เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2565 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติคณะรัฐมนตรี เห็นชอบมาตรการเร่งด่วนด้านพลังงานเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์พลังงานไปจนถึงเดือนธันวาคม 2565 ประกอบด้วย การขยายมาตรการที่กำลังจะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน 2565 รวมทั้งมาตรการบรรเทาผลกระทบด้านไฟฟ้าสำหรับบ้านที่อยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 500 หน่วย/เดือน ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของค่า Ft รายละเอียด ดังนี้
การขยายมาตรการไปถึงเดือนธันวาคม 2565
1. มาตรการช่วยเหลือด้านราคาก๊าซ LPG ประกอบด้วย
ขยายระยะเวลาส่วนลดราคาก๊าซ LPG แก่ร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหารที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ไม่เกิน 100 บาท/ราย/เดือน และส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มแก่ผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จาก 45 บาท/คน/ 3 เดือน เพิ่มขึ้นอีก 55 บาท/คน/ 3 เดือน รวมเป็น 100 บาท/คน/ 3 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2565 คาดว่าจะมีผู้ใช้สิทธิลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มประมาณ 5.5 ล้านราย งบประมาณประมาณ 302.5 ล้านบาท
2. มาตรการบริหารราคาน้ำมันดีเชล คงอุดหนุนราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลโดยใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2565 เพื่อบริหารจัดการราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
สำหรับ มาตรการบรรเทาผลกระทบด้านไฟฟ้า เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชน โดยการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าของกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 500 หน่วยต่อเดือน เป็นเวลา 4 เดือน ตั้งแต่ค่าไฟฟ้าประจำเดือนกันยายน - ธันวาคม 2565 ดังนี้
(1) กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วย/เดือน ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง ให้ส่วนลดค่า Ft จำนวน 92.04 สตางค์/หน่วย
(2) กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าระหว่าง 301 - 350 หน่วย/เดือน ซึ่งเป็นคนชั้นกลาง ให้ส่วนลดจากการเพิ่มขึ้นของค่า Ft ร้อยละ 75 จำนวน 51.50 สตางค์/หน่วย
(3) กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าระหว่าง 351 - 400 หน่วย ให้ส่วนลดค่า Ft ร้อยละ 45 คือ จำนวน 30.90 สตางค์ต่อหน่วย/เดือน
(4) ผู้ใช้ไฟฟ้าระหว่าง 401 - 500 หน่วย ให้ส่วนลดค่า Ft ร้อยละ 15 คือ จำนวน 10.30 สตางค์/หน่วย คาดว่า จะใช้งบประมาณ 9,128.41 ล้่านบาท
“มาตรการบรรเทาผลกระทบหลายมาตรการจสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน นี้ ในขณะที่ แนวโน้มสถานการณ์ที่ราคาพลังงาน ทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต ราคาค่าไฟฟ้า รัฐบาลจึงตั้งใจจะช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชนทั่วไปและประชาชนที่มีรายได้น้อยอย่างต่อเนื่อง และผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมด้วย” นายอนุชา กล่าว
การขยายมาตรการไปถึงเดือนธันวาคม 2565
1. มาตรการช่วยเหลือด้านราคาก๊าซ LPG ประกอบด้วย
ขยายระยะเวลาส่วนลดราคาก๊าซ LPG แก่ร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหารที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ไม่เกิน 100 บาท/ราย/เดือน และส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มแก่ผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จาก 45 บาท/คน/ 3 เดือน เพิ่มขึ้นอีก 55 บาท/คน/ 3 เดือน รวมเป็น 100 บาท/คน/ 3 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2565 คาดว่าจะมีผู้ใช้สิทธิลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มประมาณ 5.5 ล้านราย งบประมาณประมาณ 302.5 ล้านบาท
2. มาตรการบริหารราคาน้ำมันดีเชล คงอุดหนุนราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลโดยใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2565 เพื่อบริหารจัดการราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
สำหรับ มาตรการบรรเทาผลกระทบด้านไฟฟ้า เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชน โดยการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าของกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 500 หน่วยต่อเดือน เป็นเวลา 4 เดือน ตั้งแต่ค่าไฟฟ้าประจำเดือนกันยายน - ธันวาคม 2565 ดังนี้
(1) กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วย/เดือน ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง ให้ส่วนลดค่า Ft จำนวน 92.04 สตางค์/หน่วย
(2) กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าระหว่าง 301 - 350 หน่วย/เดือน ซึ่งเป็นคนชั้นกลาง ให้ส่วนลดจากการเพิ่มขึ้นของค่า Ft ร้อยละ 75 จำนวน 51.50 สตางค์/หน่วย
(3) กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าระหว่าง 351 - 400 หน่วย ให้ส่วนลดค่า Ft ร้อยละ 45 คือ จำนวน 30.90 สตางค์ต่อหน่วย/เดือน
(4) ผู้ใช้ไฟฟ้าระหว่าง 401 - 500 หน่วย ให้ส่วนลดค่า Ft ร้อยละ 15 คือ จำนวน 10.30 สตางค์/หน่วย คาดว่า จะใช้งบประมาณ 9,128.41 ล้่านบาท
“มาตรการบรรเทาผลกระทบหลายมาตรการจสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน นี้ ในขณะที่ แนวโน้มสถานการณ์ที่ราคาพลังงาน ทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต ราคาค่าไฟฟ้า รัฐบาลจึงตั้งใจจะช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชนทั่วไปและประชาชนที่มีรายได้น้อยอย่างต่อเนื่อง และผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมด้วย” นายอนุชา กล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น