สรพ. จับมือสถาบัน ECRI ระดมสมองผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรวิชาชีพ สถาบันการศึกษา ผู้เยี่ยมสำรวจ และตัวแทนจากสถานพยาบาล เคาะประเด็น TOP 10 Patient Safety Concern สำหรับประเทศไทย หลังจากนี้เตรียมรับฟังความคิดเห็นโรงพยาบาลในงาน HA National Forum แล้วประกาศอย่างเป็นทางการในเดือน มิ.ย. 2566
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) หรือ สรพ. ร่วมกับ Emergency Care Research Institute; (ECRI) สำนักงานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การวิเคราะห์ข้อมูลในระบบ National Reporting and Learning System หรือ NRLS ประเด็น TOP 10 Patient Safety Concern ในรูปแบบ onsite ระหว่างวันที่ 9 - 10 ก.พ. 2566 โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้าน Quality and Safety จาก สรพ. และองค์กรวิชาชีพต่างๆ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับทีมงานของ ECRI เพื่อวิเคราะห์และเฟ้นหาประเด็น TOP 10 Patient Safety Concern สำหรับประเทศไทยว่ามีเรื่องใดที่ควรยกเป็นไฮไลท์เพื่อรณรงค์สร้างความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยในปีนี้
พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้อำนวยการ สรพ. กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เป็นไปตามแผนงานที่ สรพ. ได้ลงนามความร่วมมือกับ ECRI สถาบันวิจัยเรื่อง Patient Safety ในระดับสากลเพื่อแลกแปลี่ยนเรียนรู้ วิเคราะห์และระบุเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยที่สำคัญของผู้ป่วยและบุคลากร ซึ่งแต่ละปีในระดับสากลจะมีการกำหนดประเด็นเรื่อง TOP 10 Patient Safety Concern ว่ามีเรื่องใดบ้าง รวมทั้งมีแนวปฏิบัติเป็นข้อแนะนำเพื่อลดความผิดพลาด
พญ.ปิยวรรณ กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของ Patient Safety ในประเทศไทยก็มีบริบทของตัวเองในการจัดทำแนวปฏิบัติ ซึ่งมีทิศทางการขับเคลื่อนเรื่อง Patient and Personnel Safety เป็นเป้าหมายผลลัพธ์ที่คาดหวังในอนาคต ซึ่งที่ผ่านมามีการกำหนดประเด็นสำคัญเป็นมาตรฐานสำคัญจำเป็นต่อความปลอดภัย 9 เรื่อง ที่ดำเนินการโปรโมทให้โรงพยาบาลต่างๆให้ความสำคัญและผนวกกับการรับรองคุณภาพสถานพยาบาล อย่างไรก็ดีเมื่อสถานการณ์ของโลกและสิ่งแวดล้อมเปลี่ยน 9 เรื่องนี้อาจยังไม่คลอบคลุมยัง เช่น มีควาก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การแพร่ระบาดของโควิด-19 ฯลฯ ดังนั้นจึงต้องมีการวิเคราะห์ว่าในสถานการณ์ปัจจุบัน มีประเด็น Patient Safety เรื่องใดบ้างที่ควรโปรโมทให้โรงพยาบาลและประชาชนให้ความสำคัญ
“ในวันนี้เป็นการเสนอประเด็นว่า Patient Safety ที่ควรโปรโมทในไทยมีเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีการเสนอประเด็นเข้ามา 14-15 เรื่อง วันนี้เราก็เชิญผู้เชี่ยวชาญมาระดมสมองว่า แต่ละประเด็นมี Contributing Factor หรือปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์บ้าง แล้วเอามา เทียบเคียงกับ Contributing factor ในระดับสากล จากนั้นทำการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเพื่อนำมาซึ่งข้อเสนอแนะ/คำแนะนำ (Recommendations) ว่าจะมีแนวทาง/แนวปฏิบัติแก่โรงพยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขของไทยอย่างไรเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์ขึ้น และท้ายสุดก็จะโหวตกันว่า TOP 10 Patient Safety Concern ของไทยควรมีเรื่องใด”พญ.ปิยวรรณ กล่าว
พญ.ปิยวรรณ ยกตัวอย่างประเด็นที่มีการเสนอเข้ามา เช่น การป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล เชื้อดื้อยา ข้อผิดพลาดในการผ่าตัด การให้เลือดผิดคน เป็นต้น รวมทั้งมีเรื่องใหม่ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในมาตรฐานสำคัญจำเป็นต่อความปลอดภัยหรือยังไม่มีรายงานการเกิดอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์ เช่น ความปลอดภัยจาก Telemedicine รวมทั้งเรื่อง Mental ซึ่งเป็น Psychological safety อาจนำมาซึ่งภาวะ Burnout ของบุคลากร ทั้งนี้เพื่อให้ได้หัวข้อที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด
ทั้งนี้ หลังจากมีการสรุป TOP 10 Patient Safety Concern จากการประชุมในวันนี้แล้ว สรพ. ยังจะมีการรับฟังความคิดเห็นของโรงพยาบาลต่างๆ ในงาน HA National Forum ซึ่งจะมีขึ้นในเดือน มี.ค. นี้ ว่าคิดเห็นต่อ 10 ประเด็นนี้อย่างไร และแนวทางปฏิบัติที่จัดทำขึ้นว่าสามารถปฏิบัติได้มาน้อยเพียงใด
“การประชุมวันนี้เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้เชิงวิชาการ การรับฟังความคิดเห็นจากโรงพยาบาล เป็นการแลกเปลี่ยนเชิงประสบการณ์ตามบริบท การจะสื่อสารสังคมเรื่องใดต้องแน่ใจว่าทุกคนเห็นพ้องต้องกันและแน่ใจว่าเป็นแนวทางปฏิบัติที่ทุกคนอยาก Engage การทำร่วมกันและร่วมกันเป็นเจ้าของ ไม่อย่างนั้นการขับเคลื่อนก็ไม่ประสบความสำเร็จ ดังนั้น หลังจากฟังความคิดเห็นโรงพยาบาลแล้ว สรพ.จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับ ECRI และคาดว่าจะสามารถประกาศ TOP 10 Safety Concern ของประเทศไทยได้ในเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อโปรโมทให้โรงพยาบาล สังคมและประชาชนเห็นความสำคัญและจะได้มีการติดตามผลต่อไป” พญ.ปิยวรรณ กล่าว
วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
สรพ.ระดมผู้เชี่ยวชาญเคาะ TOP 10 Patient Safety Concern ของประเทศไทย
Tags
# สังคม
Share This
About MSK-NEWS
สังคม
ป้ายกำกับ:
สังคม
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Author Details
สื่อมวลชนหัวใจยุติธรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น