เมื่อวันที่ 19 ส.ค. 65 เวลา 13.00 น. นางสาวสราญภัทร อนุมัติราชกิจ อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “ลดความเหลื่อมล้ำ : ด้วยการสร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และส่งมอบ Chat bot น้องแบ่งปัน” พร้อมรับฟังเวทีเสวนา “การสร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ” ณ โรงแรมเซ็นทราบายเซ็นทาราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพ
0
นางสาวสราญภัทร กล่าวว่า การสร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ความเท่าเทียม หรือ EQUAL ในแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2565 ที่เน้นในเรื่อง Understanding เป็นการสร้างความเข้าใจและเจตคติเชิงสร้างสรรค์ต่อคนพิการและความพิการ รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการที่ยั่งยืน คือการสร้างโอกาสให้แก่คนพิการ เพื่อคนพิการจะได้รับการพัฒนาศักยภาพและมีความพร้อมในการพัฒนาตนเองในด้านอาชีพและการดำรงชีวิตในสังคมที่ปราศจาคอุปสรรค ซึ่งเป็นภารกิจที่สำคัญของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) ทั้งนี้ จากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2022 พบว่า การแบ่งปันและการบริจาคเพื่อร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการลดน้อยลง
ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้คนพิการได้รับโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสนับสนุนให้สังคมเกิดการแบ่งปันด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล พก. จึงได้ร่วมกับนักศึกษาหลักสูตร ปรม. รุ่นที่ 21 และภาคีเครือข่าย จัดทำ Chatbot น้องแบ่งปันขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการจองจัดเลี้ยงอาหารสำหรับคนพิการ ในสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการและศูนย์พัฒนาศักยภาพและอาชีพคนพิการ ซึ่งเป็นหน่วยงานสังกัด พก. ทั้ง 22 แห่ง ในการบริจาคสิ่งของโดยการสั่งซื้อสินค้าที่ต้องการและจำเป็นสำหรับคนพิการในความดูแลของหน่วยงาน ได้รับความร่วมมือพัฒนาจาก บริษัทไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัดและบริษัท Digital Dialogue ซึ่งได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ นับว่าเป็นสิ่งสำคัญในการเปิดโอกาสการพัฒนาคนพิการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ประสงค์จะบริจาคและมีการจองจัดเลี้ยงอาหารคนพิการในความดูแล ผ่านการสื่อสารทาง Chatbot ซึ่งทาง พก. จะได้นำ “Chatbot น้องแบ่งปัน” ไปติดตั้งบนหน้าเว็ปไซด์ของ พก. และหน่วยงาน ซึ่งเป็นกลไกในการอำนวยความสะดวกและสร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน สร้างโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการต่อไป
ด้านนายกุลวีร์ เสรีกุล ประธานนักศึกษาหลักสูตร ปรม. รุ่นที่ 21 เปิดเผยว่า การสร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำดังกล่าว คณะนักศึกษาฯ ของสถาบันพระปกเกล้า ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลร่วมกับเจ้าหน้าที่ของ พก. ณ สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านเฟื่องฟ้า และสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านนนทภูมิ จ.นนทบุรี และสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ จ.ราชบุรี ทำให้ทราบถึงสถานการณ์การของแบ่งปันด้วยการบริจาคสิ่งของและการเลี้ยงอาหารคนพิการที่มีจำนวนลดลง ไม่กระจายตัว และมีอุปสรรค เนื่องจากการเผชิญสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด – 19 ซึ่งทางคณะนักศึกษาและเจ้าหน้าที่เห็นว่าปัญหาดังกล่าวจะสามารถคลี่คลายได้ด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้สนับสนุนการแบ่งปัน การใช้ประโยชน์เพื่อคนพิการ สร้างโอกาส สร้างความเท่าเทียม และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่ายทุกภาคส่วนในสังคม
นางสาวสราญภัทร กล่าวว่า การสร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ความเท่าเทียม หรือ EQUAL ในแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2565 ที่เน้นในเรื่อง Understanding เป็นการสร้างความเข้าใจและเจตคติเชิงสร้างสรรค์ต่อคนพิการและความพิการ รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการที่ยั่งยืน คือการสร้างโอกาสให้แก่คนพิการ เพื่อคนพิการจะได้รับการพัฒนาศักยภาพและมีความพร้อมในการพัฒนาตนเองในด้านอาชีพและการดำรงชีวิตในสังคมที่ปราศจาคอุปสรรค ซึ่งเป็นภารกิจที่สำคัญของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) ทั้งนี้ จากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2022 พบว่า การแบ่งปันและการบริจาคเพื่อร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการลดน้อยลง
ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้คนพิการได้รับโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสนับสนุนให้สังคมเกิดการแบ่งปันด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล พก. จึงได้ร่วมกับนักศึกษาหลักสูตร ปรม. รุ่นที่ 21 และภาคีเครือข่าย จัดทำ Chatbot น้องแบ่งปันขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการจองจัดเลี้ยงอาหารสำหรับคนพิการ ในสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการและศูนย์พัฒนาศักยภาพและอาชีพคนพิการ ซึ่งเป็นหน่วยงานสังกัด พก. ทั้ง 22 แห่ง ในการบริจาคสิ่งของโดยการสั่งซื้อสินค้าที่ต้องการและจำเป็นสำหรับคนพิการในความดูแลของหน่วยงาน ได้รับความร่วมมือพัฒนาจาก บริษัทไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัดและบริษัท Digital Dialogue ซึ่งได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ นับว่าเป็นสิ่งสำคัญในการเปิดโอกาสการพัฒนาคนพิการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ประสงค์จะบริจาคและมีการจองจัดเลี้ยงอาหารคนพิการในความดูแล ผ่านการสื่อสารทาง Chatbot ซึ่งทาง พก. จะได้นำ “Chatbot น้องแบ่งปัน” ไปติดตั้งบนหน้าเว็ปไซด์ของ พก. และหน่วยงาน ซึ่งเป็นกลไกในการอำนวยความสะดวกและสร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน สร้างโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการต่อไป
ด้านนายกุลวีร์ เสรีกุล ประธานนักศึกษาหลักสูตร ปรม. รุ่นที่ 21 เปิดเผยว่า การสร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำดังกล่าว คณะนักศึกษาฯ ของสถาบันพระปกเกล้า ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลร่วมกับเจ้าหน้าที่ของ พก. ณ สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านเฟื่องฟ้า และสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านนนทภูมิ จ.นนทบุรี และสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ จ.ราชบุรี ทำให้ทราบถึงสถานการณ์การของแบ่งปันด้วยการบริจาคสิ่งของและการเลี้ยงอาหารคนพิการที่มีจำนวนลดลง ไม่กระจายตัว และมีอุปสรรค เนื่องจากการเผชิญสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด – 19 ซึ่งทางคณะนักศึกษาและเจ้าหน้าที่เห็นว่าปัญหาดังกล่าวจะสามารถคลี่คลายได้ด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้สนับสนุนการแบ่งปัน การใช้ประโยชน์เพื่อคนพิการ สร้างโอกาส สร้างความเท่าเทียม และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่ายทุกภาคส่วนในสังคม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น