สร้างต้นแบบแยกขยะเขตราษฎร์บูรณะ เล็งจัด Hawker Center ปากซอยราษฎร์บูรณะ 22 จัดระเบียบผู้ค้าหน้าโรงพยาบาลราษฎร์บูรณ - MSK News

Breaking

Home Top Ad

วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2566

สร้างต้นแบบแยกขยะเขตราษฎร์บูรณะ เล็งจัด Hawker Center ปากซอยราษฎร์บูรณะ 22 จัดระเบียบผู้ค้าหน้าโรงพยาบาลราษฎร์บูรณ


เมื่อวันที่ 7 มี.ค.66 เวลา 13.00 น. นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตราษฎร์บูรณะ ประกอบด้วย

ตรวจเยี่ยมอาคารต้นแบบคัดแยกขยะ สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ มีข้าราชการและบุคลากร 204 คน วิธีการคัดแยกขยะ ดังนี้ 1.ขยะรีไซเคิล แต่ละฝ่ายฯ จะมีจุดคัดแยกขยะรีไซเคิล ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ จะเก็บรวบรวมทุกวันศุกร์สุดท้ายของเดือน ตามโครงการขยะแลกไข่ 2.ขยะอินทรีย์ ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ จัดเก็บถังใส่เศษอาหารแต่ละฝ่ายฯ เศษอาหารที่ได้นำไปหมักรวมกับเศษกิ่งไม้ ใบไม้ที่บดย่อยแล้วเพื่อทำปุ๋ยหมักใบไม้แห้ง ปุ๋ยที่ได้นำไปบำรุงรักษาต้นไม้ แปลงผักในพื้นที่เขตและสวน 15 นาที 3.ขยะอันตราย จัดเก็บเดือนละครั้งทุกสิ้นเดือน นำไปรวบรวมไว้ที่จุดพักขยะอันตราย 4.ขยะทั่วไป แม่บ้านจะรวบรวมและนำไว้จุดที่กำหนด สำหรับปริมาณขยะทั่วไปก่อนคัดแยก 3,380 ลิตร ปริมาณขยะทั่วไปหลังคัดแยก 3,175 ลิตร

พร้อมกันนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ตรวจเยี่ยมฝ่ายรายได้ ติดตามการใช้งานระบบสารสนเทศภาษีท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร (BMA TAX) ในการจัดเก็บและบันทึกข้อมูล เพื่อเตรียมพร้อมในการประเมินภาษีของปี 2566 ศักยภาพของอุปกรณ์ที่ใช้งานและประสิทธิภาพระบบเครือข่ายทั้งแบบใช้สายสัญญาณ (LAN) และแบบไร้สายสัญญาณ (WIFI) รวมถึงสอบถามถึงปัญหาและอุปสรรคในการจัดเก็บภาษีรายได้ ซึ่งในพื้นที่เขตฯ มีที่ดิน 24,798 แปลง สำรวจครบแล้ว สิ่งปลูกสร้าง 25,892 แห่ง สำรวจแล้ว 24,321 แห่ง คงเหลือ 1,571 แห่ง ห้องชุด 10,796 ห้อง สำรวจครบแล้ว สรุปผลการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งสิ้น 61,486 รายการ สำรวจแล้ว 59,915 รายการ คงเหลือ 1,571 รายการ พร้อมทั้งให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและให้คำแนะนำในการจัดเก็บภาษีรายได้ ตลอดจนติดตามการจัดส่งหนังสือแจ้งการประเมินภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้เสียภาษี เพื่อให้การจัดเก็บภาษีรายได้เป็นไปตามกรอบเป้าหมายที่กำหนดไว้

