เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2566 เวลา 13.00 น. นางนภา เศรษฐกร ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม เป็นประธานเปิดกิจกรรมส่งเสริมการประชาสัมพันธ์และ สร้างความรับรู้ระบบนิเวศวิสาหกิจเพื่อสังคม ครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ “สังคมแห่งความสุข สังคมแห่ง การพัฒนาด้วยวิสาหกิจเพื่อสังคม” พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม ผู้ประกอบการวิสาหกิจเพื่อสังคม สื่อมวลชน และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมงาน ณ บริษัท สยามเอเบิ้ลอินโนเวชั่น (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด อำเภอ เดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
นางนภา กล่าวว่า ปัจจุบันมีธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม จำนวน 247 กิจการ ซึ่งแต่ละกิจการมีจุดมุ่งหมายที่จะคืนกำไรสู่สังคม และสร้างสังคมที่มีความเกื้อกูล อุดหนุนซึ่งกันและกัน ถือเป็นการสร้างการขับเคลื่อนระบบนิเวศของวิสาหกิจเพื่อสังคม ดังนั้นสำนักงานฯจึงจัดกิจกรรมส่งเสริมการประชาสัมพันธ์และสร้างความรับรู้ระบบนิเวศวิสาหกิจเพื่อสังคม ครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ “สังคมแห่งความสุข สังคมแห่งการพัฒนาด้วยวิสาหกิจเพื่อสังคม”เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้วิสาหกิจเพื่อสังคมเป็นที่รู้จัก ในวงกว้างผ่านการประชาสัมพันธ์ และนำเสนอแนวคิดการทำวิสาหกิจเพื่อสังคมจากผู้ประกอบกิจการวิสาหกิจเพื่อสังคมต้นแบบ
ได้แก่ คุณคำรณ มะนาวหวาน กรรมการผู้จัดการ และผู้ก่อตั้ง บริษัท สยามเอเบิ้ลอินโนเวชั่น (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด และคุณพฤทธิ์ ทาสีลาประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ/ผู้จัดการโครงการ บริษัท คิดคิด จำกัด เพื่อให้เกิดการประชาสัมพันธ์ ความเข้าใจ ในมุมมองกระบวนการการทำธุรกิจของวิสาหกิจ เพื่อสังคมหลากหลายรูปแบบอย่างใกล้ชิด
นางนภา กล่าวต่อไปว่า การขับเคลื่อนวิสาหกิจเพื่อสังคมและกลุ่มกิจการเพื่อสังคมของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจในปี 2566 ที่ผ่านมาได้ดำเนินการตามประเด็นที่ค้นพบจากงานประชุมสมัชชาฯ ทั้ง 2 ครั้ง โดยประเด็นที่ขับเคลื่อนเกี่ยวกับการทำธุรกิจเพื่อสังคมที่ ในมุมของการจ้างงานกลุ่มเปราะบาง คนด้อยโอกาส และการสร้างการรับรู้ เป็นประเด็นที่สำคัญ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากสังคมขาดความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจอย่างแบ่งปันเกื้อกูล โดยจะทำให้เกิดรูปแบบสังคมที่ดีงาม ตลอดจนสร้างระบบนิเวศของธุรกิจฐานรากของประเทศไทยให้ยั่งยืนอีกด้วย
นางนภา กล่าวในตอนท้ายว่า กิจกรรมในครั้งนี้นับว่าเป็นหมุดหมายอันดี ในการสื่อสารกับสังคมผ่านสื่อมวลชนและ การประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ประชาชนรับรู้ เข้าถึง และสร้างความเข้าใจถึงการทำธุรกิจเพื่อสังคม ในรูปแบบของวิสาหกิจเพื่อสังคม อันจะก่อให้เกิดสังคมที่มีความเกื้อกูล สังคมแห่งความสุข สังคมแห่ง การพัฒนาด้วยวิสาหกิจเพื่อสังคมอย่างยั่งยืนต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น