นางสาวสราญภัทร กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายเป็นคนพิการที่ไม่มีผู้ดูแล หรือมีแต่ไม่สามารถ เลี้ยงดูได้ และผู้ขอรับอุปการะคนพิการ ต้องเป็นบิดา มารดา บุตร สามีภรรยา ญาติ พี่น้อง หรือบุคคลอื่นใดที่รับดูแลหรืออุปการะคนพิการ และมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ หรือผู้มีความประสงค์จะอุปการะเลี้ยงดูคนพิการที่ไม่มีผู้ดูแล ให้คนพิการได้รับปัจจัยสี่ ส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิการคุ้มครองสวัสดิภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี พร้อมดำเนินการสนับสนุนค่าใช้จ่ายค่าตอบแทนในการอุปการะเลี้ยงดูคนพิการให้เบิกแบบเหมาจ่ายไม่เกิน 3,000 บาท ต่อเดือน/คนพิการ และค่าใช้จ่ายเครื่องอุปโภค-บริโภค ที่จำเป็นเฉพาะคนพิการ สำหรับการดำรงชีวิต ให้เบิกจ่ายตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 2,000 บาท ต่อเดือน/คนพิการ โดยสามารถยื่นเรื่องขอรับบริการที่ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด/ศูนย์บริการคนพิการจังหวัด และศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร หรือติดต่อสอบถามได้ที่ 02 354 3388 ทั้งนี้ จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา มีคนพิการเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 89 ราย จาก 84 ครอบครัว
เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 65 เวลา 13.00 น. นางสาวสราญภัทร อนุมัติราชกิจ อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เป็นประธานเปิดงานประชาสัมพันธ์ “โครงการการจัดหาครอบครัวอุปการะให้แก่คนพิการที่ไม่มีผู้ดูแล” และรับฟังเวทีการเสวนา หัวข้อ “ทำไม...ต้องครอบครัวอุปการะ” โดยมีคณะผู้บริหารกระทรวง พม. ผู้นำองค์กรด้านคนพิการ คนพิการ และภาคีเครือข่าย เข้าร่วมงาน ณ บริเวณโถง ชั้น 1 อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ สะพานขาว กรุงเทพฯนางสาวสราญภัทร กล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความรุนแรงของปัญหาที่มีจำนวนคนพิการที่ถูกทอดทิ้ง ไม่มีครอบครัว ขาดผู้อุปการะดูแล ประสบความเดือดร้อนทางด้านเศรษฐกิจจนไม่สามารถดูแลคนพิการได้ จนต้องยื่นความประสงค์ขอส่งคนพิการเข้าอยู่ในความดูแลของสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ พก. จึงจัดทำโครงการ “การจัดหาครอบครัวอุปการะให้แก่คนพิการที่ไม่มีผู้ดูแล” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิและจัดสวัสดิการด้านสังคมให้คนพิการที่ไม่มีผู้ดูแล สนับสนุนให้คนพิการได้อยู่กับครอบครัว เป็นการส่งเสริมให้คนพิการได้รับการพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็งของครอบครัว ชุมชน และสังคม ได้อย่างมีความสุข โดยไม่ต้องส่งเข้ารับการอุปการะในสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ
นางสาวสราญภัทร กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายเป็นคนพิการที่ไม่มีผู้ดูแล หรือมีแต่ไม่สามารถ เลี้ยงดูได้ และผู้ขอรับอุปการะคนพิการ ต้องเป็นบิดา มารดา บุตร สามีภรรยา ญาติ พี่น้อง หรือบุคคลอื่นใดที่รับดูแลหรืออุปการะคนพิการ และมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ หรือผู้มีความประสงค์จะอุปการะเลี้ยงดูคนพิการที่ไม่มีผู้ดูแล ให้คนพิการได้รับปัจจัยสี่ ส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิการคุ้มครองสวัสดิภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี พร้อมดำเนินการสนับสนุนค่าใช้จ่ายค่าตอบแทนในการอุปการะเลี้ยงดูคนพิการให้เบิกแบบเหมาจ่ายไม่เกิน 3,000 บาท ต่อเดือน/คนพิการ และค่าใช้จ่ายเครื่องอุปโภค-บริโภค ที่จำเป็นเฉพาะคนพิการ สำหรับการดำรงชีวิต ให้เบิกจ่ายตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 2,000 บาท ต่อเดือน/คนพิการ โดยสามารถยื่นเรื่องขอรับบริการที่ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด/ศูนย์บริการคนพิการจังหวัด และศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร หรือติดต่อสอบถามได้ที่ 02 354 3388 ทั้งนี้ จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา มีคนพิการเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 89 ราย จาก 84 ครอบครัว
นางสาวสราญภัทร กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายเป็นคนพิการที่ไม่มีผู้ดูแล หรือมีแต่ไม่สามารถ เลี้ยงดูได้ และผู้ขอรับอุปการะคนพิการ ต้องเป็นบิดา มารดา บุตร สามีภรรยา ญาติ พี่น้อง หรือบุคคลอื่นใดที่รับดูแลหรืออุปการะคนพิการ และมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ หรือผู้มีความประสงค์จะอุปการะเลี้ยงดูคนพิการที่ไม่มีผู้ดูแล ให้คนพิการได้รับปัจจัยสี่ ส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิการคุ้มครองสวัสดิภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี พร้อมดำเนินการสนับสนุนค่าใช้จ่ายค่าตอบแทนในการอุปการะเลี้ยงดูคนพิการให้เบิกแบบเหมาจ่ายไม่เกิน 3,000 บาท ต่อเดือน/คนพิการ และค่าใช้จ่ายเครื่องอุปโภค-บริโภค ที่จำเป็นเฉพาะคนพิการ สำหรับการดำรงชีวิต ให้เบิกจ่ายตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 2,000 บาท ต่อเดือน/คนพิการ โดยสามารถยื่นเรื่องขอรับบริการที่ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด/ศูนย์บริการคนพิการจังหวัด และศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร หรือติดต่อสอบถามได้ที่ 02 354 3388 ทั้งนี้ จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา มีคนพิการเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 89 ราย จาก 84 ครอบครัว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น