นายจุติ กล่าวว่า ด้วยรัฐบาลให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมสำหรับสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ที่เป็นสังคมที่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุหรือประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เพิ่มจำนวนสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่สัดส่วนของอัตราการเกิดและจำนวนประชากรในวัยทำงานลดน้อยลง ในขณะที่ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด - 19 ได้ส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องกับประชาชนทุกช่วงวัยในวงกว้างทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จึงได้มีนโยบายสร้างอาชีพใหม่ภายหลังวิกฤตโควิด - 19 โดยวางแนวทางในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรผู้ดูแลผู้สูงอายุในอนาคต ด้วยการดำเนินโครงการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) 420 ชั่วโมง เพื่อผลักดันการสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุ และพัฒนาศักยภาพอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุให้มีความรู้ ความสามารถ ตามมาตรฐานสากลและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน อีกทั้งทำให้ผู้สูงอายุได้รับการคุ้มครองดูแลอย่างเหมาะสมและมีคุณภาพ
เมื่อวันที่ 18 ก.ย. 65 เวลา 10.00 น. นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การจัดอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ (CARE GIVER) 420 ชั่วโมง ระหว่างกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพิษณุโลก มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดพิษณุโลก และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก โดยมีนางอรนุช ชัยชาญ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพิษณุโลก กล่าวรายงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวง พม. และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมงาน ณ ห้อง 209 อาคารทีปวิชญ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก
นายจุติ กล่าวว่า ด้วยรัฐบาลให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมสำหรับสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ที่เป็นสังคมที่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุหรือประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เพิ่มจำนวนสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่สัดส่วนของอัตราการเกิดและจำนวนประชากรในวัยทำงานลดน้อยลง ในขณะที่ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด - 19 ได้ส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องกับประชาชนทุกช่วงวัยในวงกว้างทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จึงได้มีนโยบายสร้างอาชีพใหม่ภายหลังวิกฤตโควิด - 19 โดยวางแนวทางในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรผู้ดูแลผู้สูงอายุในอนาคต ด้วยการดำเนินโครงการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) 420 ชั่วโมง เพื่อผลักดันการสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุ และพัฒนาศักยภาพอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุให้มีความรู้ ความสามารถ ตามมาตรฐานสากลและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน อีกทั้งทำให้ผู้สูงอายุได้รับการคุ้มครองดูแลอย่างเหมาะสมและมีคุณภาพ
นายจุติ กล่าวเพิ่มเติมว่า วันนี้ กระทรวง พม. ต้องขอขอบคุณทุกภาคีเครือข่ายทั้งพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพิษณุโลก มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดพิษณุโลก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก โรงพยาบาลพิษณุเวช ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ สภากาชาดไทย โครงการพัฒนามหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (Thai MOOC) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) ที่ร่วมกันจัดทำหลักสูตรดังกล่าวให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีการขยายผลไปยังจังหวัดอื่นต่อไป
นายจุติ กล่าวว่า ด้วยรัฐบาลให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมสำหรับสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ที่เป็นสังคมที่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุหรือประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เพิ่มจำนวนสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่สัดส่วนของอัตราการเกิดและจำนวนประชากรในวัยทำงานลดน้อยลง ในขณะที่ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด - 19 ได้ส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องกับประชาชนทุกช่วงวัยในวงกว้างทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จึงได้มีนโยบายสร้างอาชีพใหม่ภายหลังวิกฤตโควิด - 19 โดยวางแนวทางในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรผู้ดูแลผู้สูงอายุในอนาคต ด้วยการดำเนินโครงการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) 420 ชั่วโมง เพื่อผลักดันการสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุ และพัฒนาศักยภาพอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุให้มีความรู้ ความสามารถ ตามมาตรฐานสากลและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน อีกทั้งทำให้ผู้สูงอายุได้รับการคุ้มครองดูแลอย่างเหมาะสมและมีคุณภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น