วันที่ 1 (15 ส.ค. 2565)
เขตเศรษฐกิจไทย โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดฉากการประชุมคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 60 และการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11 พร้อมผลักดันแนวคิด "Regenerative Tourism : การท่องเที่ยวฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน" สู่การพลิกฟื้นการท่องเที่ยวเพื่อความอยู่ดี กินดี ของประชาชน
โดยเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2565 เขตเศรษฐกิจไทยได้จัดการประชุมปฏิบัติการ สำหรับคณะทำงานเอเปคด้านการท่องเที่ยว ครั้งที่ 60 เพื่อนำเสนอ และสร้างความเข้าใจ ต่อแนวคิดที่จะเป็นผลลัพธ์ความสำเร็จด้านการท่องเที่ยวของไทย คือ การจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเปคให้มีอนาคตที่ดีกว่าเดิม ที่เรียกว่า การท่องเที่ยวฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน (APEC Policy Recommendations for Tourism of the Future: Regenerative Tourism) เพื่อสร้างการท่องเที่ยวที่นำไปสู่ความยั่งยืนและความเป็นอยู่ที่ดี ของทุกภาคส่วน โดยส่งเสริมการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ใช้ผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อแสดงความสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสะท้อนแนวคิด BCG (Bio Circular Green Economy) และกระจายรายได้การท่องเที่ยวให้แก่เศรษฐกิจระดับท้องถิ่น
การประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว ได้จัดขึ้น ณ 'GalileOasis' ซึ่งเป็นคอมมูนิตี้ขนาดเล็กในถนนบรรทัดทอง ที่ได้รับการรีโนเวตตึกเก่าอายุร่วม 40 ปี ให้กลายเป็นร้านกาแฟ โรงละคร แกลเลอรี่ และโรงแรม เป็นพื้นที่ชุมชน ที่มีความสวยงาม ผ่อนคลาย และใกล้ชิดธรรมชาติมากขึ้น อีกทั้งยังเปิดกว้างสำหรับสำหรับศิลปะ ดนตรี และการละคร สถานที่แห่งนี้ เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้เข้าร่วมการประชุมได้มาถอดประสบการณ์และร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ที่ไม่ได้เป็นเพียงแต่สถานที่ท่องเที่ยวทั่วไป แต่ยังเป็นสถานที่ที่พยายามเชื่อมโยงกับวิถีชีวิต ความคิด กิจกรรมสร้างสรรค์ และความผูกพันของคนในพื้นที่นำไปสู่ประเด็นหารือสำคัญอื่นๆ
โดยในช่วงท้ายของการระดมสมอง คณะทำงานด้านการท่องเที่ยวเอเปคได้มีการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เพื่อออกแบบและนำเสนอเกี่ยวกับความหมายของการท่องเที่ยวฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน อันเป็นการตอกย้ำความชัดเจนของเอเปคในการฟื้นการท่องเที่ยวจากวิกฤตการณ์โควิด 19 ให้คืนกลับมาด้วยการท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นการส่งมอบสิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิมในทุกมิติ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม สร้างระบบเศรษฐกิจทางการท่องเที่ยวที่เน้นให้คนท้องถิ่นมีอาชีพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สอดคล้องเชื่อมโยงกับ หัวข้อหลักของการเป็นเจ้าภาพเอเปคปีนี้ของไทย คือ "Open. Connect. Balance." หรือ "เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล"
ผลจากการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว จะนำไปสู่วาระการประชุมคณะทำงานเอเปคด้านการท่องเที่ยว อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 16 ถึง 17 ส.ค. 2565 ณ โรงแรมพูลแมน คิงพาวเวอร์ เพื่อเตรียมรายงานให้รัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปคให้การรับรองให้เป็น หนึ่งในเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11 และเพื่อเป็นแนวคิดและแนวทางในการฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวในภูมิภาค เอเปค หลังยุคโควิด 19
วันที่ 2 (16 ส.ค. 2565)
การประชุมคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวเอเปก ครั้งที่ 60 อย่างเป็นทางการได้เริ่มขึ้นแล้วในวันที่ 16 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมพูลแมน คิงรางน้ำ เขตเศรษฐกิจไทย โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้จับมือเครือข่ายผู้ประกอบการชุมชน ร่วมนำเสนอเอกลักษณ์ วัฒนธรรม ผลิตภัณฑ์ และภูมิปัญญา เฉพาะพื้นที่ ในรูปแบบ live exhibition (นิทรรศการที่มีชีวิต) เพื่อตอกย้ำแนวคิด "Regenerative Tourism: การท่องเที่ยวฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน" พร้อมส่งมอบประสบการณ์ที่ทรงคุณค่าและมีความหมายสู่สมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปค
นายโชติ ตราชู ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะเจ้าภาพ กล่าวต้อนรับคณะทำงานเอเปกด้านการท่องเที่ยว พร้อมทั้งนำเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวของเอเปกภายหลังโควิดที่ต้องปรับกระบวนทัศน์ จากแนวคิดการท่องเที่ยวยั่งยืนแบบเดิมที่มุ่งเน้นการรักษาและดำรงอยู่ของทรัพยากรไปสู่แนวคิดใหม่ที่มุ่งเน้นให้การท่องเที่ยวส่งมอบประโยชน์ในทุกมิติ อันจะทำให้ภาคการท่องเที่ยวซึ่งมีส่วนสำคัญในระบบเศษฐกิจเอเปกมีส่วนในการสร้างความอยู่ดีกินดีของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม
การประชุมในวันดังกล่าว ประกอบด้วยการพิจารณา หารือ ร่างรายงาน "COVID 19 and Cross Border Mobility in the APEC Region: Addressing Uncertainties at the Border" การแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับความท้าทายและโอกาสสำหรับแรงงานในภาคการท่องเที่ยวและงานบริการภายหลังยุคโควิด 19 นอกจากนี้ นายมงคล วิมลรัตน์ รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
พร้อมคณะผู้แทนเขตเศรษฐกิจไทย ได้ร่วมนำเสนอกรณีตัวอย่างนโยบายและแนวทางมาตรการในการช่วยเหลือ เยียวยา และส่งเสริมแรงงานภาคการท่องเที่ยวภายหลังโควิด พร้อมกันนี้ ในช่วยบ่าย ได้มีการหารือในประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวและการพัฒนาขีดความสามาถทางการแข่งขัน ตลอดจนการรายงานความคืบหน้าการดำเนินการภายใต้แผนกลยุทธ์เอเปกด้านการท่องเที่ยว ค.ศ 2020 ถึง 2024 ซึ่งองค์การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท) ได้นำเสนอผลความคืบหน้าในการดำเนินโครงการกรณีตัวอย่างความสำเร็จในการนำเครื่องมือกลยุทธ์ในการบริหารจัดการผู้เยี่ยมเยือนของ UNESCO มาใช้อย่างเป็นรูปธรรมในแหล่งท่องเที่ยวนำร่องให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน
วันที่ 3 (17 ส.ค. 2565)
