เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2565 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงภายหลังการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ ที่มีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะรักษาการนายกรัฐมนตรี เป็นประธานว่า สำหรับเนื้อหาสาระของการประชุมในวันนี้มีประมาณ 3-4ประเด็น
ประเด็นแรกคือเรื่องของความเหมาะสมของการยยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในที่ประชุมได้รับทราบการรายงานจากเลขาฯสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.)ว่า ขณะนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดในภาพรวมของโลกดีขึ้น ผู้ติดเชื้อรายใหม่รวมถึงผู้เสียชีวิตมีจำนวนลดลง ปัจจุบันประชาชนและผู้ประกอบการสามารถดำเนินชีวิตและขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและทางสังคมเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
โดยกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ปรับให้โควิด-19 จากโรคติดต่ออันตรายมาเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง และได้จัดทำกรอบนโยบาย แนวปฏิบัติของภาครัฐและเอกชน ประชาชน ภายหลังจากโรคโควิด-19 ได้ปรับเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ซึ่งได้ดำเนินการต่อเนื่องกันมา ตั้งแต่ที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะผอ.ศบค.ได้วางแนวทางการดำเนินการต่อเนื่องกันมาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งที่ผ่านมาทุกอย่างก็เป็นไปตามการคาดการณ์ที่เกิดขึ้น
ดังนั้นวนวันเดียวกันนี้ มติที่ประชุมได้ให้มีการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักรในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ที่เคยมีการลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 และการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร(คราวที่ 19) ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 รวมทั้งบรรดาข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีและครม.ใช้อำนาจแห่งการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั้งหมด โดยให้มีผลวันที่ 30 กันยายน 2565 เป็นต้นไป
“นั่นหมายความว่า เราไม่ได้ขยายระยะเวลาอีกแล้ว ก็จะสิ้นสุดกันในวันที่ 30 กันยายนนี้เป็นต้นไป ถือเป็นการสิ้นสุด ศบค.” นพ.ทวีศิลป์กล่าว
เตือนปี 2565-2566 ยังมีผู้ป่วยใหม่แบบ small wave
สำหรับเหตุผลที่ทางกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เสนอยกเลิกเพราะอัตราผู้ป่วยและเสียชีวิตลดลง โดยวันนี้ ตัวเลขผู้ป่วยรายใหม่ (รักษาตัวใน รพ.) จำนวน 752 ราย ไม่ถึงพันราย วันนี้มีผู้เสียชีวิตต่ำกว่า10 ราย โดยเสียชีวิต 9 คน ขณะที่แนวโน้มของทั่วโลกก็ลดลง
ส่วนอัตราการใช้เตียงลดน้อยเหลือแค่ 8.3% ลดลงจาก 10 .9% เมื่อเดือนกรกฎาคม เดือนสิงหาคมดลงเหลือ 15.8% จะเห็นได้ว่าอัตราการใช้เตียงลดน้อยลงเรื่อยๆ เช่นเดียวกับผู้ป่วยรายใหม่กับใส่ท่อช่วยหายใจ รวมทั้งผู้เสียชีวิตก็ลดลงต่ำกว่าเส้นคาดการณ์
สำหรับการคาดการณ์หลังจากนี้ทางกระทรวงสาธารณสุขมีการคาดการณ์ว่า หลังจากนี้จะเกิดอะไรขึ้น โดยผู้ป่วยรายใหม่ในปี 2565-2566 จะมี small wave หรือคลื่นลูกเล็กๆที่อาจจะไต่ขึ้นบ้างหรือลดลงบ้าง ซึ่งตรงนี้ต้องขอพลังพี่น้องประชาชน ยังมีความจำเป็น และขอความร่วมมือสำหรับมาตรการป้องกันส่วนบุคคล DMHTT อยู่ห่างกันไว้ ใส่หน้ากากอนามัย หน้ากากผ้า เพื่อทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตลดลง และต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งประชาชนสามารถให้ความร่วมไม้ร่วมมือกันได้
