เมื่อกล่าวถึงคำว่า “เซน” (Zen) บางคนอาจจะนึกถึงพุทธปรัชญามหายานนิกายหนึ่งที่เจริญรุ่งเรืองในเอเชียตะวันออก โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นที่ปรัชญาเซนได้เข้าไปอยู่ในวิถีชีวิตและวิธีคิด บางคนก็นึกถึง “เอนโซ” (Enzo) วงกลมแห่งปัญญา ที่สื่อถึงสุญตาหรือความว่างเปล่า เป็นสัญลักษณ์ของการรู้แจ้ง พลัง และจักรวาล บ้างก็นึกถึง “โกอาน” ปริศนาธรรมที่ต้องอาศัยการตีความ หรือนึกถึงวิถีแห่งการชงชา การจัดสวนสไตล์เซน
แท้จริงแล้ว “ปรัชญาเซน” คือ มรรควิธีที่นำไปสู่ภาวะสงบ สะอาด สว่าง สมบูรณ์ มีอิสรภาพทั้งจิตและกาย เป็นหลักการง่าย ๆ ที่ใช้ปฏิบัติอยู่ในชีวิตประจำวัน โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะขัดเกลาจิตใจให้บรรลุพุทธภาวะหรือความรู้แจ้ง
เพลงดาบแห่ง Zen คัมภีร์เพื่อความสุขและการรู้แจ้ง ผลงานโดย เด็กวัดเฒ่า ผู้ซึ่งสนใจศึกษาและเรียนรู้หลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนานิกายเซน เป็นการรวบรวมนิทานธรรม โกอานหรือปริศนาธรรม เนื้อความในพระไตรปิฎกที่ผู้เขียนนำมาเรียบเรียงในแบบฉบับของตน คำสอนจากอาจารย์เซนคนสำคัญ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจสาระหลักของคำสอนแห่งเซน และเป็นการสร้างแง่คิดมุมมองใหม่ ๆ ให้ชีวิตดำเนินไปอย่างเรียบง่าย เพื่อให้เกิดการรู้แจ้งแห่งสัจธรรมด้วยตนเองจากการฝึกปฏิบัติและการใช้ปัญญา
หนังสือเล่มนี้เปรียบเสมือนดาบแห่งสติ หรือ The Sword of Mindfulness ดาบที่ไม่ได้มีไว้รบรากับศัตรูหรือคู่ต่อสู้ แต่ผู้ถือดาบเล่มนั้นจะต้องฝึกเพลงดาบไว้เพื่อใช้เป็นอาวุธฟาดฟันกับกิเลส ตัณหา และอวิชชาที่อยู่ในใจ เพื่อเข้าถึงการบรรลุธรรม หรือที่เรียกว่า “ซาโตริ” (Satori) คือ การรู้แจ้งแห่งสภาวะความจริงสูงสุด การรู้แจ้งความเป็นจริงในสรรพสิ่งอันเป็นหนึ่งเดียว ก็คือความว่าง ปล่อยวางจากความยึดถือในตัวตนและสิ่งต่าง ๆ เพื่อเข้าถึงซึ่งสภาวะแห่งพุทธะนั่นเอง
หนังสือ เพลงดาบแห่ง Zen คัมภีร์เพื่อความสุขและการรู้แจ้ง หนา 224 หน้า ราคา 250 บาท มีวางจำหน่ายที่ร้านนายอินทร์และร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักพิมพ์วิช 02 418 2885 หรือ www.wishbookmaker.com
ตัวอย่างเนื้อหาบางส่วน
ชื่อว่าวิญญูชนแล้ว
ไม่เสพธรรมนิพนธ์ไม่มี
คนจน เจียม
คนรวย ทะนง
ผู้ปฏิบัติธรรม องอาจ
เราต่างอยู่
คนละโลกเดียวกัน
(ทุกคน)
พระพุทธองค์
ทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ด้วยพระสัทธรรม
มิใช่ด้วยกฤดาภินิหาร
พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมแก่เศรษฐี
“ดูก่อนเศรษฐี ธรรมของตถาคต มิได้สอนให้ใครออกจากบ้าน มาบวชอยู่ในป่า ถ้าหากผู้ใดมีความปรารถนา เป็นอยู่เช่นไร ตามฐานะแห่งตน ย่อมเป็นอยู่ได้ตามความปรารถนา
ธรรมของตถาคต มิได้บังคับให้ผู้นั้นละเสียซึ่งฐานะของเขาเลย จะเป็นผู้อยู่ป่าหรือเป็นผู้ครองเรือน ก็สามารถปฏิบัติธรรมของตถาคตได้
ธรรมของตถาคต ต้องการให้ทุกคนมีอิสระแก่ตน สอนให้ทุกคนไม่คดโกงตน รักษาใจของตนให้มีความสะอาด สอนให้คนไม่ติดอยู่ในสุขสมบัติ สอนให้ทุกคนสร้างชีวิตของตนด้วยความถูกต้อง บุคคลทั้งหลาย แม้มีอาชีพแตกต่างกัน ธรรมของตถาคตสอนให้คนเหล่านั้น ทำงานของตนตามหน้าที่่ เป็นกรรมกรที่่ดี เป็นพ่อค้าที่ดี ทำงานตามหน้าที่ของตน ชีวิตของคน ไม่จำเป็นต้องออกจากบ้านมาอยู่ป่า ดำเนินชีวิตอยู่กับบ้าน อยู่ภายในโลกให้ถูกตอง ฝึกจิตให้มีเมตตา ฝึกจิตให้รู้จักแบ่งปันหรือบริจาค ตามสมควรแก่ผู้ให้และผู้รับ ก็จะได้พบความสุขได้ตามฐานะแห่งผู้ครองเรือน”
(อ้างอิงจากพุทธประวัติมหายาน)
ขว้างสังขาร
สิ่งต่าง ๆ ที่มีพื้นฐานมาจากการปรุงแต่ง
เวลาเราปฏิบัติ “เซน”
จำเป็นที่เราต้องขว้างมันทิ้งไป
แต่เมื่อเราอยู่ในหมู่ชน เราอยู่กับสมมุติ
ก็ต้องเป็นไปตามนั้น
แต่ไม่ยึดติดเอามาเป็นสรณะ
เวลาเกิดความตระหนักรู้ใน “เซน”
แว็บเดียวจริง ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น