การประชุมคณะทำงานเอเปคด้านการท่องเที่ยว วันที่ 2 เริ่มต้นด้วยการอภิปรายให้หัวข้อ "การท่องเที่ยวเชิงอาหารเครื่องมือเพื่อการปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่าเดิม (Gastronomy as an Engine of Positive Change)" โดยมี ดร. จุฑามาศ วิศาลสิงห์ ประธานเครือข่าย Gastronomy ประเทศไทย และนายอรุท นวราช ประธานสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) และผู้แทนเขตเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ ร่วมแลกเปลี่ยน แบ่งปันประสบการณ์ โดยในเวทีนี้ ได้มีการเสนอให้มีการสร้างเครือข่ายการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหาร Gastronomy Tourism ในเอเปค เพื่อประโยชน์ในการขับเคลื่อน แลกเปลี่ยน เชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องร่วมกันต่อไป
การประชุมคณะทำงานเอเปคด้านการท่องเที่ยว วันที่ 2 เริ่มต้นด้วยการอภิปรายให้หัวข้อ "การท่องเที่ยวเชิงอาหารเครื่องมือเพื่อการปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่าเดิม (Gastronomy as an Engine of Positive Change)" โดยมี ดร. จุฑามาศ วิศาลสิงห์ ประธานเครือข่าย Gastronomy ประเทศไทย และนายอรุท นวราช ประธานสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) และผู้แทนเขตเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ ร่วมแลกเปลี่ยน แบ่งปันประสบการณ์ โดยในเวทีนี้ ได้มีการเสนอให้มีการสร้างเครือข่ายการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหาร Gastronomy Tourism ในเอเปค เพื่อประโยชน์ในการขับเคลื่อน แลกเปลี่ยน เชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องร่วมกันต่อไป
ในช่วงบ่าย คณะทำงานเอเปคด้านการท่องเที่ยวได้ร่วมกันหารือร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11 ซึ่งจะประกอบด้วย ร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเปคฯ อย่างไม่เป็นทางการ. ร่างคู่มือเอเปคสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการท่องเที่ยวฯ และ ร่างแถลงการณ์ร่วม (Joint Statement) สำหรับการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11 เพื่อเสนอให้รัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ให้การรับรองในการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11 ในวันที่ 19 ส.ค. 2565 ต่อไป
สำหรับการจัดการประขุมในวันนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ร่วมมือกับผู้ประกอบการสินค้าภาคการเกษตร ร่วมจัดนิทรรศการมีชีวิต (live exhibition) ภายใต้หัวข้อ "มหัศจรรย์มะพร้าว" (Miracle of Coconuts) เพื่อนำเสนอวิถีชีวิตและความคิดสร้างสรรค์ในการนำวัตถุดิบพื้นถิ่นอย่าง มะพร้าว มาประกอบอาหาร สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าท่องเที่ยว เช่น กาแฟสดน้ำกะทิ ขนมหวาน และ ผ้ามัดย้อมจากสีกากมะพร้าว ดึงดูดความสนใจจากผู้ร่วมประชุมเป็นอย่างมาก
วันที่ 4 (18 ส.ค. 2565)
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาส่งท้ายการประชุมคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 60 จับมือชุมชนท่องเที่ยว ตลาดน้อย และสวนสามพราน ต้อนรับคณะเดินทาง ดึงจุดเด่นด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสร้างสรรค์และการท่องเที่ยวยั่งยืนสร้างความประทับใจแก่คณะทำงาน
วันที่ 18 สิงหาคม 65 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬานำคณะผู้เข้าร่วมการประชุมคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 60 ที่ได้มาร่วมการประชุม ณ กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 15 ถึง 17 สิงหาคม 2565 เยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจในประเทศไทย โดยคัดเลือกสองเส้นทางท่องเที่ยวชุมชน 2 เส้นทาง ร่วมมอบประสบการณ์อันทรงคุณค่าแก่ผู้มาเยือน
