เมื่อวันที่ 6 ก.ค.2566 เวลา 17.00 น. นางอภิญญา ชมภูมาศ อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยว่า จากกรณีจังหวัดอ่างทองได้ให้ความช่วยเหลือเด็กนักเรียนโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดอ่างทอง จานวน 126 คน ซึ่งเป็นเด็กที่เดินทางมาโดยลำพัง ไม่มีผู้ปกครอง และจังหวัดอ่างทองได้ให้การสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง เด็ก พ.ศ. 2546 ตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2566 เป็นต้นมา
นางอภิญญา กล่าวว่า จังหวัดอ่างทอง ได้สืบเสาะพินิจ พบว่า เด็กถูกนาพามาจากประเทศเพื่อนบ้านว่า จะได้เรียนในโรงเรียนของประเทศไทย และจัดให้มีที่พักอาศัย อาหารและอุปกรณ์การศึกษา โดยครอบครัวเด็กเข้าใจว่า ผู้ที่นำพาสามารถกระทำได้ ทีมสหวิชาชีพจังหวัดอ่างทอง ได้ประชุมเพื่อกำหนดแนวทางในการสงเคราะห์เด็ก ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 จานวน 126 คน เป็นการชั่วคราวในมูลนิธิเอกชนแห่งหนึ่ง โดยในระหว่าง การติดตามครอบครัว มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลเรื่องการตรวจสุขภาพ การจัดกิจกรรมด้านการศึกษา และการพัฒนา เด็กตามช่วงวัย พบว่าเด็กส่วนใหญ่เดินทางมาจากประเทศเพื่อนบ้าน และบางส่วนอยู่ในจังหวัดเชียงราย จึงได้ประสาน กับทีม One Home เชียงราย เพื่อร่วมกันวางแผนการประสานส่งคืนเด็กสู่ครอบครัว
พร้อมเน้นย้ำว่า กระทรวง พม. โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) และ ตม. ยึดหลักปฏิบัติการคุ้มครองเด็ก ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 และมีมาตรการการส่งเด็กกลับคืนให้กับครอบครัว ทั้งที่อยู่ในประเทศไทยและ ประเทศเพื่อนบ้าน (Repatriation) จึงไม่ใช่ลักษณะการผลักดันเด็กกลับ (Deportation) ดังเช่นที่มีบางสำนักข่าวได้ นำเสนอข่าวไป
ทั้งนี้ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า เด็กจะอยู่ในการดูแลของจังหวัดเชียงราย โดยการทางานร่วมกันของ One Home เชียงราย ตม. เชียงราย โดยมูลนิธิเอกชนท่ีรับตัวเด็กไว้ จะจัดบริการด้านสวัสดิการ ด้านการศึกษา และการส่งเสริม พัฒนาการของเด็กตามช่วงวัย รวมทั้งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมสนับสนุนทรัพยากร ทั้งนี้ ในการส่งเด็กคืนสู่ครอบครัว เมื่อพิสูจน์ได้ว่าเป็นครอบครัวที่แท้จริงของเด็ก ก็ต้องมีการประเมินความสามารถในการดูแลเด็ก รวมถึงความปลอดภัย ของเด็กหากต้องกลับประเทศต้นทาง และกรณีที่ติดตามครอบครัวไม่ได้ จะอยู่ในการดูแลของกรมกิจการเด็กและ เยาวชน (ดย.)
นางอภิญญาฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า กระทรวง พม. จะร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยงานด้านความมั่นคงที่เกี่ยวข้อง องค์กรเอกชนและองค์การระหว่างประเทศ หารือเพื่อแสวงหาแนวทางการเข้าถึงสิทธิการศึกษาของเด็กต่างชาติ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กและครอบครัวถูกนำพาหรือ ชักจูงเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย และได้รับสิทธิด้านการศึกษาอย่างถูกต้องตามนโยบายและกฎหมายที่ประเทศไทยกำหนด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น