น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ขณะที่ผู้บริหารองค์กรชั้นนำ ทั้ง นายชญาน์ จันทวสุ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารความยั่งยืนและภาพลักษณ์องค์กร บริษัท พีทีที โกลบอลเคมิคอล จำกัด และนายอุกฤษ อุณหเลขกะ เป็นผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร กิจการเพื่อสังคม Startup ชื่อ Ricult (รีคัลท์) มองไปในทิศทางเดียวกันว่า โมเดล BCG คือ อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ หรือ New S-curve ของประเทศไทย ทั้งนี้นายชญาน์ ยกตัวอย่างบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ที่เริ่มจากเอาวัตถุดิบการเกษตร จากน้ำมันปาล์มมาผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพที่ใส่ผสมน้ำมันและไบโอเคมิคอล ที่นำน้ำมันปาล์มไปผลิตสารซักล้าง เช่นสบู่และแชมพูสระผม โดยเชื่อมั่นว่าต่อไปประเทศไทยจะเป็นฮับเรื่องไบโอพลาสติกที่ทั้งผลิตใช้ในประเทศและส่งออกเป็นอันดับต้นๆของโลก
น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า อีกทั้งนายชญาน์ ยังมองถึงโอกาสในการแข่งขันด้านสินค้าพลาสติกชีวภาพหรือไบโอพลาสติก ทั้งในแง่ต้นทุนและคุณภาพสินค้า เนื่องจากปัจจุบันไทยใช้พลาสติกจำนวนมากปีหนึ่งประมาณ 2 ล้านตัน รีไซเคิลกลับมาใช้จริงในระบบประมาณ5 แสนตันเท่านั้น ที่เหลือนำไปฝังกลบเสียส่วนใหญ่ซึ่งไม่มีมูลค่าและอาจเกิดการรั่วไหลไปยังสิ่งแวดล้อม ดังนั้นพลาสติกอีก 1.5 ล้านตัน ถ้าสามารถรวบรวมและแยกให้เป็นระบบมากขึ้น เข้าโรงงานรีไซเคิล จะสามารถทำให้รายได้กลับสู่ชุมชน จากการสำรวจปริมาณขยะพลาสติกและพลาสติกใช้แล้วทั่วประเทศ พบว่าทุกภาคมีปริมาณที่เหลือใช้มาก ถ้าสามารถเริ่มได้ทุกหมู่บ้านทั้ง 8 พันกว่าหมู่บ้าน หรือ 1 ตำบลมีสักแห่งหนึ่งการลงทุนในแง่ต้นทุนไม่สูงมาก ทุกคนสามารถทำได้เมื่อทำแล้วขยายผลไปทั่วประเทศ จะรวบรวมพลาสติกที่ใช้แล้วกลับมาเข้าโรงงานแล้วจะเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ ได้มากพอสมควร ก็คงหลายหมื่นล้านบาท สร้างรายได้นับล้านบาทให้กับชุมชน โดยมีตัวอย่างที่ทำไปแล้ว 5-6 แห่ง ทุกแห่งรายได้เพิ่มขึ้นทั้งหมด ต่อแห่งเล็กๆ 2 ตำบลขยะพลาสติกต่อปีชุมชนต่อปีประมาณ 50 ตัน รายได้ประมาณ1 ล้านบาท กำไรเข้าชุมชนหลายแสนบาท
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า ในส่วนของนายอุกฤษ มองถึงการดึงศักยภาพของเกษตรกรไทย ในการปรับการทำเกษตรให้มีรายได้มากขึ้น ผลิตสินค้าเกรดพรีเมียมที่มีคุณภาพสูงมากขึ้น โดยนำนวัตกรรมใหม่ๆและ BigData เข้ามาช่วยยกระดับ เนื่องจากตลาดในยุโรปและสหรัฐอเมริกาต้องการสินคาที่ผ่านกระบวนการที่ไม่ทำลายโลก ประเทศไทยมีโอกาสที่จะผลิตสินค้าตอบโจทย์โลกได้ เพราะมีเกษตรกรจำนวนมากกว่า และเก่ง ถ้ามีโรงงานใหญ่สามารถแรปรูปเป็นไบโอพลาสติก เป็นเอธานอลได้ หรือแปรรูปข้าวมาเป็นวิตามิน หรือเป็นเครื่องสำอางมูลค่าของสินค้าเกษตรไทยจะมากขึ้น ราคารับซื้อจากเกษตรกรไทยก็จะมากตามไปด้วย ซึ่งนักลงทุนเห็นโอกาสของภาคเกษตรในประเทศไทย เงินลงทุนจะเข้ามามากมาย