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาส่งท้ายการประชุมคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 60 จับมือชุมชนท่องเที่ยว ตลาดน้อย และสวนสามพราน ต้อนรับคณะเดินทาง ดึงจุดเด่นด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสร้างสรรค์และการท่องเที่ยวยั่งยืนสร้างความประทับใจแก่คณะทำงาน
วันที่ 18 สิงหาคม 65 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬานำคณะผู้เข้าร่วมการประชุมคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 60 ที่ได้มาร่วมการประชุม ณ กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 15 ถึง 17 สิงหาคม 2565 เยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจในประเทศไทย โดยคัดเลือกสองเส้นทางท่องเที่ยวชุมชน 2 เส้นทาง ร่วมมอบประสบการณ์อันทรงคุณค่าแก่ผู้มาเยือน
เส้นทางแรก เป็นเส้นทางท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยการเยี่ยมชมชุมชนพหุวัฒนธรรมตลาดน้อยที่ตั้งอยู่ริมไชน่าทาวน์ของกรุงเทพฯ และริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นที่ตั้งถิ่นฐาน ของผู้อพยพชาวจีนในยุคแรก ที่ได้รับการพัฒนาจากแหล่งทรุดโทรมถูกทิ้งร้าง กลายเป็นพื้นที่ทันสมัยสำหรับชาวเมืองและนักท่องเที่ยวที่นิยมการลิ้มรสกาแฟและอาหาร ตลอดจนศิลปะร่วมสมัยอย่างกราฟฟิตี้และสตรีทอาร์ต พร้อมเยี่ยมชมจุดเช็คอินริมฟังแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนที่จะพักรับประทานอาหารในรูปแบบ Thai Bus Food Tour ชิมอาหารพร้อมชมเมืองรอบเกาะรัตนโกสินทร์อย่างอิ่มเอมใจ ในช่วงบ่ายคณะทำงานได้ร่วมชื่นชมสถาปัตยกรรมอันงดงามของวัดโพธิ์ สักการะสิ่งศักดิ์คู่บ้านคู่เมือง และทดลองนวดแผนไทย
เส้นทางที่สอง เป็นการเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ปฐม ออแกนิกฟาร์ม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการสามพรานโมเดล ซึ่งเป็นโมเดลธุรกิจเกื้อกูลสังคมเพื่อส่งเสริมเกษตรกรออร์แกนิกในเขตสามพราน จ.นครปฐม พร้อมทำกิจกรรมเรียนรู้การทำการเกษตรแบบออแกนิดและทำอาหารซึ่งเป็นการท่องเที่ยวที่ชูจุดขายด้านการนำทรัพยากรธรรมชาติมาต่อยอดบนพื้นฐานของการคำนึงถึงความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ คณะผู้เยี่ยมชมยังได้ไปเยี่ยมชนอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ เป็นสวนสาธารณะและแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางด้านพฤกษศาสตร์และสมุนไพร ตั้งอยู่ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม อีกด้วย
กิจกรรมการเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวที่ประเทศไทย โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จัดเตรียมเส้นทาง
สำหรับคณะทำงานเอเปก ครั้งที่ 60 ในวันนี้ เป็นการจัดเส้นทางการท่องเที่ยวภายใต้แนวคิดการท่องเที่ยวฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน ในรูปแบบการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Destination) ซึ่งเป็น Theme ในการจัดการประชุมครั้งนี้อีกด้วย ในโอกาสนี้ประเทศไทยนำเสนอผลิตภัณฑ์ด้านการท่องเที่ยวที่เกิดจากการต่อยอด สร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม โดยความร่วมมือของชุมชนทั้งสองเส้นทางซึ่งสร้างความประทับใจและเป็นการตอกย้ำถึงการท่องเที่ยวที่มีคุณค่าและคำนึงถึงการความยั่งยืนของไทย
