นายจุติ กล่าวว่า วันนี้ ตนมาในนามของรัฐบาล เพื่อมาเปิดสถานธนานุเคราะห์ หรือโรงรับจำนำของรัฐ สาขาที่ 42 ที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้มีรายได้น้อยได้มาใช้บริการ และยังเป็นการลดการเพิ่งพาเงินกู้นอกระบบ ขณะนี้ มีโรงรับจำนำจำนวนมากทั้งภาครัฐและเอกชน แต่คิดว่ายังไม่เพียงพอ โดยกระทรวง พม. ได้พยายามขอเพิ่มสาขาให้กระจายอย่างทั่วถึงยิ่งขึ้น แต่มีข้อจำกัดในเรื่องกฎหมาย ที่ยังไม่อนุญาตให้ทำได้ ดังนั้น เราจึงตั้งเป้าเป็นหน่วยเคลื่อนที่ เพื่อให้สามารถเข้าถึงไปยังบ้าน ให้ประชาชนสามารถเอาทรัพย์มาจำนำได้ โดยไม่ต้องเดินทางไปถึงโรงรับจำนำ ดังนั้น หน่วยงานราชการจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันต่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งเราจึงต้องมาดูว่าทั้งกระทรวง พม. กระทรวงมหาดไทย เราสามารถทำอะไรได้บ้าง โดยไม่ผิดกฎหมาย และสามารถให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึง และจากการใช้บริการในปีที่ผ่านมา พบว่ามีประชาชนมาใช้บริการโรงรับจำนำกว่า 100,000 คนต่อเดือน ซึ่งขณะนี้ รัฐบาลได้เพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้กับสถานธนานุเคราะห์อีก 500 ล้านบาท เพื่อให้มาดูและประชาชนเพิ่มเติม
นายจุติ กล่าวเพิ่มเติมว่า สถานธนานุเคราะห์ (สธค.) หรือโรงรับจำนำของรัฐ เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวง พม. โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) ปัจจุบัน มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของ สธค. เข้าสู่ปีที่ 67 โดยได้เปิดสถานธนานุเคราะห์รวมทั้งสิ้น 42 แห่ง แบ่งเป็นสาขาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 33 แห่ง และในส่วนภูมิภาค 9 แห่ง ทั้งนี้ มีการจัดทำแผนขยายสาขาการให้บริการในพื้นที่ส่วนภูมิภาคอย่างครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ นอกจากนี้ การรับจำนำทรัพย์ ทาง สธค. มีการคิดอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ดังนี้ 1) เงินต้นไม่เกิน 5,000 บาทคิดดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 บาท ต่อเดือน 2) เงินต้น 5,001 – 10,000 บาท คิดดอกเบี้ยร้อยละ 0.75 บาท ต่อเดือน 3) เงินต้น 10,001 – 20,000 บาท คิดดอกเบี้ยร้อยละ 1.00 บาทต่อเดือน และ 4) เงินต้น 20,001 – 100,000 บาท คิดดอกเบี้ยร้อยละ 1.25 บาทต่อเดือน โดย สธค. มีการคิดอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำสุดในธุรกิจโรงรับจำนำ เพียงร้อยละ 25 สตางค์ต่อเดือน (วงเงินไม่เกิน 5,000 บาท) อีกทั้งยังมีนโยบายอัตราการรับจำนำทรัพย์ประเภททอง นาก เงิน และรูปพรรณ โดยรับจำนำไม่เกินร้อยละ 90 ของราคาทองรูปพรรณในท้องตลาด ซึ่งให้ราคารับจำนำที่สูงขึ้นกว่าเดิม :Cr;มณสิการ รามจันทร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น