“จากการขับเคลื่อนโมเดล BCGของภาคส่วนต่างๆและจากมุมมองของผู้บริหารธุรกิจ สะท้อนทิศทางที่สดใสของโมเดล BCGที่จะดึงดูดนักลงทุน ยกระดับธุรกิจในประเทศ เอสเอ็มอีและสตาร์ตอัป รวมทั้งชุมชนต่างๆ เป็น New S-curve ควบคู่ไปกับการสร้างอุตสาหกรรมใหม่อุตหสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ยา นวัตกรรมดิจิทัล ที่จะพลิกโฉมเศรษฐกิจไทยให้มีมูลค่าสูง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุ
น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า อีกทั้งนายชญาน์ ยังมองถึงโอกาสในการแข่งขันด้านสินค้าพลาสติกชีวภาพหรือไบโอพลาสติก ทั้งในแง่ต้นทุนและคุณภาพสินค้า เนื่องจากปัจจุบันไทยใช้พลาสติกจำนวนมากปีหนึ่งประมาณ 2 ล้านตัน รีไซเคิลกลับมาใช้จริงในระบบประมาณ5 แสนตันเท่านั้น ที่เหลือนำไปฝังกลบเสียส่วนใหญ่ซึ่งไม่มีมูลค่าและอาจเกิดการรั่วไหลไปยังสิ่งแวดล้อม ดังนั้นพลาสติกอีก 1.5 ล้านตัน ถ้าสามารถรวบรวมและแยกให้เป็นระบบมากขึ้น เข้าโรงงานรีไซเคิล จะสามารถทำให้รายได้กลับสู่ชุมชน จากการสำรวจปริมาณขยะพลาสติกและพลาสติกใช้แล้วทั่วประเทศ พบว่าทุกภาคมีปริมาณที่เหลือใช้มาก ถ้าสามารถเริ่มได้ทุกหมู่บ้านทั้ง 8 พันกว่าหมู่บ้าน หรือ 1 ตำบลมีสักแห่งหนึ่งการลงทุนในแง่ต้นทุนไม่สูงมาก ทุกคนสามารถทำได้เมื่อทำแล้วขยายผลไปทั่วประเทศ จะรวบรวมพลาสติกที่ใช้แล้วกลับมาเข้าโรงงานแล้วจะเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ ได้มากพอสมควร ก็คงหลายหมื่นล้านบาท สร้างรายได้นับล้านบาทให้กับชุมชน โดยมีตัวอย่างที่ทำไปแล้ว 5-6 แห่ง ทุกแห่งรายได้เพิ่มขึ้นทั้งหมด ต่อแห่งเล็กๆ 2 ตำบลขยะพลาสติกต่อปีชุมชนต่อปีประมาณ 50 ตัน รายได้ประมาณ1 ล้านบาท กำไรเข้าชุมชนหลายแสนบาท
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า ในส่วนของนายอุกฤษ มองถึงการดึงศักยภาพของเกษตรกรไทย ในการปรับการทำเกษตรให้มีรายได้มากขึ้น ผลิตสินค้าเกรดพรีเมียมที่มีคุณภาพสูงมากขึ้น โดยนำนวัตกรรมใหม่ๆและ BigData เข้ามาช่วยยกระดับ เนื่องจากตลาดในยุโรปและสหรัฐอเมริกาต้องการสินคาที่ผ่านกระบวนการที่ไม่ทำลายโลก ประเทศไทยมีโอกาสที่จะผลิตสินค้าตอบโจทย์โลกได้ เพราะมีเกษตรกรจำนวนมากกว่า และเก่ง ถ้ามีโรงงานใหญ่สามารถแรปรูปเป็นไบโอพลาสติก เป็นเอธานอลได้ หรือแปรรูปข้าวมาเป็นวิตามิน หรือเป็นเครื่องสำอางมูลค่าของสินค้าเกษตรไทยจะมากขึ้น ราคารับซื้อจากเกษตรกรไทยก็จะมากตามไปด้วย ซึ่งนักลงทุนเห็นโอกาสของภาคเกษตรในประเทศไทย เงินลงทุนจะเข้ามามากมาย
“จากการขับเคลื่อนโมเดล BCGของภาคส่วนต่างๆและจากมุมมองของผู้บริหารธุรกิจ สะท้อนทิศทางที่สดใสของโมเดล BCGที่จะดึงดูดนักลงทุน ยกระดับธุรกิจในประเทศ เอสเอ็มอีและสตาร์ตอัป รวมทั้งชุมชนต่างๆ เป็น New S-curve ควบคู่ไปกับการสร้างอุตสาหกรรมใหม่อุตหสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ยา นวัตกรรมดิจิทัล ที่จะพลิกโฉมเศรษฐกิจไทยให้มีมูลค่าสูง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น