ทั้งนี้ เป็นข้อมูลจากเวทีเสวนาออนไลน์ Consumer Forum EP.4 "ผลกระทบการผูกขาดมือถือต่อสิทธิพลเมือง 5G" ซึ่งถูกจัดขึ้นในวันที่ 14 กันยายน 2565 เพื่อพูดคุย สะท้อนปัญหา และร่วมกันหาแนวทางป้องกันการผูกขาดมือถือดีลควบรวมทรู - ดีแทค กระทบการพัฒนาที่ยั่งยืน
สุภิญญา กลางณรงค์ ประธานอนุกรรมการด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวว่า ในอีก 5 - 10 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะเข้าสู่ Internet of Things (IoT) ชีวิตจะผูกพันกับสัญญาณอินเทอร์เน็ต ทำอย่างไรให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ใส่ใจเรื่องดังกล่าว ซึ่งการที่ กสทช. ไม่ทำหน้าที่พิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตควบรวมกิจการ ถือว่าไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค และไม่ให้เกียรติสังคมที่เลือกเข้ามารับตำแหน่งประธานอนุกรรมการด้านการสื่อฯ กล่าวอีกว่า การควบรวมกิจการครั้งนี้ กระทบต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ซึ่งเป็นแนวทางที่ทั้งทรูและดีแทคประกาศสนับสนุน เนื่องจากแนวทาง SDG นั้นระบุถึงเรื่องการส่งเสริมการแข่งขัน แต่ทิศทางการทำธุรกิจที่เหลือน้อยราย ย่อมไม่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งนี้ ในช่วงแรกของการประมูล กสทช. ได้ออกแบบให้มี 3 ใบอนุญาต 3 ราย เพื่อป้องกันการควบรวมคลื่นความถี่ และการจัดสรรคลื่นของผู้รับใบอนุญาตดังกล่าวถือเป็นสัญญาต่อรัฐ ซึ่งผู้รับใบอนุญาตต้อง รับผิดชอบต่อสัญญาดังกล่าว จึงฝากถึงคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ยึดหลักการสัญญาการประมูลคลื่น นอกจากนี้ อยากตั้งขอสังเกตว่าการควบรวมคลื่นความถี่จะขัดกับสัญญาต่อรัฐ และขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
ร่อนจม.เปิดผนึก เรียกร้องกสทช.ทำหน้าแทนคนไทย 66 ล้านคน
สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวว่า การที่ กสทช. ส่งหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีและขอให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความประเด็นข้อกฎหมายกรณีการควบรวมธุรกิจระหว่างทรู - ดีแทคนั้น ทำให้สังคมไม่มีทางออกมากยิ่งขึ้น ทั้งที่ กสทช. มีอำนาจเต็มที่ในการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ ดังนั้น สภาองค์กรของผู้บริโภคจึงเห็นว่า กสทช. ต้องไม่อนุญาตให้มีการควบรวมกิจการโทรคมนาคมใด ๆ ที่ทำให้ผู้บริโภคต้องรับภาระค่าใช้จ่ายค่าบริการโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตที่สูงขึ้น หรือทำให้โอกาสการเข้าถึงการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของผู้บริโภคลดลงไปอีกจากการควบรวมกิจการ
