นโยบาย คือ การพัฒนา Corridor (ทางเดิน) ก่อน เช่น Corridor เรียบทางด่วนที่ปัจจุบันมีทางจักรยานที่ค่อนข้างดีอยู่แล้ว เชื่อมโยงรถไฟฟ้า 3-4 สาย สีชมพู สีเหลือง สีส้ม สีแดง อาจเชื่อมไปสีเขียวได้ ตัวอย่างที่ชอบ คือ ที่ห้างฟอร์จูนมีลานจอดจักรยานฟรี มีห้องอาบน้ำด้วย ต่อไปอาจทำที่จอดจักรยานฟรีและมีห้องอาบน้ำ คนขี่จักรยานจากสวนหลวง เฉลิมพระเกียรติ จอดจักรยานแล้วนั่งรถไฟฟ้าเข้าเมือง ก็ทำให้ระบบ Feeder สมบูรณ์ขึ้น มิติที่ 2 คือ เรื่องการเดินทางระดับ Feeder ส่วน Long route (เส้นทางยาว) ต้องดูอีกทีว่าเส้นทางไหนเหมาะ แต่เส้นทางที่น่าสนใจคือเลียบคลอง
อย่างคลองแสนแสบเคยวิ่งจากถนนวิทยุไปถึงตลาดน้ำขวัญเรียม มีนบุรี พอไปได้มีบางจุดต้องปรับปรุง ถ้าวิ่งได้จักรยานก็น่าจะไปได้ และมิติที่ 3 ที่สำคัญมาก ๆ คือ เรื่องการท่องเที่ยว ถ้าไปในเมืองจะเห็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติขี่จักรยานท่องเที่ยวตามชุมชน ได้มิติของการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจด้วย เป็นมิติที่น่าสนใจ อาจทำ Route (เส้นทาง) จักรยานที่ Unseen (ไม่เคยเห็น) ไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับรถถนนใหญ่ แวะท่องเที่ยวตามชุมชน จักรยานก็เป็นตัวชี้วัดความเจริญของเมือง ไม่สร้างก๊าซเรือนกระจก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และชุมชน คงไม่ได้หวังให้ทุกคนขี่จักรยานไปทำงาน แต่พยายามเอาจักรยานเข้ามาในชีวิตจริง การออกกำลังกาย การท่องเที่ยว และการเดินทางที่เป็นระบบ แล้วก็อยากทำ Car Free Day ไม่ใช่ทำวันเดียวอาจทำทุกวันอาทิตย์ เป็น Car Free Sunday หาพื้นที่ขี่จักรยาน เป้าหมายไม่ใช่แก้รถติดแต่ทำให้คนเดินทางคล่องตัวขึ้น
“จักรยานเป็นการเดินทางทางเลือก ถ้าสามารถทำให้ใช้ในการเดินทาง ออกกำลังกาย และท่องเที่ยวได้ เมืองหลายแห่งในโลกที่เป็นเมืองเมืองที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีล้วนมีจักรยานเป็นทางเลือกในการเดินทาง อาจจะเลือกเส้นทางที่มีความพร้อม พัฒนาเส้นทางให้ดี มีที่จอดจักรยานที่ปลอดภัย หัวใจของการทำจักรยานให้ได้ประโยชน์จริง ๆ ต้องเอาคนที่ใช้มาทำช่วยคิดคำตอบด้วย ถ้ามีคนที่เข้าใจวิถีชีวิตของคนขี่จักรยานจริงสามารถทำให้เกิดเป็นรูปธรรมได้ไม่ยาก จริง ๆ เส้นทางจักรยานมีอยู่แล้ว ปรับปรุงให้ดีขึ้น 2 เดือนน่าจะเห็นผล ในส่วนที่ กทม. ทำได้ก็ทำเอง ส่วนที่ขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องขอความร่วมมือ ส่วนเส้นทางริมคลองมีอยู่แล้ว แค่ดูแลมอเตอร์ไซค์ให้เข้มข้นหน่อย ในเรื่องความเร็ว ถึงจุดให้รีบออกซอยหลักให้เข้าถนนหลัก งบประมาณที่ใช้ไม่น่าเยอะ เชื่อว่าหลาย ๆ ส่วนมีอยู่แล้ว อาจใช้งบแปรญัตติของปีนี้ ถ้าไม่มีในปีหน้าก็ใส่เข้าไป นอกจากนี้ต้องสร้างการเรียนรู้ให้อยู่ด้วยกันให้ได้ ทั้งคนเดินเท้ากับจักรยาน รถจักรยานกับรถในถนน เพื่อให้ทุกคนเข้าใจซึ่งกันและกัน เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้ที่ใช้ชีวิตที่ต่างจากเรา” ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวเพิ่มเติม
ทั้งนี้ในพิธีเปิดมี นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยผู้อำนวยการเขตประเวศ ผู้บริหาร A Day ผู้บริหาร ศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ เขตประเวศ และประชาชนร่วมพิธี
----------------------------------(พัทธนันท์...สปส. รายงาน) ขอบคุณภาพและข่าวจากเพจ prbangkok.com
“จักรยานเป็นการเดินทางทางเลือก ถ้าสามารถทำให้ใช้ในการเดินทาง ออกกำลังกาย และท่องเที่ยวได้ เมืองหลายแห่งในโลกที่เป็นเมืองเมืองที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีล้วนมีจักรยานเป็นทางเลือกในการเดินทาง อาจจะเลือกเส้นทางที่มีความพร้อม พัฒนาเส้นทางให้ดี มีที่จอดจักรยานที่ปลอดภัย หัวใจของการทำจักรยานให้ได้ประโยชน์จริง ๆ ต้องเอาคนที่ใช้มาทำช่วยคิดคำตอบด้วย ถ้ามีคนที่เข้าใจวิถีชีวิตของคนขี่จักรยานจริงสามารถทำให้เกิดเป็นรูปธรรมได้ไม่ยาก จริง ๆ เส้นทางจักรยานมีอยู่แล้ว ปรับปรุงให้ดีขึ้น 2 เดือนน่าจะเห็นผล ในส่วนที่ กทม. ทำได้ก็ทำเอง ส่วนที่ขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องขอความร่วมมือ ส่วนเส้นทางริมคลองมีอยู่แล้ว แค่ดูแลมอเตอร์ไซค์ให้เข้มข้นหน่อย ในเรื่องความเร็ว ถึงจุดให้รีบออกซอยหลักให้เข้าถนนหลัก งบประมาณที่ใช้ไม่น่าเยอะ เชื่อว่าหลาย ๆ ส่วนมีอยู่แล้ว อาจใช้งบแปรญัตติของปีนี้ ถ้าไม่มีในปีหน้าก็ใส่เข้าไป นอกจากนี้ต้องสร้างการเรียนรู้ให้อยู่ด้วยกันให้ได้ ทั้งคนเดินเท้ากับจักรยาน รถจักรยานกับรถในถนน เพื่อให้ทุกคนเข้าใจซึ่งกันและกัน เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้ที่ใช้ชีวิตที่ต่างจากเรา” ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวเพิ่มเติม
ทั้งนี้ในพิธีเปิดมี นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยผู้อำนวยการเขตประเวศ ผู้บริหาร A Day ผู้บริหาร ศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ เขตประเวศ และประชาชนร่วมพิธี
----------------------------------(พัทธนันท์...สปส. รายงาน) ขอบคุณภาพและข่าวจากเพจ prbangkok.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น