นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์ธุรกิจโลจิสติกส์ไทยในปี 2565 มีทิศทางการขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการเติบโตของการเปิดกิจการใหม่ โดยธุรกิจด้านการบริหารจัดการขนส่งและคลังสินค้ามีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มเติบโตที่ดีในช่วงครึ่งปีหลัง ปัจจัยส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันการเพิ่มการลงทุนในธุรกิจโลจิสติกส์ คือความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership) ที่จะช่วยหนุนการเติบโตของธุรกิจโลจิสติกส์
ดังนั้นทกท. จึงจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยใช้กลยุทธ์ Digital Marketing อย่างจริงจัง การนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วย เพื่อให้เข้าถึงลูกค้ามากยิ่งขึ้น นำข้อมูลดิจิทัลมาใช้ในการบริหารงานด้านโลจิสติกส์ เพื่อยกระดับการดำเนินธุรกิจด้วยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลออนไลน์ที่เกิดขึ้นทุกวัน พร้อมทั้งปรับปรุงธุรกิจและการให้บริการให้ทันต่อสภาวะการณ์ตลาดสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภค และนำไปสู่การตัดสินใจที่แม่นยำมากขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการได้มองเห็นภาพรวมของห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ต้นทางการผลิต ไปจนถึงปลายทางการจัดส่งสินค้า ทำให้สามารถตรวจสอบสถานะสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง และนำข้อมูลไปใช้เพื่อวางแผนการทำงานล่วงหน้า เมื่อทุกอย่างสามารถเข้าถึงได้ผ่านทางออนไลน์ จึงเพิ่มความสะดวกสบายและรวดเร็วมากขึ้นด้วย เนื่องจากโลจิสติกส์มีความสำคัญกับธุรกิจออนไลน์มาก ตั้งแต่ธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก และธุรกิจ SME เพราะทุกขั้นตอนของการดำเนินธุรกิจ E- commerce นั้น จะต้องมีการติดต่อ ขนส่งและเคลื่อนย้ายอยู่ในทุกขั้นตอนของการทำงาน ทำให้ตลาด E- commerce และโลจิสติกส์ต้องมีการพัฒนาและเติบโตไปพร้อมๆ กันเสมอด้วยเหตุนี้ทำให้ ทกท. ในฐานะศูนย์กลางการเชื่อมโยงสินค้าระหว่างผู้บริโภค และตลาดการค้าทั่วโลกจึงได้นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้บริหารจัดการดำเนินงาน เพื่อให้เป็นท่าเรือแม่น้ำที่ได้มาตรฐานสากลและรองรับโครงข่ายการเชื่อมโยงด้านโลจิสติกส์ในระดับนานาชาติ ส่งเสริมการค้าและการลงทุน ทำให้ภาพลักษณ์ของ ทกท. มีความทันสมัยมากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง จึงดำเนินการเปิดตัวโครงการ Bangkok Port Center ในรูปแบบจำลอง Virtual Port ภายใต้คอนเซ็ปต์ "ชีวิตดีๆ เริ่มที่ท่าเรือกรุงเทพ" เพื่อเพิ่มช่องทางการสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว และเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ธุรกิจและบริการ ทกท. สร้างการรับรู้ต่อสาธารณชน โดยจุดเริ่มต้นจากการจัดทำเว็บไซต์ เพื่อการแข่งขันด้านการตลาดออนไลน์ ตามด้วยการมีเครื่องมือการตลาดออนไลน์ (Digital Marketing) เพื่อความได้เปรียบทางธุรกิจ อาทิ Facebook , YouTube โดยใช้รูปแบบการสื่อสารสองทาง (Two-Way Communication) เพื่อให้เข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายหลักที่ทำรายได้ให้แก่ ทกท. โดยตรง และขยายฐานลูกค้ากลุ่มต่างๆ มากขึ้น เพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุน อาทิ ธุรกิจ SME ธุรกิจ E Commerce และกลุ่มธุรกิจ Start Up
อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูล (Big Data) ด้วยระบบการจัดเก็บข้อมูลกลุ่มลูกค้าสมาชิก (Member) และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานต่างๆ ได้อัตโนมัติแบบไร้รอยต่อ อาทิ การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างภาครัฐกับภาครัฐ (G2G) ภาคธุรกิจกับภาครัฐ (B2G) และภาคธุรกิจกับภาคธุรกิจ (B2B) ต่อยอดสู่การเป็นฐานข้อมูลด้านการขนส่งของท่าเรือ ให้เป็นข้อมูลกลางครอบคลุมซัพพลายเชนในระบบทั้งหมด อาทิ ผู้ขนส่งสินค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องด้านการขนส่งโลจิสติกส์ พันธมิตร ทกท. พร้อมสนับสนุนธุรกิจและบริการของลูกค้าและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกลุ่มร้านค้าต่าง ๆ ทั้งสายเรือ FFW ผู้นำเข้า-ส่งออก และกลุ่มร้านค้าในเขตคลองเตยได้มีพื้นที่เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ฟรี ส่งผลให้เป็นการเพิ่มรายได้ธุรกิจของลูกค้าและ ทกท. อีกช่องทางหนึ่ง ซึ่งจะสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และ positioning ของ ทกท. ให้เป็น ท่าเรือแม่น้ำที่ได้มาตรฐานสากล สร้างมูลค่าเพิ่ม ช่วยส่งเสริมการค้าและการลงทุน พร้อมสนับสนุนธุรกิจ SME อีกด้วย
ทั้งหมดนี้ถือเป็นการพัฒนาขีดความสามารถการดำเนินงานให้กับองค์กร พร้อมรองรับธุรกิจออนไลน์ที่มีการเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั่วทุกมุมโลก เช่น e-Marketplace , e-Learning , e-Training เป็นต้น ทั้งนี้ ทกท. ได้พัฒนาระบบการให้บริการลูกค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างต่อเนื่องไปพร้อม ๆ กัน ได้แก่
· ระบบให้บริการอิเล็กทรอนิกส์แบบเบ็ดเสร็จ (One Stop e-Port Service) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ โดยเพิ่มช่องทางการยื่นแบบคำร้องขอใช้บริการด้านเรือ สินค้า ตู้สินค้า และเครื่องมือทุ่นแรง และการชำระเงินค่าภาระผ่านระบบ e-Payment ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าสามารถ ลดขั้นตอน ระยะเวลา ค่าใช้จ่าย และ ลดความเสี่ยงการสัมผัสติดเชื้อ COVID-19 ในการเดินทางมาติดต่อขอใช้บริการที่ ทกท. ทั้งนี้ การทำธุรกรรมด้วยระบบดังกล่าว มีความปลอดภัย และสอดคล้องตาม พรบ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2554 ซึ่งลูกค้าสามารถเข้าใช้บริการผ่านเว็บไซต์ http://www.e-service.port.co.th/EPort/memberlogin.xhtml
· แอปพลิเคชั่น “BKP iService” เพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบสถานะการบรรทุกขนถ่ายตู้สินค้าได้ตลอดเวลาจากทุกสถานที่ การประมวลผลข้อมูลมีความถูกต้อง แม่นยำ
นอกจากนี้ภายในงานเปิดตัวโครงการ Bangkok Port Center ยังมีการเปิดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ ระดมความคิดเห็น ภายใต้หัวข้อ “วิเคราะห์สถานการณ์และเทรนด์เทคโนโลยีโลจิสติกส์ในอนาคต” นำโดย คุณชวนินทร์ บัณฑิตกฤษดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน), คุณโสภณ ราชรักษา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ อินดัสเทรียล (ประเทศไทย) และ คุณพรชัย หอมชื่น ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ร่วมเสวนาและให้ความรู้ร่วมกัน ณ ห้องจูเนียร์บอลรูม โรงแรมพูลแมน กรุงเทพฯ แกรนด์ สุขุมวิท
ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bangkokportcenter.com/ หรือช่องทางเฟสบุ๊ค https://web.facebook.com/BangkokPortCenter?_rdc=1&_rdr
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น