วันที่ 5 (19 ส.ค. 2565) ประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11
วันที่ 19 สิงหาคม 2565 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้ให้การต้องรับ Dr. Rebecca Sta Maria กรรมการบริหารสำนักงานเลขาธิการเอเปค และรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปกเพื่อร่วมประชุม รัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11 ณ โรงแรงพูลแมน คิงพาวเวอร์
วันที่ 19 สิงหาคม 2565 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้ให้การต้องรับ Dr. Rebecca Sta Maria กรรมการบริหารสำนักงานเลขาธิการเอเปค และรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปกเพื่อร่วมประชุม รัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11 ณ โรงแรงพูลแมน คิงพาวเวอร์
การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยว ได้มีการรายงานผลการดาเนินงานภายใต้แผนยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวเอเปค พ.ศ. 2563 ถึง 2567 การหารือแนวทางความร่วมมือของเอเปคเพื่อเร่งฟื้นฟูการท่องเที่ยว ในช่วงหลังโควิด 19 และบทบาทของภาคการท่องเที่ยวต่อการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนในภูมิภาค โดยมุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับการเร่งการฟื้นฟู การเดินทางท่องเที่ยว ในช่วงหลังการแพร่ระบาดของโควิด 19 และได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการส่งเสริมการฟื้นฟูการท่องเที่ยวในแต่ละเขตเศรษฐกิจ รวมถึงหารือถึงวิธีการรักษาสถานะของการท่องเที่ยวในฐานะภาคส่วนที่สร้างประโยชน์และความอยู่ดีกินดีให้แก่ประชาชนในภูมิภาคเอเปค
ตลอดระยะเวลาการประชุม ทุกเขตเศรษฐกิจได้ร่วมกันเจรจาร่างถ้อยแถลงจนสุดความสามารถ และสามารถบรรลุฉันทามติได้ในทุกย่อหน้า ยกเว้นเพียงย่อหน้าเดียวที่เขตเศรษฐกิจต่างๆ ไม่สามารถหาฉันทามติกันได้ จึงได้ผลลัพธ์ในรูปถ้อยแถลงประธาน(Chair Statement)
อย่างไรก็ตาม การประชุมครั้งนี้ เราสามารถรับรองเอกสาร 2 ฉบับ ได้แก่
(1) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเปคให้มีอนาคตที่ดีกว่าเดิม : การท่องเที่ยวฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน และ (2) คู่มือเอเปคสาหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการท่องเที่ยว ฉบับปรับปรุง ซึ่งเอกสารทั้งสองฉบับนี้เป็นผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม ความสำเร็จเหล่านี้ล้วนเป็นก้าวสำคัญของเอเปคในการก้าวไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ปุตราจายา ค.ศ. 2040 และเพื่อให้ชาติสมาชิกทำงานต่อไปข้างหน้า
ในการประชุมครั้งนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ร่วมมือกับผู้ประกอบการชุมชนจัด Live Exhibition ภายใต้แนวคิด "ดอกบัว" เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์สื่อถึงการฟื้นสร้างการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยมีการนำ "บัวหลวง" ราชินีไม้น้ำที่อยู่คู่กับเมืองไทยมาอย่างยาวนาน มีความสำคัญทั้งในด้านวัฒนธรรม ประเพณี และศาสนา แสดงให้เห็นถึงปรัชญาในการดำเนินชีวิตอย่างลึกซึ้ง นอกจากนี้ยังมีคุณค่าทางสารอาหาร สารพัดประโยชน์กินได้ทั้งต้นตั้งแต่รากไปจนถึงเม็ด ซึ่งถูกนำเสนอผ่านอาหารและเครื่องดื่มโดยเพิ่มมูลค่าต่อสินค้าผ่านความคิดสรรค์และภูมิปัญญา ประกอบด้วย เมี่ยงดอกบัว ชาเกสรดอกบัว น้ำรากบัว ตุ๊กตาดอกบัว และ ผ้าพิมพ์จากดอกบัว
