สธค.ร่วมพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป้าหมายเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) - MSK News

Breaking

Home Top Ad

วันอังคารที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2566

สธค.ร่วมพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป้าหมายเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)


เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2566  สำนักงานธนานุเคราะห์ หรือ สธค.จัดงานโครงการพัฒนาชุมชน สร้างอาชีพ และให้คำปรึกษาด้านการเงิน เพื่อความยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ 2566 ภายใต้ความร่วมมือ (Synergy) ระหว่างสำนักงาน ธนานุเคราะห์และธนาคารออมสิน ณ ที่ทำการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบางน้ำผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ โดยมี นายประสงค์ พันลิมา ผู้อำนวยการสำนักงานธนานุเคราะห์ เป็นประธานจัดงานการพัฒนาศักยภาพความรู้ในการประกอบอาชีพ ด้านการบริหารจัดการชุมชนตามแนวทาง BCG Model ความรู้ทางการเงินและความรู้คู่โรงรับจำนำ ให้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 5 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) วิสาหกิจชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชผักสมุนำไพรและผลไม้ (จังหวัดลำพูน) 2) วิสาหกิจ ชุมชนแปรรูปจากกล้วยตำบลนิคมสงเคราะห์ (อุดรธานี) 3) วิสาหกิจชุมชนบางน้ำผึ้งโฮมสเตย์(สมุทรปราการ) 4) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มชุมชนมนตรีพัฒนา (ราชบุรี) 5) วิสาหกิจชุมชนยกระดับรายได้เกษตรกร (สุพรรณบุรี) และมอบวุฒิบัตรให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ได้เข้าร่วมการอบรม


นายประสงค์ พันธ์ลิมา ผู้อำนวยการสำนักงานธนานุเคราะห์ กล่าวว่า  สำนักงานธนานุเคราะห์เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  มีลักษณะเป็นงานสวัสดิการทางสังคมเพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยและบรรเทาปัญหาทางการเงินเฉพาะหน้าในการขาดแคลนเงินหมุนเวียนที่จะนำไปใช้ ในการดำรงชีพหรือประกอบอาชีพ ซึ่งได้เล็งเห็นความสำคัญต่อการดำเนินภารกิจควบคู่ไปกับการมุ่งเน้นแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม สอดคล้องตามนโยบายรัฐ จึงได้ดำเนินการจัดกิจกรรมแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของสำนักงานธนานุเคราะห์ ในการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมที่มุ่งเน้นสร้างรายได้และความเจริญความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ 

โดยให้ภาคเอกชนและภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการร่วมกับภาครัฐเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นกิจกรรมที่พัฒนาศักยภาพและเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในการเข้ารับการถ่ายทอดความรู้และทักษะการประกอบอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้เกิดคุณค่าและมีประโยชน์สามารถต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ มีการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อีกทั้ง BCG Model จะเป็นกลไกที่มีศักยภาพสูงในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในประเทศอย่างทั่วถึง สามารถกระจายโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันสามารถสร้างให้สังคมไทยมีศักยภาพมีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำด้วยการเพิ่มรายได้เกษตรกรและชุมชน ลดการใช้ทรัพยากรลงจากปัจจุบัน สร้างประโยชน์และสร้างคุณค่าให้แก่ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ให้บริการขององค์กรให้เกิดความเชื่อมั่น ศรัทธาและไว้วางใจในการให้บริการของสำนักงานธนานุเคราะห์อย่างยั่งยืน 


นอกจากนี้ การดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือ (Synergy) ระหว่างสำนักงานธนานุเคราะห์และธนาคารออมสินที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ โดยจับมือเป็นพันธมิตรร่วมกันในการขับเคลื่อนดำเนินภารกิจที่ครอบคลุมเชื่อมโยงกันทั้งกลยุทธ์ กระบวนการ ตัวชี้วัด ของทุกภาคส่วน เป็นความมุ่งมั่นในการดำเนินงานที่ตอบสนองทันต่อความต้องการของประชาชน และผู้มาใช้บริการอันเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของทั้งสององค์กร เพื่อสร้างความสมดุลด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม สู่การเติบโตอย่างยั่งยืนของสำนักงานธนานุเคราะห์ และธนาคารออมสิน      




ทั้งนี้ สำนักงานธนานุเคราะห์และธนาคารออมสิน มุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า กิจกรรมการมุ่งเน้นแสดงความรับผิชดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้แก่ ประชาชน ชุมชน และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ครั้งนี้ จะเป็นกิจกรรมที่เป็นจุดเริ่มต้นของการได้ช่วยเหลือ สนับสนุน พัฒนา ตลอดจนสร้างรากฐานและความพร้อมของสังคมไทย ซึ่งครอบคลุมตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน มีการดำเนินงาน รวมทั้งประเมินผลเป็นรูปธรรม ที่ดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบและเพื่อความยั่งยืนอย่างแท้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น