โดยมีนางสาวบุปผา เรืองสุด รองปลัดกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน นายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน หัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดชลบุรี ร่วมให้การต้อนรับ ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค.) จังหวัดชลบุรี
นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จากการระบาดของโควิด 19 ส่งผลกระทบรุนแรงต่อแรงงานไทยเป็นอย่างมาก กระทรวงแรงงานได้เล็งเห็นถึงผลกระทบด้านแรงงานที่ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศชะลอตัวลง
นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จากการระบาดของโควิด 19 ส่งผลกระทบรุนแรงต่อแรงงานไทยเป็นอย่างมาก กระทรวงแรงงานได้เล็งเห็นถึงผลกระทบด้านแรงงานที่ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศชะลอตัวลง
ทั้งนี้ภายหลังสถานการณ์โควิด 19 กระทรวงแรงงานพบว่าอัตราการจ้างงานลดลง เนื่องจากการปรับตัวทางธุรกิจของสถานประกอบการซึ่งเน้นการทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านระบบออนไลน์และปรับตัวเป็นดิจิทัลมากขึ้น การนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการ ทำให้ลดการจ้างแรงงานในระบบมากขึ้น ก่อให้เกิดธุรกิจใหม่ที่ทำให้แรงงานในระบบต้องพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานของตนเองให้ทันต่อธุรกิจที่เกิดใหม่ และคนจำนวนมากหันมาประกอบอาชีพเสริมหรืออาชีพอิสระเพิ่มขึ้น
ดังนั้นการยกระดับและเรียนรู้ทักษะใหม่ จึงเป็นภารกิจสำคัญของกระทรวงแรงงานที่ต้องนำแรงงานที่มีทักษะกลับเข้าสู่ระบบการจ้างงานและสร้างแรงงานนอกระบบที่เข้มแข็งขึ้นมา เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพและยั่งยืน จึงได้มอบหมายให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จัดโครงการมหกรรม รวมพลัง สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ขึ้น เพื่อให้แรงงานไทยได้มีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพต่างๆ สามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพตามความถนัดและตรงกับความต้องการของตนเองได้
ด้านนางสาวบุปผา เรืองสุด รองปลัดกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวว่า กรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้ดำเนินการยกระดับการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน Up - skill, Re–skill, New skill ให้กับแรงงานในระบบ นอกระบบ และกลุ่มผู้ว่างงานให้มีความรู้เพียงพอต่อการทำงาน เพื่อกลับเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยการส่งเสริมการเรียนรู้วิธีการทำงานใหม่ ๆ ผ่านช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ พัฒนาหลักสูตรการฝึกอาชีพเสริม พัฒนาทักษะอาชีพให้กับคนรุ่นใหม่ที่นิยมทำงานอิสระ การต่อยอดการประกอบอาชีพเพื่อยกระดับรายได้และเศรษฐกิจชุมชน มุ่งเน้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยชุมชนเพื่อชุมชนที่ยั่งยืนและเพื่อเป็นการนำนโยบายสู่การปฏิบัติอีกรูปแบบหนึ่ง
ภายในงานมีการจัดกิจกรรมกว่า 10 กิจกรรม ได้แก่ การนัดพบแรงงาน มีสถานประกอบการชั้นนำเข้าร่วมรับสมัครงาน 20 แห่ง การจัดคลินิกส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ให้คำปรึกษาด้าน พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 การรับรองความรู้ความสามารถและด้านการขอทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน กิจกรรม “รวมกันเป็นหนึ่ง เป็นที่พึ่งของประชาชน” โดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน
นอกจากนี้ยังมี การจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าชุมชนท้องถิ่น สินค้ากลุ่ม OTOP เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบกิจการให้มีรายได้ ตลอดจน การแสดงสินค้าและเทคโนโลยีด้าน Industrial Internet of Things การให้ความรู้ด้านเกษตรกรรมแบบพึ่งพาตนเอง การแสดงระบบ Mini Plant Factory การให้แนะนำเกี่ยวกับระบบกระชังปลาอัจฉริยะ ปิดท้ายด้วยการจัดสาธิตการฝึกอาชีพกว่า 30 สาขาอาชีพ
"การจัดงานมหกรรม รวมพลัง สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ในครั้งนี้ พี่น้องแรงงานและกลุ่มนักเรียน นักศึกษา จะได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะฝีมือ ทิศทางการทำงานในปัจจุบันและความต้องการแรงงานในอนาคต เพื่อพัฒนาตนเองให้พร้อมที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน เพื่อสร้างอาชีพและมีรายได้ที่มั่นคง ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไป" นายสุชาติ กล่าวทิ้งท้าย
"การจัดงานมหกรรม รวมพลัง สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ในครั้งนี้ พี่น้องแรงงานและกลุ่มนักเรียน นักศึกษา จะได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะฝีมือ ทิศทางการทำงานในปัจจุบันและความต้องการแรงงานในอนาคต เพื่อพัฒนาตนเองให้พร้อมที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน เพื่อสร้างอาชีพและมีรายได้ที่มั่นคง ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไป" นายสุชาติ กล่าวทิ้งท้าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น