ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กล่าวถึงบทบาทและการขับเคลื่อนระบบบริการปฐมภูมิ และการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า ไม่มีเวลาไหนที่เหมาะเท่าเวลานี้กับการปฏิรูปเรื่องสาธารณสุข เรามีบทเรียนที่สำคัญมากจากเรื่องโควิด-19 กรุงเทพมหานครมีบทเรียนที่หนักมาก ตรงกับ 2 เรื่องสำคัญ คือ การบูรณาการด้านข้อมูลและเรื่องทรัพยากร กรุงเทพมหานครมีเตียงมาก สุดท้ายแล้วการจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ยังมีปัญหา การร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานเราอาจจะเป็นจังหวัดที่ไม่มีสาธารณะสุขจังหวัด ไม่มีคนที่สั่งการทั้งจังหวัดได้ แต่ละส่วนมีหน้าที่ดูแลตัวเอง กรุงเทพมหานครมีเตียงอยู่แค่ 11% ของเตียงทั้งหมดในกรุงเทพฯ เรื่องแรกก็คือเรื่องการบูรณาการด้านข้อมูลความร่วมมือ เรื่องที่สองเรื่องปฐมภูมิเป็นจุดอ่อนของกรุงเทพมหานคร เราไม่มีหน่วยปะทะ หน่วยหน้า จะเห็นได้ว่าเรามีแต่หน่วยปะทะหลักก็คือศูนย์บริการสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีอยู่ 69 แห่ง ถามว่ารับไหวไหม อย่างศูนย์บริการสาธารณสุข 41 คลองเตย มีบุคลากรอยู่ 82 คน ดูแลประชากรในคลองเตยประมาณ 1 แสนคน ไม่มีทางรับไหว พอปฐมภูมิอ่อนแอ ทุกอย่างไหลไปที่ทุติยภูมิ ตติยภูมิหมด เมื่อคนไม่มาศูนย์บริการสาธารณสุขแต่ไปที่โรงพยาบาลหลัก โรงพยาบาลหลักก็แน่นเพราะคนไม่ไว้ใจปฐมภูมิ การแก้ไขปฐมภูมิเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ที่จะแก้ไขปัญหาของระบบสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร
จริง ๆ แล้วกรุงเทพมหานครไม่สามารถทำคนเดียวได้ เพราะมันต้องมีทั้งเทคโนโลยี ทั้งข้อมูลต่าง ๆ เป็นมิติที่ดีที่ทุกคนมาร่วมมือกัน ต่างจังหวัดมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ส่วนกรุงเทพมหานครมีอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) ในอัตราส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับต่างจังหวัด ต้องเพิ่ม อสส. มากขึ้น และกรุงเทพมหานครจะมีอีกส่วนหนึ่งที่มาเป็นบทบาทสำคัญ คือ อาสาสมัครเทคโนโลยี (อสท.) ประจำชุมชน ถ้าลองไปดู อสส. จะเป็นผู้สูงอายุเยอะ ไม่ค่อยเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี อสท. เป็นเด็กรุ่นใหม่ในชุมชนที่ใช้เทคโนโลยีเป็น สามารถเข้าใจการใช้ Application แล้วไปสอนคนในชุมชนให้เข้าใจการเข้าถึง Telemedicine การใช้ Application การเอาข้อมูลอัพเดทมาถึงส่วนกลางก็จะทำให้ภาพรวมของการดูแลปฐมภูมิเข้มข้น วันนี้เป็นมิติที่ดีมาก ๆ ที่ทุกคนมาร่วมมือกัน การจัดงานในวันนี้ ผมคิดว่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับคุณภาพชีวิตของคนทั้งประเทศได้อย่างชัดเจน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวเพิ่มเติมว่า ตอนทำนโยบายของ กทม. ได้มีการศึกษาแนวคิดของนักการปฏิรูปเรื่องสาธารณสุข ซึ่งเห็นตรงกันว่านโยบาย 216 ข้อ เรื่องสาธารณะสุขสอดคล้องกับแนวคิดของ ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.