นายกเทศมนตรีตำบลนายางกลัก กล่าวว่า ส่วนตัวให้ความสนับสนุนในเรื่องความหลากหลายทางเพศ โดยเปิดกว้างกับสมาชิกในสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนายางกลัก และให้ประชาชนกล้ายอมรับความหลากหลายทางเพศ พร้อมสนับสนุนในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ส่วนเรื่องการทำโทรเวชกรรมหรือ Telemedicine อุปสรรคค่อนข้างเยอะเพราะบุคลากรทางการแพทย์ในชุมชนส่วนใหญ่จบสาธารณสุขและพยาบาลเป็นหลัก ด้านเภสัชกรรมไม่มี หมอเฉพาะทางก็ไม่มี เรื่องเมืองปลอดภัย ประชาชนยังคิดว่าเป็นหน้าที่ของตำรวจไม่ได้ให้ความสำคัญกับเจ้าหน้าที่ป้องกันสาธารณภัย อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) หรืออาสาสมัครอื่น ประชาชนยังไม่ให้การยอมรับในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เท่าที่ควร สำหรับด้านการจัดทำยุทธศาสตร์นั้น บางสิ่งบางอย่างของส่วนภูมิภาคบางครั้งในจังหวัดเดียวกันแต่คนละท้องถิ่นก็มีความแตกต่างกันหนังสือสั่งการเรื่องเดียวใช้ทุกท้องถิ่นไม่ได้ อยากพัฒนาท้องถิ่นในทุกเรื่องรวมถึง Smart City ด้วยแต่บางครั้งไม่สามารถทำได้จึงอยากขอคำแนะนำในเรื่องต่าง ๆ
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า เรื่องการยอมรับความหลากหลายบังคับกันไม่ได้ เรื่องความหลากหลายกรุงเทพฯ ได้เปรียบเพราะเมืองเดินหน้าไปแล้ว ความหลากหลายไม่ได้มีเรื่องเพศเรื่องเดียว ทำอย่างไรจะให้คนรู้สึกว่าตนมีศักดิ์ศรีและสามารถใช้ชีวิตได้เท่าเทียมกับคนปกติ ต้องเริ่มจากผู้บริหารเพราะถ้าผู้บริหารไม่เริ่มมันไปไม่ได้
ส่วนเรื่องที่บอกว่าองค์การบริหารส่วนตำบลนายางกลัก มีทรัพยากรไม่พอในการ Telemedicine กรุงเทพมหานครก็มีทรัพยากรไม่พอ กรุงเทพมหานครทำระบบนี้เพราะมีคนไม่พอ กรุงเทพมหานครดูแลประชากรตามทะเบียนบ้าน 5,800,000 คน ดูแลประชากรจากปริมณฑลที่เข้ามาในพื้นที่ประมาณ 4,200,000 คนต่อวัน รวมกรุงเทพมหานครดูแลประชากรประมาณ 10,000,000 คนต่อวัน อัตราส่วนของหมอหรือบุคลากรทางการพยาบาลในการดูแลสุขภาพ 1 คนต่อประชากร 100,000 คน ซึ่งตามหลักสาธารณสุขคือ 1 ต่อ 10,000 คน และเตียงในโรงพยาบาลในพื้นที่กรุงเทพฯ รองรับประชากรได้ประมาณ 10% ระบบนี้จึงเกิดขึ้นเพราะหมอไม่ต้องเดินทางเข้าเยี่ยมบ้าน ทุกคนพบแพทย์ได้จากบ้านตัวเองภายในเวลาไม่กี่นาที ประชาชนสามารถเดินทางไปที่คลินิกชุมชนใกล้บ้าน ร้านขายยาใกล้ได้ บ้านศูนย์บริการสาธารณสุขจะลดคนลงทันที วิธีการนี้ทำให้ลดความแออัดที่โรงพยาบาลหลัก เพียงแค่ปรับแนวคิดก็จะช่วยให้สามารถปรับวิธีการทำงานได้ นอกจากนี้กรุงเทพมหานครจะมีการฝึกฝนเทคโนโลยีให้กับอาสาสมัครทุกคน ให้อาสาสมัครเทคโนโลยีประกบอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) เพื่อให้สามารถแข่งขันการบริการประชาชนกับอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) ของต่างจังหวัดให้ได้
รองผู้ว่าฯ ทวิดา กล่าวต่อว่า ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานครก็มีคนไม่พอเช่นเดียวกัน อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ของกรุงเทพมหานครมีไม่ถึง 2% อาสาสมัครทั่วกรุงเทพฯ มีอยู่ประมาณ 60,000 คน สิ่งที่ทำอยู่ตอนนี้คือเอาความร่วมมือจากอาสาสมัครสังกัดต่างๆ จะมีการขึ้นทะเบียนอาสาสมัครทั้งหมด ฝึกซ้อมร่วมกัน อะไรที่สนับสนุนกันได้ก็สนับสนุน ต้องดูว่าข้อจำกัดอยู่ตรงไหน ซึ่งตอนนี้กำลังทำอยู่คือการเอาบาร์โค้ดติดที่ถังแดง(ถังดับเพลิง) ทำให้รู้ว่าถังแดงอยู่ตำแหน่งไหน ใส่สารและตรวจสภาพถังครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่
