบัติมา และเท่าที่ติดตามสถานการณ์คิดว่ายังไม่นิ่งและไม่ชัดเจน ดังนั้น ประชาธิปัตย์ต้องนิ่งเป็นและต้องไม่ผลีผลามในการพิจารณาตัดสินใจอะไร ทั้งหมดต้องยึดอุดมการณ์ของพรรค และประโยชน์สูงสุดของบ้านเมืองเป็นหลัก
เมื่อถามย้ำว่า เกรงว่าจะเกิดความขัดแย้งในพรรคฯ หรือไม่ นายจุรินทร์ กล่าวว่า เมื่อถึงเวลามติพรรคออกมาก็จะเป็นที่ยุติ การบริหารงานในพรรคประชาธิปัตย์เป็นไปตามวิถีประชาธิปไตย เพราะไม่มีเจ้าของ ไม่มีใครมาสั่งได้ ไม่ง่ายเหมือนบางพรรคที่ใครคนใดคนหนึ่งคนเดียวสั่งได้แล้วจบ
ด้านนายบัญญัติ บรรทัดฐาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการร่วมรัฐบาลว่าไม่ควรเข้าร่วม แต่ควรใช้เวลาที่เหลืออยู่ในการฟื้นฟูและกอบกู้พรรคอย่างจริงจัง ตรงนี้ไม่ใช่ความคิดของ 4 อดีตหัวหน้าพรรค แต่ได้ฟังความคิดจากสมาชิกแล้วนำมาวิเคราะห์กัน คิดว่าเมื่อได้หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ คงจะนำความคิดนี้ไปเสนอให้พิจารณา
เมื่อถามถึงกระแสข่าว พรรคประชาธิปัตย์จะไปร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทยว่า เรื่องอุดมการณ์พรรคเป็นประเด็นสำคัญ เพราะพรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคที่ต่อต้านระบอบทักษิณ ก็มีการพูดคุยกันว่าแนวคิดนี้ยังคงมีอยู่ในตอนนี้หรือไม่ด้วย
ขณะที่แคนดิเดตที่คาดว่าจะขึ้นชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ฝั่งหนึ่งเป็นคนรุ่นใหม่คือ นราพัฒน์ แก้วทอง ปัจจุบันเป็นรักษาการรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กับอีกฝั่งต้องการให้ นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรค กลับมากอบกู้สถานการณ์อีกครั้ง
ซึ่งในการให้สัมภาษณ์หลังองค์ประชุมล่มของ นายนราพัฒน์ บอกว่าอดีตหัวหน้าพรรคหลายคน ระบุว่าสาเหตุที่ทำให้พรรคตกต่ำ ว่าเป็นเพราะพรรคไม่มีเอกภาพ ต้องยึดมติพรรคมีระเบียบวินัย แต่ถ้าหากแพ้โหวตแล้วบอกว่าจะไม่ให้ความร่วมมือ ไม่เดินตามมติ ไม่มีวินัย ก็ต้องถามกลับว่า ประชาธิปไตยในพรรคคืออะไร จากนั้นฟาดต่อไปอีกว่า สาเหตุที่เหลือเพียง 25 คน ก็เพราะส่งไม้ต่อไม่ทัน
ส่วนนายอภิสิทธิ์ ที่คงรีเทิร์น บอกว่ารับรู้ว่ามีบางคนอยากให้กลับมาสร้างประชาธิปัตย์ให้มีความเชื่อมั่นเหมือน 10 ปีที่ผ่านมา เป็นธรรมดาที่แต่ละคนจะมีความเห็นแตกต่างกันไป เมื่อถามรอบนี้จะมีการเสนอชื่อ นายอภิสิทธิ์ เป็นหัวหน้าอีกไหม นายอภิสิทธิ์ เลี่ยงที่จะตอบบอกว่าจะไปเรียนศิลปะกับนายชวน และทิ้งท้ายว่าถึงเวลาเหมาะตนเองจะพูดเอง
ขณะที่นายสาธิต ปิตุเตชะ รักษาการรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ในประเด็นนี้ว่า ส่วนตัวมองว่านายอภิสิทธิ์ มีความเหมาะสมในสถานการณ์นี้ เชื่อว่าจะนำพาพรรคกลับไปสู่ที่เดิมได้ ตนจะเป็นผู้เสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ ขึ้นมาอีกครั้ง นอกจากนี้ยังยืนยันว่า ไม่ว่า นายอภิสิทธิ์ จะได้รับการโหวตเป็นหัวหน้าพรรคหรือไม่ กลุ่มของตนมีจุดยืนว่าจะไม่เข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย ขอทำพื้นที่ตัวเองให้ดีและเสนอตัวใหม่อีกครั้งในโอกาสถัดไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น