พ.พานาซี จับมือ รพ. โชนัน คามาคูระ จากประเทศญี่ปุ่น ผสานความร่วมมือครั้งสำคัญให้วงการแพทย์ไทย เปิดนวัตกรรมการรักษา ใช้สเต็มเซลล์จากเลือดตัวเองเพื่อรักษาแผลเบาหวาน ลดการสูญเสียอวัยวะสำเร็จแล้ว - MSK News

Breaking

Home Top Ad

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

พ.พานาซี จับมือ รพ. โชนัน คามาคูระ จากประเทศญี่ปุ่น ผสานความร่วมมือครั้งสำคัญให้วงการแพทย์ไทย เปิดนวัตกรรมการรักษา ใช้สเต็มเซลล์จากเลือดตัวเองเพื่อรักษาแผลเบาหวาน ลดการสูญเสียอวัยวะสำเร็จแล้ว

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 สองโรงพยาบาลชั้นนำ ประสานความร่วมมือครั้งสำคัญ เพื่อร่วมพัฒนาศาสตร์ทางการแพทย์ ให้ก้าวทันโรคร้ายที่เข้ามาคุกคามร่างกาย ระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น โดย โรงพยาบาลพานาซี พระราม 2 ผู้นำด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ของไทย จับมือ โรงพยาบาล โชนัน คามา คูระ (Shonan Kamakura General Hospital) ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการรักษาผู้ป่วยด้วยสเต็มเซลล์และนวัตกรรมทางการแพทย์ของประเทศญี่ปุ่น บรรลุข้อตกลงความร่วมมือการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการรักษาผู้ป่วยด้วยสเต็มเซลล์จากเลือดตัวเอง (Autologous stem cell ) ที่มีความจำเพาะในแต่ละโรค โดยเฉพาะนวัตกรรมสเต็มเซลล์จากเลือดนี้ ใช้ในการรักษาแผลเบาหวานและซ่อมแซมฟื้นฟูหลอดเลือดเพื่อลดการสูญเสียอวัยวะส่วนปลาย และนวัตกรรมการรักษามะเร็งด้วยลำแสงอิเล็กตรอน

โดยในวันนี้คณะ ผู้บริหารทั้งสองโรงพยาบาล โดย Mr.TAKESHI MIYAZAWA (CHIEF EXECUTIVE OFFICER OF VASRE AXIA) และ Mr.YOICHI IWATANI (Manager of Stem Cell project) จาก รพ.โชนัน คามาคูระ ประเทศญี่ปุ่น ได้เข้าพบกับ คุณศิริญา เทพเจริญ กรรมการบริหาร PANACEE MEDICAL CENTER ,นพ.ภัทรพล คำมุลตรี รองผู้อำนวยการโรงพยาบาล พานาซีพระราม 2 พร้อม ดร.จุน โนริตาเกะ (Dr. Jun Noritake) นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาชาวญี่ปุ่น ร่วมทำบันทึกความร่วมมือผสานองค์ความรู้เพื่อการรักษาพยาบาล และได้เยี่ยมชมนวัตกรรมทางการแพทย์และความพร้อมของ รพ.พานาซี พระราม 2 ด้วย