“ส่วนเรื่อง Smart City ควรจะพอดี ๆ ถ้าทำให้ฉลาดมากเกินไปหรือเกินความจำเป็นจนคนกลัว คนอยู่ไม่ได้ บางทีคำว่า Smart อาจหมายความถึงให้คนอยู่สบายแค่นั้นเอง การจะทำให้เมืองฉลาด เมืองมีคำตอบใหม่ ๆ ได้ คำถามต้องมาจากคนที่ไม่รู้ ทำไมเอาข้อจำกัดตั้งโต๊ะทำไมไม่แก้ข้อจำกัดเอาข้อจำกัดขวางทางไว้ทำไม เวลาแก้ปัญหาหรือทำให้ชนะคือการทำให้คนอยู่นอกวงตั้งคำถาม บางครั้งการให้คนนอกหรือคนที่คิดว่าไม่มีความรู้ถามคำถามเราได้อาจได้อะไรบางอย่าง” รองผู้ว่าฯ ทวิดา กล่าว
--------------------------------- (พัทธนันท์...สปส. รายงาน ) ขอบคุณภาพและข่าวจากเพจ prbangkok.com
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า เรื่องการยอมรับความหลากหลายบังคับกันไม่ได้ เรื่องความหลากหลายกรุงเทพฯ ได้เปรียบเพราะเมืองเดินหน้าไปแล้ว ความหลากหลายไม่ได้มีเรื่องเพศเรื่องเดียว ทำอย่างไรจะให้คนรู้สึกว่าตนมีศักดิ์ศรีและสามารถใช้ชีวิตได้เท่าเทียมกับคนปกติ ต้องเริ่มจากผู้บริหารเพราะถ้าผู้บริหารไม่เริ่มมันไปไม่ได้
ส่วนเรื่องที่บอกว่าองค์การบริหารส่วนตำบลนายางกลัก มีทรัพยากรไม่พอในการ Telemedicine กรุงเทพมหานครก็มีทรัพยากรไม่พอ กรุงเทพมหานครทำระบบนี้เพราะมีคนไม่พอ กรุงเทพมหานครดูแลประชากรตามทะเบียนบ้าน 5,800,000 คน ดูแลประชากรจากปริมณฑลที่เข้ามาในพื้นที่ประมาณ 4,200,000 คนต่อวัน รวมกรุงเทพมหานครดูแลประชากรประมาณ 10,000,000 คนต่อวัน อัตราส่วนของหมอหรือบุคลากรทางการพยาบาลในการดูแลสุขภาพ 1 คนต่อประชากร 100,000 คน ซึ่งตามหลักสาธารณสุขคือ 1 ต่อ 10,000 คน และเตียงในโรงพยาบาลในพื้นที่กรุงเทพฯ รองรับประชากรได้ประมาณ 10% ระบบนี้จึงเกิดขึ้นเพราะหมอไม่ต้องเดินทางเข้าเยี่ยมบ้าน ทุกคนพบแพทย์ได้จากบ้านตัวเองภายในเวลาไม่กี่นาที ประชาชนสามารถเดินทางไปที่คลินิกชุมชนใกล้บ้าน ร้านขายยาใกล้ได้ บ้านศูนย์บริการสาธารณสุขจะลดคนลงทันที วิธีการนี้ทำให้ลดความแออัดที่โรงพยาบาลหลัก เพียงแค่ปรับแนวคิดก็จะช่วยให้สามารถปรับวิธีการทำงานได้ นอกจากนี้กรุงเทพมหานครจะมีการฝึกฝนเทคโนโลยีให้กับอาสาสมัครทุกคน ให้อาสาสมัครเทคโนโลยีประกบอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) เพื่อให้สามารถแข่งขันการบริการประชาชนกับอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) ของต่างจังหวัดให้ได้
รองผู้ว่าฯ ทวิดา กล่าวต่อว่า ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานครก็มีคนไม่พอเช่นเดียวกัน อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ของกรุงเทพมหานครมีไม่ถึง 2% อาสาสมัครทั่วกรุงเทพฯ มีอยู่ประมาณ 60,000 คน สิ่งที่ทำอยู่ตอนนี้คือเอาความร่วมมือจากอาสาสมัครสังกัดต่างๆ จะมีการขึ้นทะเบียนอาสาสมัครทั้งหมด ฝึกซ้อมร่วมกัน อะไรที่สนับสนุนกันได้ก็สนับสนุน ต้องดูว่าข้อจำกัดอยู่ตรงไหน ซึ่งตอนนี้กำลังทำอยู่คือการเอาบาร์โค้ดติดที่ถังแดง(ถังดับเพลิง) ทำให้รู้ว่าถังแดงอยู่ตำแหน่งไหน ใส่สารและตรวจสภาพถังครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่
“ส่วนเรื่อง Smart City ควรจะพอดี ๆ ถ้าทำให้ฉลาดมากเกินไปหรือเกินความจำเป็นจนคนกลัว คนอยู่ไม่ได้ บางทีคำว่า Smart อาจหมายความถึงให้คนอยู่สบายแค่นั้นเอง การจะทำให้เมืองฉลาด เมืองมีคำตอบใหม่ ๆ ได้ คำถามต้องมาจากคนที่ไม่รู้ ทำไมเอาข้อจำกัดตั้งโต๊ะทำไมไม่แก้ข้อจำกัดเอาข้อจำกัดขวางทางไว้ทำไม เวลาแก้ปัญหาหรือทำให้ชนะคือการทำให้คนอยู่นอกวงตั้งคำถาม บางครั้งการให้คนนอกหรือคนที่คิดว่าไม่มีความรู้ถามคำถามเราได้อาจได้อะไรบางอย่าง” รองผู้ว่าฯ ทวิดา กล่าว
--------------------------------- (พัทธนันท์...สปส. รายงาน ) ขอบคุณภาพและข่าวจากเพจ prbangkok.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น