(1) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเปคให้มีอนาคตที่ดีกว่าเดิม : การท่องเที่ยวฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน และ (2) คู่มือเอเปคสาหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการท่องเที่ยว ฉบับปรับปรุง ซึ่งเอกสารทั้งสองฉบับนี้เป็นผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม ความสำเร็จเหล่านี้ล้วนเป็นก้าวสำคัญของเอเปคในการก้าวไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ปุตราจายา ค.ศ. 2040 และเพื่อให้ชาติสมาชิกทำงานต่อไปข้างหน้า
ในการประชุมครั้งนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ร่วมมือกับผู้ประกอบการชุมชนจัด Live Exhibition ภายใต้แนวคิด "ดอกบัว" เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์สื่อถึงการฟื้นสร้างการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยมีการนำ "บัวหลวง" ราชินีไม้น้ำที่อยู่คู่กับเมืองไทยมาอย่างยาวนาน มีความสำคัญทั้งในด้านวัฒนธรรม ประเพณี และศาสนา แสดงให้เห็นถึงปรัชญาในการดำเนินชีวิตอย่างลึกซึ้ง นอกจากนี้ยังมีคุณค่าทางสารอาหาร สารพัดประโยชน์กินได้ทั้งต้นตั้งแต่รากไปจนถึงเม็ด ซึ่งถูกนำเสนอผ่านอาหารและเครื่องดื่มโดยเพิ่มมูลค่าต่อสินค้าผ่านความคิดสรรค์และภูมิปัญญา ประกอบด้วย เมี่ยงดอกบัว ชาเกสรดอกบัว น้ำรากบัว ตุ๊กตาดอกบัว และ ผ้าพิมพ์จากดอกบัว
วันที่ 5 (19 ส.ค. 2565) กาล่าดินเนอร์
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจัดกิจกรรมส่งท้ายการประชุมการประชุมคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 60 และการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11 ด้วยงานเลี้ยงรับรองผู้นำระดับสูงพร้อมนำเสนอภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทยภายหลังยุคโควิด 19 ภายใต้แนวคิด "การท่องเที่ยวฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน (Regenerative Tourism)" ตอกย้ำเป้าหมายการมุ่งสู่การท่องเที่ยวที่เน้นคุณค่า กระจายผลประโยชน์ และยกระดับความอยู่ดีกินดีของประชาชนในท้องถิ่น ณ บ้านปาร์คนายเลิศ กรุงเทพมหานคร
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจัดกิจกรรมส่งท้ายการประชุมการประชุมคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 60 และการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11 ด้วยงานเลี้ยงรับรองผู้นำระดับสูงพร้อมนำเสนอภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทยภายหลังยุคโควิด 19 ภายใต้แนวคิด "การท่องเที่ยวฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน (Regenerative Tourism)" ตอกย้ำเป้าหมายการมุ่งสู่การท่องเที่ยวที่เน้นคุณค่า กระจายผลประโยชน์ และยกระดับความอยู่ดีกินดีของประชาชนในท้องถิ่น ณ บ้านปาร์คนายเลิศ กรุงเทพมหานคร
