เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า รางวัลรัฐบาลดิจิทัล ประจำปี 2565 สพร. ได้ดำเนินการสำรวจระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 1,935 หน่วยงาน ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐส่วนกลาง จำนวน 324 หน่วยงาน หน่วยงานภาครัฐส่วนภูมิภาค จำนวน 1,609 หน่วยงาน ครอบคลุม 76 จังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ จำนวน 2 หน่วยงาน โดยสำนักงาน คปภ.ได้รับรางวัลหน่วยงานคุณภาพด้านการใช้ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance) คะแนนรวมจัดอยู่ในกลุ่ม Very High ซึ่งวัดจากระดับความพร้อมการพัฒนาด้านดิจิทัลรายตัวชี้วัด (Pillar) 6 ตัวชี้วัด สำหรับตัวชี้วัดที่โดดเด่นที่สุดของสำนักงาน คปภ. คือ Pillar 5 : วัดผลด้านโครงสร้างพื้นฐานความมั่นคงปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ (Secure and Efficient Infrastructure) โดยได้คะแนนสูงถึง 97.50% ลำดับถัดมาคือ Pillar 1 : วัดผลด้านแนวนโยบายและหลักปฏิบัติ (Policies and Practices) โดยได้คะแนนสูงถึง 93.41% จึงเป็นการการันตีถึงความสำเร็จและความมุ่งมั่นของสำนักงาน คปภ. ในการยกระดับการให้บริการด้านการกำกับดูแล และการสร้างธรรมาภิบาลด้านการดูแลข้อมูล (Data Governance) รวมไปถึงการพัฒนาบุคลากรและวัฒนธรรมองค์กรในด้านข้อมูลเป็นสำคัญ โดยให้ความสำคัญในการใช้ข้อมูลเป็นตัวขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อนำไปสู่การเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data Driven Organization) อย่างแท้จริง ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. ได้มีการนำเทคโนโลยี Big Data เข้ามาช่วยยกระดับในการอำนวยความสะดวก เพิ่มประสิทธิภาพแก่ภาคธุรกิจ หน่วยงานภาครัฐ และประชาชนทั่วไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการช่วยขับเคลื่อนการปฏิบัติงานไปสู่รัฐบาลดิจิทัลได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
“เป็นที่น่ายินดีที่สำนักงาน คปภ. ได้รับรางวัลดิจิทัลต่อเนื่องจากสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ติดต่อกันมาเป็นปีที่สองแล้ว โดยปีที่แล้วได้รับรางวัลประเภท “พัฒนาการดีเด่นหน่วยงานระดับกรมที่จัดทำนโยบาย กำกับ ดูแล ประสานงาน หรืออื่น ๆ เป็นหลัก” และปีนี้ได้รับรางวัล ประเภท“รางวัลหน่วยงานคุณภาพด้านการใช้ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance)” ซึ่งรางวัลที่สำนักงาน คปภ. ได้รับในครั้งนี้ แสดงถึงความสำเร็จในระดับหน่วยงานที่พัฒนาคุณภาพการสนับสนุนการดำเนินการใช้ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ การบริหารจัดการข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ผมขอขอบคุณบอร์ด คปภ. ผู้บริหารและพนักงานสำนักงาน คปภ. ตลอดจนทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทุกท่านที่เป็นกำลังสำคัญทำให้สำนักงาน คปภ. สามารถคว้ารางวัลอันทรงเกียรตินี้ได้ โดยสำนักงาน คปภ. จะมุ่งมั่นทำงานและปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการอย่างต่อเนื่อง จะบูรณาการกับทุกภาคส่วน พร้อมรับข้อเสนอแนะเพื่อนำมาพัฒนามาตรฐานการให้บริการให้ดียิ่งขึ้น และจะดำเนินการยกระดับการเตรียมความพร้อมรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ การเตรียมแผนฟื้นฟูภัยพิบัติ (Disaster Recovery Plan : DR plan) และการจัดทำแผนจัดการเหตุการณ์ผิดปกติ (Incident Management Process) เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมประกันภัยและสังคมต่อไป” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น