เปิดประเทศ โกยรายได้ท่องเที่ยวเกือบ 6.5 แสนล้าน
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวต่อว่า ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาที่นำเสนอชุดข้อมูลการฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาคของการท่องเที่ยวในประเทศไทยล่าสุดเพิ่มขึ้นมาเป็น 5,257,196 คน จากปี 2564 ที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเพียง 427,869 กว่า คน และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม -21 กันยายน 2565 มีรายได้จากนักท่องเที่ยวแล้ว 211,974 ล้านบาทแล้ว
“นี่คือสิ่งที่เราภาคภูมิใจ ถ้ามาดูด่านทางบกเราก็เปิดแล้ว ด่านทางอากาศเราก็เปิดแล้ว โดยประเทศที่มาท่องเที่ยวมากที่สุด คือ มาเลเซีย 6 แสนกว่าคน รองลงมาเป็นอินเดีย 5 แสนกว่าคน และสิงคโปร์มาเป็นอันดับสาม 2.85 แสนคน จะเห็นได้ว่าทางอากาศเข้ามาเยอะกว่าทางบก 80:20
ส่วนโครงการไทยเที่ยวไทย ที่คนไทยเราเที่ยวกันเองก็สามารถช่วยให้มีรายได้เข้ามา 432,889 ล้านบาท ตอนนี้รวมรายได้ทั้งหมดจากการท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติแล้ว 600,000 กว่าล้านบาท โดยสัดส่วนคนไทยเที่ยวกันเอง 67% คาดเป็นรายได้จากการท่องเที่ยว 432,889 ล้านบาท ส่วนชาวต่างชาติเข้ามาเที่ยวไทย 37% คิดเป็นรายได้ 211,974 ล้านบาท
รวมรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งหมดตั้งแต่ 1 มกราคมถึง 21 กันยายน 2565 รวม 644,863 ล้านบาท ซึ่งหลังจากนี้จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะมีเพิ่มเข้ามามากขึ้น
ส่วนแผนปฏิบัติการ แผนการดำเนินงาน หลังจากไม่มีศบค. แล้ว แผนจะเป็นอย่างไร ทางนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จะเป็นผู้มาดูแลในฐานะผู้กำกับกำกับดูแลกระทรวงสาธารณสุข ก็จะ จะใช้พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ซึ่งในแผนต่างๆเหล่านี้ก็ได้เห็นชอบแผนดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งตอนนี้เราอยู่ที่กรอบสีเขียว อัตราการป่วยตายน้อยกว่า 0.1% อัตราการครองเตียง อยู่ที่ 11-24%
“ต้องเน้นย้ำว่าเตียงที่อยู่ในระบบสาธารณสุขมีเป็นแสนเตียง เพราะฉนั้นตอนนี้ยังถือว่าระบบสาธารณสุขของไทยเรารองรับได้ และหากมีการเพิ่มขึ้นก็จะมีเกณฑ์ มีมาตรวัตรต่างๆ โดยมีหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องจะรับไปดูแล”
กางยุทธศาสตร์ 4 ด้าน ส่งไม้ต่อให้สธ.ดูแล
ขณะที่ยุทธศาสตร์ที่จะดูแลหลังจากนี้ไปจะประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการป้องกัน เฝ้าระวัง และควบคุมโรค
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
ยุทธศษสตร์ที่ 3 ด้านการสื่อสารความเสี่ยง ประชาสัมพันธ์ และข้อมูลสารสนเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านบริหารจัดการ กฎหมาย สังคมและเศรษฐกิจ (ดูตารางประกอบ)
ทั้ง 4 ยุทธศาสตร์จะมีหน่วยงานต่างๆเข้ามาดูแลในช่วงที่เราปรับเปลี่ยนเป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวัง รวมทั้งมีคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ รวมถึงคณะผู้เชี่ยวชาญเข้ามาดูแลเพิ่มเติมซึ่งเรามีคณะเหล่านี้อยู่แล้ว เช่น เรื่องของวัคซีน ซึ่งจะไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับประชาชน เรื่องของการเฝ้าระวังเหตุการณ์ จะมีคณะอนุกรรมการต่างๆเหล่านี้เข้ามาดูแล เป็นต้น