คุณศิริญา เทพเจริญ กรรมการบริหาร PANACEE MEDICAL CENTER ได้กล่าวถึงความก้าวหน้าทางนวัตกรรมทางการแพทย์ จาก รพ.โชนัน คามาคูระ ที่มาจับมือผสานความร่วมมือกับพานาซีในครั้งนี้ว่า “ รพ.พานาซีของเรามีความยินดีมาก ที่เราจะได้นำเรื่องนวัตกรรมทางสเต็มเซลล์จากผนังหลอดเลือดมารักษาผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน สเต็มเซลล์ตัวนี้สามารถใช้ในผู้ป่วยที่เป็นถึงขั้นที่รุนแรงจนอาจจะถูกตัดขาแล้ว นอกจากนี้ยังประสบความสำเร็จในเรื่องหลอดเลือดสมอง หรือสโตรกด้วย เนื่องจากหลอดเลือดในร่างกายมีความสำคัญกับอวัยวะทุกส่วน ทั้งสมอง หัวใจ ถ้าเส้นเลือดดีจะช่วยให้เราแข็งแรง เพราะเส้นเลือดเป็นตัวการที่การนำเลือดไปเลี้ยงอวัยวะทั้งระบบของร่างกาย โดยนวัตกรรมนี้จะใช้สเต็มเซลล์ที่เก็บจากเลือดของตัวเราเองจึงทำให้มีความปลอดภัยที่สุด และไม่ใช่ทำได้แค่ซ่อมแซมหลอดเลือด แต่ยังสามารถสร้างหลอดเลือดขึ้นมาใหม่ได้ด้วย เพราะฉะนั้น สิ่งที่ผู้ป่วยเบาหวานมักเจอคือ อาการแผลเน่า เนื้อตาย จนต้องลามถึงการตัดขา สเต็มเซลล์จากเลือดนี้จะเข้าไปซ่อมแซม ฟื้นฟู และสร้างหลอดเลือดขึ้นมาใหม่ ทำให้เราลดการสูญเสียอวัยวะที่เสียหายได้ ซึ่งอยากแนะนำให้มาทำก่อนมีอาการป่วย เพราะเหมือนเรามีเส้นเลือดที่สมบูรณ์อวัยวะต่างๆในร่างกายของเราก็จะสมบูรณ์ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไปด้วย 

นอกจากนี้ ทางรพ.โชนัน ยังทำการวิจัยเรื่องเกี่ยวกับการรักษาโรคไต ผู้ป่วยที่กำลังทรมานต้องฟอกไต จนถึงไตวาย ถ้างานวิจัยนี้ประสบความสำเร็จ จะถือว่าเป็นปาฏิหาริย์ให้กับวงการแพทย์ ดังนั้นการจับมือระหว่าง รพ.พานาซี และรพ.โชนันในครั้งนี้ สิ่งสำคัญคือความร่วมมือ เราเอา Know how ของฝั่งเราแลกเปลี่ยนกับ Know how ของญี่ปุ่น ด้วยพานาซี มี Vision ว่า เราจะลดการใช้ยาแล้วหันมาใช้สเต็มเซลล์จากตัวเองเพื่อการดูแลรักษา ซึ่งจะเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ป่วย องค์ความรู้นี้ นอกจากจะนำมาช่วยคนไทยแล้ว เรายังสามารถเป็นเซ็นเตอร์ในการรักษาพยาบาลด้านเบาหวาน และสโตรก โดยการใช้สเต็มเซลล์จากหลอดเลือดที่ประสบความสำเร็จในการรักษามาแล้วแก่ชาวไทยและชาวต่างชาติ ด้วยประเทศไทยเรามีชื่อเสียงโดดเด่นเรื่องการรักษาพยาบาล ค่าครองชีพของเราก็ถูกกว่าชาติอื่น เราสามารถนำมาต่อยอดสร้างเศรษฐกิจด้าน Wellness ให้กับประเทศไทยได้ จากที่มีความฝันอยากให้ ประเทศไทยเป็น Medical Hub นี้ก็คือจุดเริ่มต้น จะเป็นจุดเล็กๆที่จะกระจายไปสู่คนไทยทั้งประเทศและชาวต่างชาติที่ตั้งใจบินมารักษาที่ประเทศไทย”