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจับมือกับผู้ประกอบการท่องเที่ยวภาคเอกชน ร่วมกันรังสรรค์งานเลี้ยงรับรองที่ตอกย้ำความแข็งแกร่งในภาคการท่องเที่ยวไทย นำเสนอคุณค่าแห่งไทย ผ่านสัมผัสทั้ง 5 (5 SENSES PERFORMANCE) PHOTO BACKDROP นำใบไม้จากสวนดอกไม้ของชุมชนไทยมาสร้างคุณค่าให้เพิ่มขึ้น ต่อยอดรายได้ให้กับชุมชนรูป ความงดงามของวิถีไทยผ่านบรรยากาศของบ้านไทยโบราณ และงานฝีมือที่แม้เป็นเศษของดอกไม้ก็ยังสามารถนำมาสร้างคุณค่าได้ พัฒนาสู่การเพิ่มรายได้ของชุมชนผู้ค้าดอกไม้ในที่สุดรส ลิ้มรสคุณค่าของเครื่องดื่มและขนมไทย ที่ใช้วัตถุดิบจากชุมชนรวมเข้ากับงานฝีมือของคนไทยที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน สร้างเป็น Soft Power ที่มีคุณค่าที่ยั่งยืนระดับโลก กลิ่น สัมผัสกลิ่นในแบบฉบับของไทยที่เป็นหนึ่งเดียวของโลก การพัฒนาองค์ความรู้ชุมชนสู่คุณค่าในเวทีโลก ประกอบด้วยกลิ่นมะม่วง ชามะตูม และสายไหม เสียงรื่นรมย์กับเสียงดนตรีไทยที่ผสมผสานกับเครื่องดนตรีสากลบรรเลงในบทเพลงไทยและสากลได้อย่างลงตัว คุณค่าของดนตรีไทยที่พัฒนาเคียงข้างยุคสมัยของสากลโลก สร้างให้ดนตรีไทยไม่หายไปในกระแสโลก สัมผัสความเป็นมิตร ความโอบอ้อมอารีของคนไทย ผ่านการแสดงหุ่นกระบอก คุณค่างานแสดงของไทยในระดับสากล คุณค่าความเป็นไทย ที่ไม่เหมือนใครบนโลก
นอกจากนี้ภายในงานเลี้ยง ได้ร่วมมือกับเกษตรกรผู้ปลูกดอกไม้สดจากสวนดอกไม้ชุมชนราชบุรี สวนไม้ใบชุมชนปทุมธานี และฟาร์มกล้วยไม้และดอกไม้บุญตาจังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรสาคร สร้างคุณค่าของดอกไม้ให้ย้อนกลับไปสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับชุมชน
ในช่วงรับประทางอาหารค่ำ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้ใช้โอกาสนี้ ส่งมอบประสบการณ์ที่มีความหมายและทรงคุณค่าผ่านอาหาร การแสดง และดนตรี เพื่อให้ผู้นำเขตเศรษฐกิจได้รู้จัก "ไทย" ในชั่วข้ามคืน
ภาคกลาง เช่น การแสดงศิลปะมวยไทย การฉายภาพบรรยากาศชายคลองของเมืองไทย พร้อมบทเพลงโดยวงประสานเสียง สวนพลู คอรัส ในช่วงเรียกน้ำย่อย
ภาคใต้ นำเสนอแหล่งอารยธรรม และความงามของขุนเขาและท้องทะเล "ภาคใต้" รับประทานอาหารจานหลักเป็นปลาจากทะเลไทย ท่ามกลางบรรยากาศของท้องทะเลภาคใต้พร้อมดนตรีสดฟังสบาย โดย Nutty ณัชยา และวง Melodic Corner จากเวที International Jazz and Blue Festival 2022 แสดงศักยภาพการดนตรีไทยในระดับสากล
ภาคอีสาน นำเสนอจุดแข็งความเป็นแหล่งงานฝีมือ ภูมิปัญญาไทยที่ดังไกลไปทั่วโลกด้วย E Sarn Spirit Fashion Show การแสดงที่นำเสนอถึงวิถีชีวิตไทย ภูมิปัญญาไทย ผ่านการสร้างคุณค่าจากผ้าไทย งานฝีมือชุมชนชาวอีสานที่หลอมรวมการดีไซน์ที่ร่วมสมัย ให้ผ้าไทยมีชีวิตในระดับโลก สร้างมูลค่าให้ผ้าทอไทย ต่อลมหายใจให้ชุมชนทอผ้าอย่างยั่งยืน
ภาคเหนือ นำเสนอความภาคภูมิใจแห่งวัฒนธรรมล้านนาส่งท้ายงานเลี้ยงรับรอง ด้วยการแสดงศิลปวัฒนธรรมล้านนาชุด "ล้านนามหรสพ" ที่รวมการแสดงศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือไว้ด้วยกัน ที่มาพร้อมเสริฟของหวานประจำเมืองเหนือ
ในงานนี้ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและคณะผู้บริหารกระทรวงได้ร่วมกับต้อนรับผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก โดยในการเปิดงานนั้น นายพิพัฒน์ รัชกิจประการได้กล่าวว่า "ในปี 2565 ถึง 2566 ประเทศไทยกำหนดให้เป็นปี Visit Thailand Year โดยเราตั้งใจที่จะ พลิกฟื้น ภาคการท่องเที่ยวไทยทั้งระบบอย่างสมดุลในทุกมิติเพื่อสร้างประสบการณ์การเดินทางที่มีความหมายและทรงคุณค่าให้กับนักท่องเที่ยว (Meaningful Travel)"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น