ฉะนั้น สภาองค์กรของผู้บริโภค จึงเขียนบันทึกถึงผู้บริโภคและประชาชน ให้ออกมาร่วมกันใช้สิทธิของตัวเอง ในการคัดค้านและเรียกร้องให้กสทช.ทำหน้าที่ โดยใจความสำคัญในจดหมายเปิดผนึก คือ เรียกร้องให้ กสทช. ทำหน้าที่เป็นตัวแทนประชาชน 66 ล้านคน ปกป้องประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะทรัพยากรคลื่นความถี่ ซึ่งแตกต่างจากทรัพยากรสาธารณะด้านอื่น ๆ พร้อมกันนี้ได้เรียกร้องประชาชนลุกขึ้นมาคัดค้าน กสทช.ที่ไม่ใช้อำนาจของตัวเอง
ฉะนั้น สภาองค์กรของผู้บริโภค จึงเขียนบันทึกถึงผู้บริโภคและประชาชน ให้ออกมาร่วมกันใช้สิทธิของตัวเอง ในการคัดค้านและเรียกร้องให้กสทช.ทำหน้าที่ โดยใจความสำคัญในจดหมายเปิดผนึก คือ เรียกร้องให้ กสทช. ทำหน้าที่เป็นตัวแทนประชาชน 66 ล้านคน ปกป้องประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะทรัพยากรคลื่นความถี่ ซึ่งแตกต่างจากทรัพยากรสาธารณะด้านอื่น ๆ พร้อมกันนี้ได้เรียกร้องประชาชนลุกขึ้นมาคัดค้าน กสทช.ที่ไม่ใช้อำนาจของตัวเอง
สารี ชี้แจงถึงเหตุผลค้านการควบรวมทรู - ดีแทค นอกจากทำให้ค่าบริการแพงขึ้นแล้ว จากงานวิจัยหลายชิ้นชี้ชัดค่าบริการแพงขึ้น อย่างน้อย 12 เปอร์เซนต์ และไม่มีหลักประกันว่า กสทช. จะสามารถกำกับได้สำเร็จ ดังนั้น ไม่มีเหตุผลที่ กสทช.จะอนุญาตให้ควบรวมกิจการนี้เกิดขึ้น อีกทั้งเป็นเรื่องไม่สมควร และไม่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภค สภาองค์กรของผู้บริโภคจึงเตรียมชักชวนสมาชิกผู้บริโภคทั่วประเทศปฏิบัติการในเรื่องนี้
เสนอสภาฯ จัดเวที สร้างกระแส กดดัน กสทช.
เสนอสภาฯ จัดเวที สร้างกระแส กดดัน กสทช.
สุนี โชยรส อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แสดงความไม่เห็นด้วยที่ กสทช. ส่งเรื่องให้กฤษฎีกาตีความ พร้อมระบุถึงเจตนารมณ์ของการจัดตั้งองค์กรอิสระกับการจัดสรรทรัพยากรสาธารณะ โดยตามเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญกำหนดให้คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรสาธารณะที่ต้องกำกับดูแล โดยมีการจัดสรรคลื่นความถี่ ไม่ให้เกิดการผูกขาด เพื่อผลประโยชน์สาธารณะที่คำนึงถึงผลประโยชน์และเสรีภาพของประชาชน ดังนั้น หากองค์กรอิสระไม่กล้าหาญเดินหน้าตามอำนาจหน้าที่ของตนเอง ปกป้องผลประโยชน์ประชาชน สังคมก็จะตั้งคำถามกับองค์กรอิสระนั้นๆ มีองค์กรอิสระไว้ทำไม ลามไปถึงองค์กรที่สรรหาองค์กรอิสระด้วย
“สิทธิของผู้บริโภคที่ไร้อำนาจต่อรอง ย่อมกระทบต่อสิทธิพลเมือง วันนี้เรื่องนี้ไปไกลกว่าแค่ราคาค่าบริการแต่หมายถึงสิทธิเสรีภาพการมีส่วนรวม ในนโยบาย กฎหมายของรัฐ” สุนี ระบุ และเสนอให้สภาองค์กรของผู้บริโภคจัดเวที สร้างกระแส กดดัน และเรียกร้องต่อกสทช.