นพ.ภัทรพล คำมุลตรี รองผู้อำนวยการโรงพยาบาล พานาซี พระราม 2 ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงความแตกต่างของ สเต็มเซลล์ที่รู้จักกันแพร่หลาย และนวัตกรรมใหม่ของสเต็มเซลล์หลอดเลือดนี้ว่า “สเต็มเซลล์โดยทั่วไปจะมีต้นกำเนิดทั่วไปไม่ได้จำเพาะกับเนื้อเยื่อใดเนื้อเยื่อหนึ่งเป็นหลัก แต่นวัตกรรมที่เราได้แลกเปลี่ยนกับทางญี่ปุ่น จะเป็นนวัตกรรมของสเต็มเซลล์ของผนังหลอดเลือดที่อยู่ด้านในของหลอดเลือด ซึ่งเราก็จะดึงจากเส้นเลือดของคนนั้นเลย แล้วนำไปสู่ขบวนการขั้นตอนต่างๆ แล้วฉีดกลับเข้าไปเพื่อฟื้นฟูในบริเวณที่เราต้องการสร้างหลอดเลือด ซึ่งเป็นองค์ความรู้ของทาง รพ.โชนันฯญี่ปุ่น และนำมาถ่ายทอดความรู้ให้ทาง รพ.พานาซีเราได้มาดูแลผู้ป่วยในประเทศไทย โดยผลลัพธ์ในการรักษาตรงนี้ จะดีกว่าใช้สเต็มเซลล์ทั่วๆไปที่ไม่จำเพาะในการรักษาหลอดเลือด ซึ่งถือว่า สเต็มเซลล์ตัวนี้เหนือกว่า เพราะไปจำเพาะที่หลอดเลือดโดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นแผลเบาหวาน ใกล้ที่จะอยู่ในภาวะตัดขาหรือตัดอวัยวะส่วนต่างๆ จึงถือเป็นทางออกที่ผู้ป่วยควรจะได้รับ”

MR.TAKESHI MIYAZAWA (CHIEF EXECUTIVE OFFICER OF VASRE AXIA) จาก รพ.โชนัน คามาคูระ ประเทศญี่ปุ่น ได้กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า “ ก่อนที่จะมาจับมือกับทางพานาซีเรื่องสเต็มเซลล์หลอดเลือดนี้ ทางรพ.โชนันฯเราได้มีการรีเสิร์ทข้อมูลโรงพยาบาลต่างๆในประเทศไทยแล้ว แต่พอได้มาเจอ รพ.พานาซี ผมมีความหวังและความตั้งใจว่าอยากร่วมงานกับพานาซีอย่างเต็มที่เพราะพานาซีมีความพร้อมและเชี่ยวชาญด้านนี้อยู่แล้ว เนื่องจากทาง รพ.โชนัน คามาคูระ อยากจะช่วยเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาคนป่วยให้หายจากโรคนี้ อีกทั้งเรายังมีโปรเจคในอนาคตร่วมกับ พานาซี ที่อยากร่วมกันวิจัยและพัฒนาเพื่อให้การรักษามีราคาที่ถูกลง”

การทำบันทึกความร่วมมือครั้งนี้ โรงพยาบาลโชนัน คามาคูระ ประเทศ ญี่ปุ่น จะถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้กับทีมบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงนักวิทยาศาสตร์ของโรงพยาบาลพานาซี พระราม 2 พร้อมส่งทีมผู้เชี่ยวชาญทางด้านการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ มาประจำที่โรงพยาบาลพานาซี พระราม 2 เพื่อรองรับการให้บริการรักษาผู้ป่วยด้วยนวัตกรรมสเต็มเซลล์ตามมาตรฐานประเทศญี่ปุ่นได้ทันที เนื่องจากเล็งเห็นว่า โรงพยาบาลพานาซี พระราม 2 มีห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงและเก็บสเต็มเซลล์มาตรฐานสากลที่มีศักยภาพสูง ซึ่งประกอบด้วยห้องเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์ clean room class 100 และ class 10000 ทำให้สเต็มเซลล์ที่ผ่านการเพาะเลี้ยงจากห้องปฏิบัติการนี้ปราศจากเชื้อและปลอดภัย

โดยการรักษาโดยเรื่องสเต็มเซลล์หลอดเลือดนี้จะสามารถให้การบริการดูแลผู้ป่วยได้ตั้งแต่ เดือนมีนาคม 2566 เป็นต้นไป ผู้สนใจ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรงพยาบาลพานาซี พระราม 2 และ คลินิกพานาซี (เอกมัย) ได้ที่ www.panacee.com และ www.panaceehospital.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น