โครงสร้างดำเนินงานในระยะสิ้นสุด พรก. ฉุกเฉินฯ1.คำแนะนำการใช้วัคซีน
-คณะกรรมการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค
2.การจัดหาและกระจายวัคซีน
-คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติฯภายใต้พระราชบัญญัติความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2561
-คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติและแต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาและกระจายวัคซีนโควิด 19
3.การเฝ้าระวังเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์
-คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญพิจารณาเฝ้าระวังเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับภูมิคุ้มกันโรค
นอกจากนี้ยังมีอีก 3 เรื่องที่สำคัญหลังจากนี้คือ1.เรื่องของแผนประชาสัมพันธ์ให้โรคโควิด-19 สู่ Post-Pandemic โดยกรมประชาสัมพัฯธ์
2.ความก้าวหน้าในการวิจัยวัคซีนโควิด-19 จากทางกระทรวงอุดมศึกษาฯ
3.การจัดทำจดหมายเหตุและการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 19 ในประเทศไทยโดยรมว.กระทรวงวัฒนธรรม
รวมถึงการประมวลผลสัมฤทธิ์ การปฏิบัติงานป้องกันในศูนย์โควิดต่างๆ ซึ่งมีเลขาฯสมช. เป็นผู้นำเสนอในที่ประชุม ซึ่งที่ประชุมก็ได้รับทราบ
“สุดท้ายทางพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้ขอบพระคุณส่วนของภาครัฐต่างๆ ในแผนปฏิบัติการต่างๆซึ่งมีศูนย์ปฏิบัติการถึง 10 ศูนย์ และศปก.ศบค. ก็ต้องขอขอบพระคุณพี่น้องประชาชน ผู้ประกอบการ ภาคเอกชน ที่ได้ให้ความ ร่วมใจ ร่วมมือ ในการทำงาน และภาครัฐทางภาคส่วนก็ได้ทำงานกันอย่างเข้มแข็ง ทำให้เราได้ผ่านพ้นสถานการณ์ที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อนอย่างนี้ในระดับโลกและได้รับความชื่นชมในระดับโลก” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว และว่า
การเปลี่ยนผ่านในช่วงของการที่จะไปสู่การเป็นโรคเฝ้าระวัง ทางศบค.ชุดใหญ่ ซึ่งดำเนินงานาตั้งแต่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ท่านก็ได้วางแผนมา และทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่เกิดขึ้น ซึ่งทางพลเอกประวิตรก็ได้กล่าวขอบพระคุณในท่ประชุมในทุกๆอย่างที่เกิดขึ้น และขอให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีการดำเนินงานในงานต่างๆตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ให้เกิดความเรียบร้อยต่อไป
“ผมเองในนามของโฆษก ศบค.ต้องขอกราบขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างสูงในการทำงานที่ผ่านมา และขอให้พวกเราได้ดูแลสุขภาพเพื่อที่จะได้มีชีวิตกลับไปอยู่ในในภาคปกติอย่างที่เราเคยเป็นมา” นพ.ทวีศิลป์ กล่าวในตอนท้าย
สำหรับเหตุผลที่ทางกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เสนอยกเลิกเพราะอัตราผู้ป่วยและเสียชีวิตลดลง โดยวันนี้ ตัวเลขผู้ป่วยรายใหม่ (รักษาตัวใน รพ.) จำนวน 752 ราย ไม่ถึงพันราย วันนี้มีผู้เสียชีวิตต่ำกว่า10 ราย โดยเสียชีวิต 9 คน ขณะที่แนวโน้มของทั่วโลกก็ลดลง
ส่วนอัตราการใช้เตียงลดน้อยเหลือแค่ 8.3% ลดลงจาก 10 .9% เมื่อเดือนกรกฎาคม เดือนสิงหาคมดลงเหลือ 15.8% จะเห็นได้ว่าอัตราการใช้เตียงลดน้อยลงเรื่อยๆ เช่นเดียวกับผู้ป่วยรายใหม่กับใส่ท่อช่วยหายใจ รวมทั้งผู้เสียชีวิตก็ลดลงต่ำกว่าเส้นคาดการณ์