ตอก กสทช.ไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่องค์กรอิสระ
ตอก กสทช.ไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่องค์กรอิสระ
นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ อดีตกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และสมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่า ปัจจุบันคลื่นความถี่มีความจำเป็นและสำคัญในชีวิตประจำวันของทุกคน จึงเป็นหน้าที่ของ กสทช. ที่ต้องมากำกับดูแล ควบคุม และจัดการคลื่นความถี่ที่เป็นสมบัติของประชาชน เพื่อประโยชน์กับประชากรทั้งประเทศ ไม่ให้ตกอยู่ในอำนาจผูกขาดของใครคนใดคนหนึ่ง อย่างไรก็ตาม คำว่าองค์กรอิสระ หมายความว่า องค์กรที่มีความอิสระในการบริหารจัดการ ไม่ตกอยู่ภายใต้ทุนหรืออำนาจนิยมต่าง ๆ ขณะเดียวกันมีอำนาจในการออกกฎหมายเพื่อกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม
“ปัจจุบันนี้ที่ กสทช. ส่งอำนาจของตัวเองให้กฤษฎีกาตีความนั้นเป็นเรื่องน่าผิดหวังของสังคมไทย ที่เราพยายามจัดตั้งองค์กรอิสระขึ้น ต้องจ่ายเงินเดือนและใช้เวลาในการสรรหาคณะกรรมการ แต่เมื่อเข้ามาแล้วกลับไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่ในฐานะองค์กรอิสระ ส่วนนี้เป็นประเด็นสำคัญที่สังคมต้องถามหาความรับผิดชอบจาก กสทช. ให้คำนึงถึงอำนาจหน้าที่เพื่อพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของคลื่นความถี่และประชาชน” นพ.นิรันดร์ กล่าว
นพ.นิรันดร์ กล่าวอีกว่า เทคโนโลยีการสื่อสาร เป็นเครื่องมือที่ทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในเรื่องการแสดงความคิดเห็น การตัดสินใจเชิงนโยบาย และเป็นเครื่องมือที่เปิดโอกาสให้เกิดความเป็นธรรมทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย หากเกิดการผูกขาด ย่อมถูกระทบกระเทือนอย่างมากมาย เกิดความเหลื่อมล้ำทางการเมือง ทั้งนี้ อยากเห็นการเปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันจาก กสทช. โดยเชิญนักวิชาการ ภาคประชาชน ผู้บริโภค เข้าร่วม เพื่อนำความเห็นที่หลากหลายมาพิจารณาและนำมาทำงานร่วมกัน อีกทั้งรัฐต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญ เพื่อปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของประชาชน
สอดคล้องกับ ชัยภวิศร์ ธวัชชัยนันท์ อนุกรรมการด้านสินค้าและบริการทั่วไป สภาองค์กรของผู้บริโภค
สอดคล้องกับ ชัยภวิศร์ ธวัชชัยนันท์ อนุกรรมการด้านสินค้าและบริการทั่วไป สภาองค์กรของผู้บริโภค
กล่าวว่า การที่สังคมไทยมีองค์กรอิสระ ต้องไม่มองแค่ประเด็นราคาที่เป็นธรรมเท่านั้น กุญแจสำคัญ คือการแข่งขัน การแข่งขันที่น้อยลง เกิดการผูกขาดมากขึ้น ถือเป็นการเดินถอยหลัง พร้อมตั้งคำถามว่า หากวันนี้ กสทช. ไม่ทำหน้าที่แล้วใครจะทำ
ด้าน สมบูรณ์ คำแหง ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน มองว่า หาก กสทช. ไม่ทำหน้าที่และสร้างบรรทัดฐานในลักษณะนี้ ประเทศไทยอาจเหลือผู้ประกอบการโทรคมนาคมเพียงรายเดียว ซึ่งการมีผู้แข่งขันน้อยราย คือการเอารัดเอาเปรียบประชาชน ฉะนั้น บทบาท กสทช.มีอำนาจเต็ม หากไม่ยอมใช้อำนาจตัวเอง ก็เป็นหน้าที่ของประชาชนที่ต้องตัดสินใจว่า ควรทำอย่างไรกับ กสทช. และผู้ประกอบการ หรือรัฐบาลที่ยอมให้ดีลควบรวมเรื่องนี้เกิดขึ้น
“การสร้างความเข้าใจให้สาธารณชน เป็นเรื่องสำคัญ ทำอย่างไรให้คนเข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น ทำให้แรงขับเคลื่อนดังขึ้น เชื่อว่า หากสังคมไทยตื่นตัว กสทช. อยู่ยาก ภาคประชาชนไม่มีใครอยากให้มีการผูกขาดลักษณะนี้เกิดขึ้น และหากจำเป็นต้องฟ้อง กสทช. ก็ต้องฟ้อง เพื่อกระตุ้นให้ กสทช. ทำหน้าที่” สมบูรณ์กล่าวทิ้งท้าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น