สำรวจพื้นที่ Hawker Center บริเวณปากซอยราษฎร์บูรณะ 22 เขตฯ ได้สำรวจพื้นที่ในจุดที่มีความเหมาะสม โดยประสานผู้ดูแลตลาดนัดปากซอยราษฎร์บูรณะ 22 ตรงข้ามสำนักงานเขต ซึ่งพร้อมให้ความร่วมมือในการจัดระเบียบผู้ค้า ในการจัดทำ Hawker Center สามารถรองรับผู้ค้าได้ 20-30 แผง เปิดขายทุกวันพุธ วันศุกร์ และวันอาทิตย์ จัดเก็บค่าเช่าในอัตราที่กำหนด จากนั้นได้ตรวจพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน บริเวณหน้าโรงพยาบาลราษฎร์บูรณะ ในพื้นที่เขตฯ มีพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน จำนวน 3 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 20 ราย ดังนี้ 1.บริเวณหน้าโรงพยาบาลราษฎร์บูรณะ ผู้ค้า 8 ราย 2.บริเวณซอยสุขสวัสดิ์ 26 ผู้ค้า 8 ราย 3.บริเวณซอยราษฎร์บูรณะ 16 ผู้ค้า 4 ราย ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยในพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน กวดขันผู้ค้าไม่ให้ตั้งวางสิ่งของรุกล้ำเข้ามาในทางเท้าหรือกีดขวางทางสัญจร รวมถึงขอความร่วมมือผู้ค้าทำความสะอาดพื้นที่หลังเลิกทำการค้าในแต่ละวัน นอกจากนี้ให้พิจารณายุบรวมจุดที่มีผู้ค้าจำนวนน้อยราย โดยให้ย้ายมาทำการค้าในจุดเดียวกัน พร้อมทั้งพิจารณาถึงความเหมาะสมในการใช้พื้นที่ อาจจะเป็นพื้นที่ว่างหรือตลาดนัดเอกชน เพื่อจัดทำ Hawker Center โดยคำนึงถึงช่วงเวลาทำการค้าและความสะดวกในการเข้าถึงพื้นที่ทั้งผู้ค้าและผู้ซื้อ เพื่อความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยของพื้นที่



ติดตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 บริษัท ยางไทยสัตยา (1999) จำกัด ซอยประชาอุทิศ 16 ซึ่งประกอบกิจการประเภทการผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติกฯ เป็นสถานประกอบการที่มีการใช้หม้อไอน้ำ (Boiler) มีกระบวนการเผาไหม้ที่อาจก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ ทั้งนี้ เขตฯ ได้จัดทำแผนปฏิบัติการตรวจสอบและควบคุมสถานประกอบการที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ประเภทหลอมหรือหล่อโลหะ 4 แห่ง ประเภทการต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ 5 แห่ง ประเภทการผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป 2 แห่ง ประเภทการผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุเส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว 1 แห่ง ประเภทการผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติกฯ 2 แห่ง ประเภทการปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร 1 แห่ง ประเภทการย้อม ฟอก กัดสีผ้า หรือสิ่งทออื่นๆ 1 แห่ง ประเภทแพลนท์ปูน 3 แห่ง ประเภทโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ 2 แห่ง ประเภทสถานประกอบการ/โรงงาน 6 แห่ง พร้อมทั้งรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 กำชับสถานประกอบการในพื้นที่ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อควบคุมค่าฝุ่น PM2.5 ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อป้องกันมลพิษทางอากาศ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน


เยี่ยมชมต้นแบบการแยกขยะตามแหล่งกำเนิด ชุมชนสุขสวัสดิ์ 9 มีพื้นที่ 6 ไร่ ประชากร 166 คน จำนวน 140 ครอบครัว เข้าร่วมโครงการการคัดแยกขยะ ตั้งแต่ปี 2564 วิธีการคัดแยกขยะ ดังนี้ 1.ขยะอินทรีย์ ประชาชนนำมาทิ้งที่ถังหมักปุ๋ยหมักใบไม้แห้ง (ปิ่นโตยักษ์) 2.ขยะรีไซเคิล ประชาชนคัดแยกไว้จำหน่ายเป็นรายได้ของครอบครัว ประชาชนที่ไม่ประสงค์จำหน่ายจะมอบให้กับกรรมการชุมชนไว้ใช้ประโยชน์ 3.ขยะทั่วไป ตั้งวางถังรองรับมูลฝอยภายในชุมชน ประชาชนแต่ละบ้านจะนำขยะมูลฝอยทั่วไปมาทิ้งใส่ถังที่ตั้งวางไว้บริเวณหน้าชุมชน เขตฯ จัดเก็บขยะวันเว้นวัน 4.ขยะอันตราย ประชาชนแยกทิ้งในถังขยะถังแยกประเภท เขตฯ จัดเก็บเดือนละ 2 ครั้ง ทุกวันที่ 1 และวันที่ 15 ของเดือน สำหรับปริมาณขยะทั่วไปก่อนคัดแยก 780 กิโลกรัม/วัน ปริมาณขยะทั่วไปหลังคัดแยก 390 กิโลกรัม/วัน

ในการนี้มี นายดลจิตร์ เสรีรักษ์ ผู้อำนวยการเขตราษฎร์บูรณะ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เขตราษฎร์บูรณะ สำนักเทศกิจ สำนักสิ่งแวดล้อม ชาวชุมชนสุขสวัสดิ์ 9 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล

#สิ่งแวดล้อมดี #สุขภาพดี #บริหารจัดการดี #เศรษฐกิจดี
 (จิรัฐคม…สปส.รายงาน)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น