สำหรับการคาดการณ์หลังจากนี้ทางกระทรวงสาธารณสุขมีการคาดการณ์ว่า หลังจากนี้จะเกิดอะไรขึ้น โดยผู้ป่วยรายใหม่ในปี 2565-2566 จะมี small wave หรือคลื่นลูกเล็กๆที่อาจจะไต่ขึ้นบ้างหรือลดลงบ้าง ซึ่งตรงนี้ต้องขอพลังพี่น้องประชาชน ยังมีความจำเป็น และขอความร่วมมือสำหรับมาตรการป้องกันส่วนบุคคล DMHTT อยู่ห่างกันไว้ ใส่หน้ากากอนามัย หน้ากากผ้า เพื่อทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตลดลง และต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งประชาชนสามารถให้ความร่วมไม้ร่วมมือกันได้
เปิดประเทศ โกยรายได้ท่องเที่ยวเกือบ 6.5 แสนล้าน
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวต่อว่า ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาที่นำเสนอชุดข้อมูลการฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาคของการท่องเที่ยวในประเทศไทยล่าสุดเพิ่มขึ้นมาเป็น 5,257,196 คน จากปี 2564 ที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเพียง 427,869 กว่า คน และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม -21 กันยายน 2565 มีรายได้จากนักท่องเที่ยวแล้ว 211,974 ล้านบาทแล้ว
“นี่คือสิ่งที่เราภาคภูมิใจ ถ้ามาดูด่านทางบกเราก็เปิดแล้ว ด่านทางอากาศเราก็เปิดแล้ว โดยประเทศที่มาท่องเที่ยวมากที่สุด คือ มาเลเซีย 6 แสนกว่าคน รองลงมาเป็นอินเดีย 5 แสนกว่าคน และสิงคโปร์มาเป็นอันดับสาม 2.85 แสนคน จะเห็นได้ว่าทางอากาศเข้ามาเยอะกว่าทางบก 80:20
ส่วนโครงการไทยเที่ยวไทย ที่คนไทยเราเที่ยวกันเองก็สามารถช่วยให้มีรายได้เข้ามา 432,889 ล้านบาท ตอนนี้รวมรายได้ทั้งหมดจากการท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติแล้ว 600,000 กว่าล้านบาท โดยสัดส่วนคนไทยเที่ยวกันเอง 67% คาดเป็นรายได้จากการท่องเที่ยว 432,889 ล้านบาท ส่วนชาวต่างชาติเข้ามาเที่ยวไทย 37% คิดเป็นรายได้ 211,974 ล้านบาท
รวมรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งหมดตั้งแต่ 1 มกราคมถึง 21 กันยายน 2565 รวม 644,863 ล้านบาท ซึ่งหลังจากนี้จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะมีเพิ่มเข้ามามากขึ้น
ส่วนแผนปฏิบัติการ แผนการดำเนินงาน หลังจากไม่มีศบค. แล้ว แผนจะเป็นอย่างไร ทางนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จะเป็นผู้มาดูแลในฐานะผู้กำกับกำกับดูแลกระทรวงสาธารณสุข ก็จะ จะใช้พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ซึ่งในแผนต่างๆเหล่านี้ก็ได้เห็นชอบแผนดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งตอนนี้เราอยู่ที่กรอบสีเขียว อัตราการป่วยตายน้อยกว่า 0.1% อัตราการครองเตียง อยู่ที่ 11-24%
“ต้องเน้นย้ำว่าเตียงที่อยู่ในระบบสาธารณสุขมีเป็นแสนเตียง เพราะฉนั้นตอนนี้ยังถือว่าระบบสาธารณสุขของไทยเรารองรับได้ และหากมีการเพิ่มขึ้นก็จะมีเกณฑ์ มีมาตรวัตรต่างๆ โดยมีหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องจะรับไปดูแล”
กางยุทธศาสตร์ 4 ด้าน ส่งไม้ต่อให้สธ.ดูแล
ขณะที่ยุทธศาสตร์ที่จะดูแลหลังจากนี้ไปจะประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการป้องกัน เฝ้าระวัง และควบคุมโรค
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
