นายอนุกูล กล่าวต่อไปว่า ในปีนี้ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) ได้รับ 3 รางวัล ประกอบด้วย
1. รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ PMQA รายหมวด (หมวด 3 ด้านการมุ่งเน้นผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) ดำเนินการด้านการมุ่งเน้นผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่มีความโดดเด่น ภายใต้แนวคิด 4R R1 : Receive Feedback ค้นหาความต้องการและความคาดหวังของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ทุกช่องทาง R2 : Review Feedback ทบทวนข้อมูลเสียงสะท้อนด้านความต้องการ/ความคาดหวัง ข้อมูลด้านความพึงพอใจ ไม่พึงพอใจ ข้อมูลการร้องเรียน ร้องทุกข์มาวิเคราะห์ ทบทวน นำไปสู่การจัดการความรู้ (Knowledge management) R3 : Respond to Feedback ตอบสนองความต้องการเชิงรุก ออกแบบบริการตามแนวคิด Design Thinking R4 : Relationship Building สร้างความผูกพัน โดยพัฒนาระบบการให้บริการในรูปแบบดิจิทัลที่ง่ายต่อการใช้งานและสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา
2. รางวัลบริการภาครัฐ ประเภทขยายผลมาตรฐานการบริการ คือ ผลงาน “การยกระดับกระบวนการจ่ายเงินอุดหนุนในรูปแบบ e-Service ทั้งระบบ” ปรับปรุงกระบวนการทุกขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบ (end to end Process) โดยใช้แนวคิดการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ได้แก่ การพัฒนาระบบการยื่นขอรับเงินอุดหนุนออนไลน์ (e-Form) เพื่ออำนวยความสะดวกลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน การตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยพัฒนาระบบฐานข้อมูล Social Match เพื่อใช้เป็นข้อมูลตั้งต้นในการตรวจสอบข้อเท็จจริง และการวางแผนการช่วยเหลือ
รวมทั้งการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร (กรมการปกครอง) ผ่านเครื่อง Smart Card Reader อีกทั้งมีระบบงานบริการทางสังคม (OSS) เพื่อตรวจสอบการจัดสวัสดิการซ้ำซ้อน การจ่ายเงินอุดหนุนผ่านระบบ Krungthai Corporate online เข้าบัญชีของผู้รับบริการโดยตรง และมี SMS แจ้งเตือน นอกจากนี้ ได้พัฒนาระบบตรวจสอบสถานะการขอรับเงินอุดหนุนออนไลน์ (e-Tracking) เพื่อติดตามสถานะการขอรับเงินอุดหนุนได้ทุกที่ ทุกเวลา (Real time)
ทั้งนี้ พส. ได้ขยายผลการยกระดับกระบวนการจ่ายเงินอุดหนุน ไปยังศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ทั้ง 77 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการสวัสดิการได้อย่างสะดวก (Easier) รวดเร็ว (Faster) และประหยัด (Cheaper)
และ 3. รางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทสัมฤทธิผลประชาชนมีส่วนร่วม คือ ผลงาน “โคราชโมเดล เราไม่ทิ้งกัน” บูรณาการความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาคนไร้บ้าน โดยสร้างการรับรู้และความรู้เกี่ยวกับปัญหาคนไร้บ้าน (Knowing) ให้ทุกภาคส่วนทั่วทั้งจังหวัดตระหนักถึงความสำคัญ
ซึ่งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ใช้เป็นกรอบในการปฏิบัติงานร่วมกัน (Operation) เสริมพลังภาคประชาชนให้ลุกขึ้นมาแก้ปัญหาของตนเอง (Re-construction) อีกทั้งการปรับวิธีการทำงานจากเดิมแต่ละหน่วยงานทำงานตามภารกิจของตนเอง ต่างคนต่างทำ เป็นการประสานความร่วมมือให้เป็นเนื้องานเดียวกันตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการให้บริการ (Alliance) จนนำไปสู่การแก้ปัญหาที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในทุกขั้นตอน การยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยการนำข้อมูล สภาพปัญหา ความต้องการจำเป็น การร่วมตัดสินใจของคนไร้บ้าน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มาเป็นฐานในการออกแบบบริการเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะรายบุคคล ซึ่งส่งผลให้คนไร้บ้านเข้าถึงสวัสดิการ มีศักยภาพเพิ่มขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้ และเกิดความไว้วางใจและความเชื่อมั่น (Trust)
และ 3. รางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทสัมฤทธิผลประชาชนมีส่วนร่วม คือ ผลงาน “โคราชโมเดล เราไม่ทิ้งกัน” บูรณาการความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาคนไร้บ้าน โดยสร้างการรับรู้และความรู้เกี่ยวกับปัญหาคนไร้บ้าน (Knowing) ให้ทุกภาคส่วนทั่วทั้งจังหวัดตระหนักถึงความสำคัญ
ซึ่งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ใช้เป็นกรอบในการปฏิบัติงานร่วมกัน (Operation) เสริมพลังภาคประชาชนให้ลุกขึ้นมาแก้ปัญหาของตนเอง (Re-construction) อีกทั้งการปรับวิธีการทำงานจากเดิมแต่ละหน่วยงานทำงานตามภารกิจของตนเอง ต่างคนต่างทำ เป็นการประสานความร่วมมือให้เป็นเนื้องานเดียวกันตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการให้บริการ (Alliance) จนนำไปสู่การแก้ปัญหาที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในทุกขั้นตอน การยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยการนำข้อมูล สภาพปัญหา ความต้องการจำเป็น การร่วมตัดสินใจของคนไร้บ้าน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มาเป็นฐานในการออกแบบบริการเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะรายบุคคล ซึ่งส่งผลให้คนไร้บ้านเข้าถึงสวัสดิการ มีศักยภาพเพิ่มขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้ และเกิดความไว้วางใจและความเชื่อมั่น (Trust)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น