รองโฆษกประจำสำนักนายกฯเผย ครม.รับทราบพิจารณาตั้ง “กรมทันตกรรมสุขภาพ”.....G - MSK News

Breaking

Home Top Ad

วันอังคารที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2566

รองโฆษกประจำสำนักนายกฯเผย ครม.รับทราบพิจารณาตั้ง “กรมทันตกรรมสุขภาพ”.....G


สาธารณสุขเห็นพ้องกรรมาธิการฯ วุฒิสภาเสนอให้ตั้งหน่วยงานดูแลนโยบายทันตกรรม เผยปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาพิจารณาตั้ง “กรมทันตกรรมสุขภาพ” ยกระดับการเข้าถึงบริการประชาชนมีสุขภาพฟันดี

สาธารณสุขเห็นพ้องกรรมาธิการฯ วุฒิสภาเสนอให้ตั้งหน่วยงานดูแลนโยบายทันตกรรม เผยปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาพิจารณาตั้ง “กรมทันตกรรมสุขภาพ” ยกระดับการเข้าถึงบริการประชาชนมีสุขภาพฟันดี

น.ส.ไตรศลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 29 ส.ค. 66 ได้รับทราบผลการพิจารณารายงานการศึกษา เรื่อง การขับเคลื่อนเร่งรัดปฏิรูประบบทันตกรรมสาธารณสุขไทยและการเข้าถึงทันตกรรม ของคณะกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา และให้แจ้งผลการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อเรื่องนี้ ให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป

ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการฯ เห็นว่าปัจจุบันงานด้านทันตสาธารณสุขไทยในกระทรวงสาธารณสุข ยังขาดหน่วยงานหลักในการกำหนดนนโยบาย การรักษาด้านทันตกรรม หน่วยงานด้านบุคลากรทั้งระบบ การจัดการทรัพยากร งบประมาณ เครื่องมืออุปกรณ์ หน่วยงานด้านสารสนเทศด้านทันตกรรมระดับประเทศและระหว่างประเทศ ตลอดจนหน่วยงานสนับสนุนด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และการวิจัยทันตกรรม หน่วยงานทันตกรรมในระดับปฐมภูมิ ทำให้งานยุทธศาสตร์ นโยบายทันตกรรมระดับประเทศไม่สามารถเกิดขึ้นได้

เพื่อให้เกิดการพัฒนาและปฏิรูประบบงานให้ต่อสถานการณ์ปัญหาด้านทันตกรรมของประชาชน จึงเสนอให้ตั้ง "กรมทันตสุขภาพ" แบ่งโครงสร้างออกเป็น 6 กอง ได้แก่ กองสนับสนุนส่งเสริมทันตกรรมสุขภาพ, กองพัฒนาบริการรักษาทันตกรรมสุขภาพ, กองพัฒนาส่งเสริมคุณภาพบุคลากร, กองบริหารอำนวยการด้านทันตกรรมสุขภาพ, กองเทคโนโลยี นวัตกรรมและวิจัยด้านทันตกรรม และ กองทันตกรรมสาธารณสุขและปฐมภูมิ

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานหลักที่ได้รับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณา ซึ่งจากการพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ข้อสรุปว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะ ซึ่งปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้อยู่ระหว่างการศึกษาพิจารณาตั้งกรมทันตกรรมสุขภาพตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 50 และตามหลักการและแนวทางของสำนักงาน ก.พ.ร. เรื่องการยุบเลิกหรือยุบรวมหน่วยงานในสังกัดที่มีอยู่เดิม (One-In, X-Out) โดยได้พิจารณาเป้าหมายสำคัญคือการเพิ่มการเข้าถึงบริการด้านทันตกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาการเข้าถึงบริการ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของสาธารณสุขไทย

นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุข ได้มีนโยบายสำคัญเพื่อพัฒนาโรงพยาบาลทันตกรรมคือ นโยบาย 1 ทันตแพทย์ 1 ยูนิตทำฟัน 1 ผู้ช่วยทันตแพทย์ ซึ่งคณะกรรมการกำกับทิศทางการพัฒนาระบบบริการ ให้กำหนดเป้าหมายคือทุกกลุ่มวัยไม่มีฟันผุ หรือฟันดีไม่มีผุ และให้โรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่งดำเนินการตามนโยบายนี้ เพื่อเพิ่มอัตราการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากภายในปีงบประมาณ 2566

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น