ยุทธศษสตร์ที่ 3 ด้านการสื่อสารความเสี่ยง ประชาสัมพันธ์ และข้อมูลสารสนเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านบริหารจัดการ กฎหมาย สังคมและเศรษฐกิจ (ดูตารางประกอบ)
ทั้ง 4 ยุทธศาสตร์จะมีหน่วยงานต่างๆเข้ามาดูแลในช่วงที่เราปรับเปลี่ยนเป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวัง รวมทั้งมีคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ รวมถึงคณะผู้เชี่ยวชาญเข้ามาดูแลเพิ่มเติมซึ่งเรามีคณะเหล่านี้อยู่แล้ว เช่น เรื่องของวัคซีน ซึ่งจะไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับประชาชน เรื่องของการเฝ้าระวังเหตุการณ์ จะมีคณะอนุกรรมการต่างๆเหล่านี้เข้ามาดูแล เป็นต้น
โครงสร้างดำเนินงานในระยะสิ้นสุด พรก. ฉุกเฉินฯ1.คำแนะนำการใช้วัคซีน
-คณะกรรมการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค
2.การจัดหาและกระจายวัคซีน
-คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติฯภายใต้พระราชบัญญัติความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2561
-คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติและแต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาและกระจายวัคซีนโควิด 19
3.การเฝ้าระวังเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์
-คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญพิจารณาเฝ้าระวังเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับภูมิคุ้มกันโรค
นอกจากนี้ยังมีอีก 3 เรื่องที่สำคัญหลังจากนี้คือ1.เรื่องของแผนประชาสัมพันธ์ให้โรคโควิด-19 สู่ Post-Pandemic โดยกรมประชาสัมพัฯธ์
2.ความก้าวหน้าในการวิจัยวัคซีนโควิด-19 จากทางกระทรวงอุดมศึกษาฯ
3.การจัดทำจดหมายเหตุและการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 19 ในประเทศไทยโดยรมว.กระทรวงวัฒนธรรม
รวมถึงการประมวลผลสัมฤทธิ์ การปฏิบัติงานป้องกันในศูนย์โควิดต่างๆ ซึ่งมีเลขาฯสมช. เป็นผู้นำเสนอในที่ประชุม ซึ่งที่ประชุมก็ได้รับทราบ
“สุดท้ายทางพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้ขอบพระคุณส่วนของภาครัฐต่างๆ ในแผนปฏิบัติการต่างๆซึ่งมีศูนย์ปฏิบัติการถึง 10 ศูนย์ และศปก.ศบค. ก็ต้องขอขอบพระคุณพี่น้องประชาชน ผู้ประกอบการ ภาคเอกชน ที่ได้ให้ความ ร่วมใจ ร่วมมือ ในการทำงาน และภาครัฐทางภาคส่วนก็ได้ทำงานกันอย่างเข้มแข็ง ทำให้เราได้ผ่านพ้นสถานการณ์ที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อนอย่างนี้ในระดับโลกและได้รับความชื่นชมในระดับโลก” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว และว่า
การเปลี่ยนผ่านในช่วงของการที่จะไปสู่การเป็นโรคเฝ้าระวัง ทางศบค.ชุดใหญ่ ซึ่งดำเนินงานาตั้งแต่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ท่านก็ได้วางแผนมา และทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่เกิดขึ้น ซึ่งทางพลเอกประวิตรก็ได้กล่าวขอบพระคุณในท่ประชุมในทุกๆอย่างที่เกิดขึ้น และขอให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีการดำเนินงานในงานต่างๆตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ให้เกิดความเรียบร้อยต่อไป
“ผมเองในนามของโฆษก ศบค.ต้องขอกราบขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างสูงในการทำงานที่ผ่านมา และขอให้พวกเราได้ดูแลสุขภาพเพื่อที่จะได้มีชีวิตกลับไปอยู่ในในภาคปกติอย่างที่เราเคยเป็นมา” นพ.ทวีศิลป์ กล่าวในตอนท้าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น