เมื่อวันที่ 5 ส.ค.65 เวลา 10.30 น. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประชุมร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)(สนช.) หรือ NIA เพื่อหารือแนวทางการพัฒนาย่านนวัตกรรมในกรุงเทพมหานคร โดยมี ผศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกุงเทพมหานคร นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA พร้อมคณะผู้บริหาร และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม ณ ห้องสุทัศน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เขตพระนคร
ในที่ประชุมNIA ได้เสนอความร่วมมือใน 3 ประเด็น ประกอบด้วย 1. การสร้างภาพลักษณ์ และอัตลักษณ์ของนวัตกรรมในกรุงเทพมหานคร 2. ร่วมส่งเสริมแนวคิดการพัฒนาด้านกายภาพที่เหมาะสมในการเป็นย่านนวัตกรรมและผลักดันโครงการด้านนวัตกรรมสังคมในกรุงเทพมหานคร และ 3. การร่วมประเมินเมืองด้วยดัชนีเมืองนวัตกรรม ซึ่งกทม.ยินดีให้ความร่วมมือ ทั้งนี้เพื่อให้มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมได้มีการเสนอให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานร่วมโดยมีผู้แทนจากทางกทม. และNIA ซึ่งได้กำหนดความร่วมมือเบื้องต้น 3 ประเด็น ประกอบด้วย 1. การหาพื้นที่ในการทำ bangkok innovation center : เพื่อสร้าง ecosystem ให้นวัตกรมาร่วมสร้างนวัตกรรมที่ตรงกับ painpoint ของ กทม. 2. การพัฒนานวัตกรรมจาก problem base ที่กทม. เผชิญ อาทิ การจราจร การแยกขยะ PM 2.5 หาบเร่แผงลอย Anti-corruption น้ำท่วม ด้านการศึกษา เป็นต้น และ 3. การพัฒนาและประเมินผลเมืองตามดัชนีเมืองนวัตกรรม ซึ่งรองผู้ว่าฯกทม.ได้ให้ความเห็นว่า นวัตกรรมที่เสนอมีหลายอย่างที่น่าสนใจ และตรงกับปัญหาเมือง อาทิ Medtech การบริหารจัดการขยะ การท่องเที่ยว รวมถึงในประเด็นดัชนีเมืองนวัตกรรมปลัดกรุงเทพมหานคร ได้ให้ข้อคิดเห็นเรื่องการมอบหมายฝ่ายกฎหมายให้พิจารณากระบวนการในการจัดซื้อจัดจ้างโดยให้เชื่อมโยงกับนวัตกรรมที่ NIA หรือหน่วยงานภายนอกให้การสนับสนุนในการทดลองใช้แล้วในปัจจุบัน ซึ่งต้องหารือในทุกด้านทุกมิติเพื่อให้นวัตกรรมดังกล่าวเกิดประโยชน์สูงสุดกับกทม.และคนกรุงเทพฯ
สำหรับความร่วมมือในวันนี้ มุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนแนวคิดเพื่อเปิดวิสัยทัศน์การขับเคลื่อน "กรุงเทพมหานครสู่มหานครแห่งนวัตกรรม" เพื่อตอบโจทย์ความหลากหลายของกลุ่มคนที่อยู่ในกรุงเทพฯ ที่เป็นชาวไทยและชาวต่างชาติจากทั่วโลก ทั้งผู้สูงอายุ คนพิการ คนรุ่นใหม่ และกลุ่มความหลากหลายทางเพศ และยกระดับให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองแห่งความฝันและโอกาสของทุกคนอีกครั้ง
ทั้งนี้ นวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation) หมายถึง กิจกรรม ผลิตภัณฑ์ หรือบริการใหม่ ที่มุ่งตอบสนองความต้องการของสังคมเป็นหลัก โดยมีการพัฒนาและเผยแพร่ผ่านองค์กรเพื่อสังคม ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนาสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เพื่อเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต หรือเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคม มีผลกระทบในระดับชุมชน หรือส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง
(ขอบคุณภาพและข่าบจากเพจ prbangkok.com)เศรษฐกิจดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น