นายบุญสงค์ ลธ.สปส. กล่าวถึงการดำเนินงานเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวว่า สำนักงานประกันสังคมได้มีแนวทางมาตรการเข้มงวดกับนายจ้างที่ไม่แจ้งขึ้นทะเบียนและไม่แจ้งสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน โดยออกหนังสือเชิญพบเพื่อชี้แจงให้นายจ้าง ปฏิบัติให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด หากพบนายจ้าง มีเจตนายังหลีกเลี่ยง จะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงขอความร่วมมือให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุดต่อไป
“สำนักงานประกันสังคม ขอย้ำหน้าที่ของนายจ้างตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้กำหนดให้นายจ้างที่มีลูกจ้างทำงานในสถานประกอบการตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03) โดยนายจ้างที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นแบบได้ที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำหรับนายจ้างที่มีสำนักงานใหญ่ในส่วนภูมิภาค ให้ยื่นแบบขึ้นทะเบียน ได้ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขา ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ นายจ้างมีหน้าที่ขึ้นทะเบียนลูกจ้าง เป็นผู้ประกันตนภายใน 30 วัน นับจากวันที่รับลูกจ้างเข้าทำงาน กรณีที่มีลูกจ้างลาออกจากงาน ให้นายจ้าง ยื่นแบบแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (สปส.6-09) พร้อมระบุสาเหตุการออกจากงาน หรือกรณีที่ผู้ประกันตนเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริง ให้นายจ้างยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงผู้ประกันตน (สปส.6-10) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริง” เลขาธิการ สปส. เปิดเผยถึง ช่องทางนายจ้างสามารถทำธุรกรรมงานทะเบียนผู้ประกันตนผ่านระบบ e-service ได้ที่ www.sso.go.th สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทั่วประเทศ หรือที่สายด่วน 1506 ให้บริการไม่เว้นวันหยุดราชการตลอด 24 ชั่วโมง
นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ตนขอฝากเตือนนายจ้างให้แจ้งขึ้นทะเบียนและแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนภายในระยะเวลา ที่กฎหมายกำหนดตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมายังมีนายจ้างเป็นจำนวนมาก แจ้งขึ้นทะเบียนและแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนล่าช้าเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ทำให้ข้อมูลผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมไม่เป็นปัจจุบัน ส่งผลกระทบให้ผู้ประกันตนได้รับประโยชน์ทดแทนล่าช้า หรือได้รับประโยชน์ทดแทนเกินสิทธิสำนักงานประกันสังคมจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ ให้แก่สถานพยาบาลเกินจริง โดยตัวเลขช่วงระหว่างเดือน ก.ค. - ก.ย. 65 ที่ผ่านมา มีนายจ้าง และสถานประกอบการ ที่แจ้งขึ้นทะเบียน และแจ้งสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนล่าช้า จำนวน 34,453 แห่ง ผู้ประกันตน จำนวน 160,120 ราย แบ่งเป็นสถานประกอบการที่ไม่ใช่ส่วนราชการ จำนวน 32,062 แห่ง ผู้ประกันตน จำนวน 150,964 ราย และสถานประกอบการที่เป็นส่วนราชการ จำนวน 2,391 แห่ง ผู้ประกันตน จำนวน 9,156 ราย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น