เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2565 นางสาวรัชดา ธนาดิเรกรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ติดตามความก้าวหน้าการขับเคลื่อนการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ซึ่งประกอบด้วย 10 จังหวัด คือ ตาก มุกดาหาร ตราด สระแก้ว สงขลา หนองคายนราธิวาส เชียงราย นครพนม และกาญจนบุรี ซึ่งการขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าว เพื่อใช้ภูมิประเทศที่มีประเทศเพื่อนบ้านรายล้อมรอบทิศเป็นจุดแข็งในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน พัฒนาเศรษฐกิจประเทศให้มั่นคงและยั่งยืนโดยมีแนวทางการพัฒนา เช่น การกำหนดเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยต่อนักลงทุน การต่อยอดการพัฒนาพื้นที่จากทรัพยากรที่มีอยู่เดิม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษชายแดน การยกระดับการจัดการแรงงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการส่งเสริมการสร้างงาน
ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนอาทิ
1.การลงทุนของภาคเอกชนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนตั้งแต่ปี 2558 มีมูลค่าการลงทุนรวม 3.7 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วยการส่งเสริมการลงทุนโครงการลงทุนของภาคเอกชนในพื้นที่พัฒนาที่ราชพัสดุเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราด กาญจนบุรี และนครพนม การลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้วและสงขลา การจัดตั้งธุรกิจใหม่และการจัดตั้งเขตปลอดอากรและคลังสินค้าทัณฑ์บนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก มุกดาหาร หนองคาย เชียงรายและสงขลา
2.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมีความก้าวหน้าร้อยละ 89 โดยโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จในช่วงปี 2564 - 2565 เช่น ทางหลวงหมายเลข 3 ตราด-หาดเล็ก (เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราด) ทางหลวงหมายเลข 211 แยก 2 อำเภอศรีเชียงใหม่ (เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษหนองคาย) นอกจากนี้ ได้มีการพัฒนาและบริหารจัดการการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงกับเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว (เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษหนองคาย)
3.การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน มีศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านแรงงานในทุกจังหวัด เพื่อสนับสนุนการใช้แรงงานต่างด้าวอย่างถูกต้อง สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการในพื้นที่ และอำนวยความสะดวกในการพิจารณาออกใบอนุญาตการทำงานแก่แรงงานต่างด้าวในกลุ่มช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการ และกลุ่มซึ่งมิใช่ช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการ โดยตั้งแต่ ตุลา 2560 - มิถุนายน 2565 ได้อนุญาตให้แรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนทุกสัญชาติ จำนวน 5.08 คน แล้ว
4.การบริหารจัดการพื้นที่พัฒนาที่ราชพัสดุเพื่อนำร่องการลงทุน ขณะนี้มีเอกชนและการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้เช่าพื้นที่พัฒนาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว และสงขลา เพื่อก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมแล้วเสร็จและมีนักลงทุนเข้าใช้พื้นที่ดำเนินการแล้วส่วนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราด นครพนม และกาญจนบุรี มีเอกชนผู้เช่าพื้นที่พัฒนาอยู่ระหว่างเตรียมการเข้าใช้พื้นที่ ขณะที่ เขตพัฒนาพิเศษเขตเศรษฐกิจพิเศษตาก ทางกนอ. ได้ออกแบบนิคมอุตสาหกรรมและจัดทำรายงานประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมแล้วเสร็จ สำหรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (แปลงที่ 1) มุกดาหาร และหนองคาย อยู่ระหว่างการสรรหาผู้ลงทุนพัฒนาพื้นที่
5.โครงการศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จด้านแรงงานต่างด้าว เพื่อสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวกในการพิจารณาออกใบอนุญาตการทำงานและเพื่อบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวบริเวณชายแดนที่เข้ามาทำงานในลักษณะไป-กลับและตามฤดูกาลอย่างเป็นระบบมีแรงงานต่างด้าวได้รับอนุญาตทำงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษจำนวน 2.7 หมื่นคน
“รัฐบาลตั้งเป้าให้การพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเป็นอีกหนึ่งยุทธศาสตร์ที่จะนำไปสู่การกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน โดยใช้โอกาสจากศักยภาพของพื้นที่ทำเลที่ตั้งบริเวณชายแดน ผนึกกำลังกับการมีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้งในส่วนของข้อตกลงและสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านให้เกิดประโยชน์ จับมือร่วมสร้างเศรษฐกิจของประเทศในพื้นที่ชายแดนสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน” นางสาวรัชดา กล่าว
วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2565
Home
ราชการ
รัฐบาลขับเคลื่อนการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 10 จังหวัด ใช้ภูมิศาสตร์บวกอาเซียนบูมเศรษฐกิจท้องถิ่น
รัฐบาลขับเคลื่อนการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 10 จังหวัด ใช้ภูมิศาสตร์บวกอาเซียนบูมเศรษฐกิจท้องถิ่น
Tags
# ราชการ
Share This
About MSK-NEWS
ราชการ
ป้ายกำกับ:
ราชการ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Author Details
สื่อมวลชนหัวใจยุติธรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น