แก้ไขปัญหาและพัฒนาเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเหลื่อมล้ำด้วยเทคโนโลยีปาฐกถาพิเศษ “Opportunity of Youth Development by AI technology under supervision of Bangkok Metropolitan Administration - MSK News

Breaking

Home Top Ad

วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2566

แก้ไขปัญหาและพัฒนาเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเหลื่อมล้ำด้วยเทคโนโลยีปาฐกถาพิเศษ “Opportunity of Youth Development by AI technology under supervision of Bangkok Metropolitan Administration

เมื่อวันที่ 17 มี.ค 66 นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ร่วมพิธีเปิดและปาฐกถาพิเศษ “Opportunity of Youth Development by AI technology under supervision of Bangkok Metropolitan Administration การพัฒนาเยาวชนด้วยปัญญาประดิษฐ์ภายใต้การบริหารของกรุงเทพมหานคร” ในงาน CODING ERA : The Next Wave of Thailand’s Education ยุคโค้ดดิ้ง : คลื่นลูกใหม่แห่งการศึกษาไทย ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน

รองผู้ว่าฯ ศานนท์กล่าวว่า เรื่องของ Coding เป็นเรื่องที่สำคัญในอนาคตและเป็นสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเมืองอีกด้วย สำหรับกรุงเทพมหานครมี 3 ประเด็นสำคัญ ประเด็นแรกคือการพัฒนาประสิทธิภาพของเมือง เรามีปัญหาในเมืองมากมาย หรือเรียกว่าโศกนาฏกรรมของสาธารณสมบัติ (tragedy of the commons) คือไม่มีผู้ดูแลสิ่งที่เป็นสมบัติสาธารณะ เทคโนโลยีจะเข้ามาช่วยได้คือทำให้โศกนาฏกรรมของสาธารณสมบัตินี้เป็นเรื่องที่จับต้องได้มากขึ้น สิ่งแรกที่กทม.ดึงเทคโนโลยีมาใช้คือ Traffy fondue ที่ดูเหมือนว่าเป็นแอปพลิเคชันที่มีอยู่แล้ว แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือเราสามารถบอกได้ว่าใครเป็นเจ้าของเรื่องนั้นๆ หากมีปัญหาตรงจุดใดเราสามารถบอกได้ว่าใครต้องเป็นผู้แก้ไข มากไปกว่านั้นประสิทธิภาพของเมืองจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้คนมามีส่วนร่วม และเชื่อว่าภายใน 2 – 3 ปี จะมีการแก้ไขปัญหาของเมืองด้วยนวัตกรรมมากขึ้น



ประเด็นที่สองการลดความเหลื่อมล้ำ การศึกษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำได้ และเป็นการลงทุนที่สำคัญที่สุดเพราะเด็กคืออนาคตของเมือง กทม.มุ่งหวังอยากให้การศึกษาเป็นรูปแบบการเรียนรู้ จึงเปิดแอปพลิเคชัน Open education เปิดการเรียนรู้นอกห้องเรียนมากยิ่งขึ้น มีการเรียนรู้ในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ มีอาสาสมัครมาสอนในเรื่องที่เด็กอยากเรียนตามความสนใจ ซึ่งทำให้การเรียนนั้นน่าสนใจและสนุกมากขึ้น อีกเรื่องที่ทางโรงเรียนสังกัดกทม.จะต่อยอดคือการเรียนรู้แบบ Project based learning คือการที่นักเรียนนำปัญหาให้ห้องเรียนมาสร้างเป็นนวัตกรรม เช่น นักเรียนทำเซนเซอร์แจ้งเตือนระดับน้ำส่งข้อมูลไปทางสำนักงานเขตโดยตรง ซึ่งตอนนี้มีการนำร่องไปแล้ว 12 โรงเรียน การเรียนรู้แบบนี้เป็นรากฐานการต่อยอดในอนาคต Codingหรือนวัตกรรมจะไม่มีประโยชน์เลยหากไม่มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก ซึ่งกทม.มีนโยบาย “อาสาสมัครเทคโนโลยี” ที่มีเป้าหมายให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ ทักษะ ส่งเสริมชุมชนให้มีความเท่าทันเทคโนโลยี

ประเด็นสุดท้ายคือการดึงคนเก่งเข้ามาในเมือง เด็กรุ่นใหม่ที่ดูจะหมดหวังกับกรุงเทพมหานครหรือประเทศชาติ สิ่งที่ต้องทำคือทำให้รู้ว่าตอนนี้เรากำลังทำอะไรอยู่ ติดปัญหาตรงไหน และเขาช่วยแก้ปัญหานั้นได้ไหม ทางกทม.มีนโยบาย “สภาเมืองคนรุ่นใหม่” เป็นการเปิดโอกาสให้เยาวชนคนรุ่นใหม่นำปัญหาที่อยากแก้มาอยู่ในพื้นที่ระดับนโยบาย ขณะนี้มีผู้สนใจส่งไอเดียมามากกว่า 100 ไอเดีย จะเห็นว่าหากเราเปิดโอกาสให้เยาวชนมีบทบาทในกทม. จะทำเยาวชนกลับมามีความหวังต่อเมืองมากขึ้น


สำหรับงาน CODING ERA : Next Wave of Thailand’s Education ยุคโค้ดดิ้ง: คลื่นลูกใหม่แห่งการศึกษาไทย เป็นมหกรรมครั้งสำคัญสำหรับการเรียนรู้ด้าน Coding รวมถึงมีการแสดงผลงานการวิจัยด้าน Coding AI และวิทยาการหุ่นยนต์ รวมทั้งยังเป็นเวทีสำหรับการประชุมวิชาการที่รวบรวมผู้มีทักษะ Coding ชั้นสูงและกลุ่มนักวิจัยทั่วประเทศ มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ ที่เป็นประโยชน์ต่อเยาวชน และผู้ที่สนใจในการบ่มเพาะทักษะและสมรรถนะด้าน Coding ให้สามารถนำไปใช้ ต่อยอดได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม ผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ระหว่างวันที่ 17 – 18 มีนาคม 2566 เวลา 10.00 -19.00 น. ณ หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

กิจกรรมในวันนี้มี บุคลากรจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) บริษัท โค้ด คอมแบท (เอสอีเอ) จำกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น