อุดม คชินทร ประธานกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการสาธารณสุข ทั้งสิ้น คือเน้นเรื่องเส้นเลือดฝอยปฐมภูมิ เพราะเชื่อว่า กทม. ไม่มีหน้าที่ไปสร้างเตียงอีกจำนวนมาก สร้างปฐมภูมิให้ดีแล้วเชื่อว่าการใช้เตียงทุกเตียงทุติยภูมิ ตติยภูมิคงจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นนโยบายที่ดูแลเส้นเลือดฝอยปรับปรุงสาธารณะสุข ใช้เทคโนโลยี Telemedicine มาช่วยในการเข้าถึงชุมชน ดีใจที่จะพัฒนาและมีแนวร่วมมากขึ้น กรุงเทพมหานครทำ Sandbox 2 ที่ คือ ที่ดุสิต กับ ที่ราชพิพัฒน์
Sandbox คือ แบบทดลอง กรุงเทพมหานครแบ่งเขตสาธารณสุขออกเป็น 6 โซน แล้วทำแต่ละโซนโดยทดสอบก่อน ถ้ามันมีความสำเร็จเอาขยายไปที่อื่นได้ Sandbox ต้องมีตั้งแต่โรงพยาบาลที่แม่ข่ายสามารถดูแลเคสที่หนัก Complicate (ซับซ้อน) ได้ อาจใช้วชิรพยาบาลเป็นตัวแม่ ศูนย์บริการสาธารณสุขเป็นปฐมภูมิลำดับแรก แล้วก็จะมีเครือข่ายคลีนิค ชุมชนอบอุ่น ร้านขายยา มันก็จะเป็นเครือข่ายที่ครบสมบูรณ์แบบ ถ้าปะทะได้จบ อยู่ที่คลีนิคหรือศูนย์สาธารณสุข จากนั้นมีโรงพยาบาลคอย Consultant (ที่ปรึกษา) อาจจะมีหน่วย Telemedicine ลงไป ตอนนี้ Sandbox เริ่มจะสำเร็จ ของราชพิพัฒน์น่าจะเสร็จสิงหาคมนี้ น่าจะเป็นตัวอย่างที่ Completed (สมบูรณ์) ขยายผลได้ ทุกอย่างเดินไปอย่างเต็ม ข้อดีของปฐมภูมิคือไม่ต้องลงทุนมากมายเพียงแค่เปลี่ยน Mindset หาแนวร่วม ใช้ Regulation (ระเบียบ/ข้อบังคับ) ใช้การตรวจสอบ มากำกับควบคุม ถ้าโรงพยาบาล 1 โรงอาจใช้เวลา 3 ปี แล้วได้ที่เป็น Location และเปลี่ยนวิธีคิดเรื่อง ปฐมภูมิ คิดว่า Impact เร็ว หาแนวร่วมได้เร็ว หัวใจของคำว่าการปฏิรูป คิดว่า 2 คำ คือ Disrupt เปลี่ยนวิธีคิดแบบเดิม และต้อง Scale คือขยายผลได้เร็ว ถึงมี sandbox ถ้าสำเร็จ 1 โมเดล เอาขยายไปทุกเขต ในทุกสาธารณสุขได้คิดว่าน่าจะเห็นผลตั้งแต่เดือนหน้า เพราะเริ่มทำมาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งในการดำเนินการสามารถร่วมกับหน่วยงานอื่นได้ อีกปัญหาที่เจอคือความเป็นเนื้อเดียวกัน มีการตั้งคณะกรรมการของระบบสาธารณสุขทั้งหมดเพื่อให้เกิดการประสานงานด้านความรู้ เทคโนโลยี ทรัพยากรต่าง ๆ บูรณาการการทำงานร่วมกัน
(พัทธนันท์...สปส./ชลสิทธิ์ นศ.ฝึกงาน รายงาน) จากเพจข่าว prbangkok.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น