เอร์วิน วาน เดอ บอร์ก ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เผยว่า การประหารชีวิตเหล่านี้ถือเป็นการลิดรอนชีวิตตามอำเภอใจ และเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของรายงานด้านสิทธิมนุษยชนที่โหดร้ายของเมียนมา ชายสี่คนถูกศาลทหารตัดสินลงโทษจากการพิจารณาคดีอย่างลับๆ และไม่ยุติธรรมอย่างยิ่ง ประชาคมระหว่างประเทศต้องดำเนินการทันทีเนื่องจากเชื่อว่ามีผู้ต้องโทษประหารชีวิตมากกว่า 100 คน หลังจากถูกตัดสินโทษในการดำเนินคดีลักษณะเดียวกัน
“เป็นเวลากว่าหนึ่งปีแล้วที่กองทัพเมียนมาได้กระทำการสังหารนอกกระบวนการยุติธรรม การทรมาน และการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกด้าน กองทัพจะเหยียบย่ำชีวิตของผู้คนต่อไปหากพวกเขาไม่ต้องรับผิดชอบ”
“ในช่วงเวลาที่ประเทศต่างๆ จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ กำลังดำเนินการยกเลิกโทษประหารชีวิต การนำการประหารชีวิตกลับมาใช้อีกครั้งหลังจากผ่านไปกว่าสามทศวรรษไม่เพียงแต่ขัดแย้งกับแนวโน้มทั่วโลก แต่ยังขัดต่อเป้าหมายของการยกเลิกโทษประหารชีวิตที่อยู่ภายใต้กฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ การโดดเดี่ยวตนเองของเมียนมาปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนที่สุด เราขอเรียกร้องให้กองทัพระงับการประหารชีวิตโดยทันทีเป็นขั้นตอนสำคัญอันดับแรก”
ข้อมูลพื้นฐาน
สื่อของรัฐบาลเมียนมาระบุว่ามีการประหารชีวิตไปแล้ว 4 ครั้ง
เพียว เซยา ตอร์ (Phyo Zeya Thaw) อดีตสมาชิกของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ของอองซานซูจี และจ่อ มิน ยู (Kyaw Min Yu) นักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยคนสำคัญ หรือที่รู้จักในชื่อ โก จิมมี่ (Ko Jimmy) ถูกศาลทหารตัดสินลงโทษประหารชีวิตในเดือนมกราคมในความผิดเกี่ยวกับวัตถุระเบิด การวางระเบิด และให้เงินสนับสนุนการก่อการร้ายภายใต้กฎหมายต่อต้านการก่อการร้าย ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเชื่อว่ามีแรงจูงใจทางการเมือง นอกจากนั้นยังมีชายอีก 2 คน ซึ่งถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานฆาตกรรมหญิงที่เชื่อว่าเป็นผู้ที่แจ้งข่าวให้กองทัพในเขตหล่ายธาร์ยาร์ (Hlaing Tharyar) ในย่างกุ้งก็ได้รับการยืนยันโทษประหารเช่นกัน
โดยทั้ง 4 คนมีชื่ออยู่ในรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ของรัฐ Global New Light of Myanmar
การดำเนินคดีต่อหน้าศาลที่ทหารควบคุมนั้นเป็นความลับและไม่ยุติธรรมอย่างยิ่ง
ภายหลังการออกคำสั่งกฎอัยการศึกที่ 3/2021 ของกองทัพเมียนมา อำนาจในการพิจารณาคดีต่อพลเรือนก็ถูกโอนไปยังศาลทหารพิเศษหรือศาลทหารที่มีอยู่ ซึ่งบุคคลจะได้รับการพิจารณาคดีอย่างรวบรัดโดยไม่มีสิทธิในการอุทธรณ์
ศาลเหล่านี้พิพากษาความผิดที่หลากหลายรวมถึงความผิดที่มีโทษประหารชีวิต ภายใต้กฎหมายและมาตรฐานระหว่างประเทศ การประหารชีวิตหลังจากการพิจารณาคดีที่ไม่ยุติธรรมถือเป็นการละเมิดข้อห้ามต่อการลิดรอนชีวิตตามอำเภอใจ รวมถึงข้อห้ามต่อการทรมานและการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี
การประหารชีวิตที่ทราบครั้งล่าสุดของเมียนมาเกิดขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1980 นับตั้งแต่รัฐประหารในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้บันทึกการใช้โทษประหารชีวิตในเมียนมาที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ ซึ่งได้กลายเป็นเครื่องมือสำหรับกองทัพในการปราบปราม ข่มขู่ และคุกคามอย่างต่อเนื่องต่อทุกคนที่กล้าท้าทายกองทัพ
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลคัดค้านโทษประหารชีวิตทุกกรณีโดยไม่มีข้อยกเว้น ประเทศต่างๆ มากกว่าสองในสามของประเทศทั่วโลกได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตทั้งในทางกฎหมายหรือทางปฏิบัติแล้ว
“ในช่วงเวลาที่ประเทศต่างๆ จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ กำลังดำเนินการยกเลิกโทษประหารชีวิต การนำการประหารชีวิตกลับมาใช้อีกครั้งหลังจากผ่านไปกว่าสามทศวรรษไม่เพียงแต่ขัดแย้งกับแนวโน้มทั่วโลก แต่ยังขัดต่อเป้าหมายของการยกเลิกโทษประหารชีวิตที่อยู่ภายใต้กฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ การโดดเดี่ยวตนเองของเมียนมาปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนที่สุด เราขอเรียกร้องให้กองทัพระงับการประหารชีวิตโดยทันทีเป็นขั้นตอนสำคัญอันดับแรก”
ข้อมูลพื้นฐาน
สื่อของรัฐบาลเมียนมาระบุว่ามีการประหารชีวิตไปแล้ว 4 ครั้ง
เพียว เซยา ตอร์ (Phyo Zeya Thaw) อดีตสมาชิกของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ของอองซานซูจี และจ่อ มิน ยู (Kyaw Min Yu) นักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยคนสำคัญ หรือที่รู้จักในชื่อ โก จิมมี่ (Ko Jimmy) ถูกศาลทหารตัดสินลงโทษประหารชีวิตในเดือนมกราคมในความผิดเกี่ยวกับวัตถุระเบิด การวางระเบิด และให้เงินสนับสนุนการก่อการร้ายภายใต้กฎหมายต่อต้านการก่อการร้าย ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเชื่อว่ามีแรงจูงใจทางการเมือง นอกจากนั้นยังมีชายอีก 2 คน ซึ่งถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานฆาตกรรมหญิงที่เชื่อว่าเป็นผู้ที่แจ้งข่าวให้กองทัพในเขตหล่ายธาร์ยาร์ (Hlaing Tharyar) ในย่างกุ้งก็ได้รับการยืนยันโทษประหารเช่นกัน
โดยทั้ง 4 คนมีชื่ออยู่ในรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ของรัฐ Global New Light of Myanmar
การดำเนินคดีต่อหน้าศาลที่ทหารควบคุมนั้นเป็นความลับและไม่ยุติธรรมอย่างยิ่ง
ภายหลังการออกคำสั่งกฎอัยการศึกที่ 3/2021 ของกองทัพเมียนมา อำนาจในการพิจารณาคดีต่อพลเรือนก็ถูกโอนไปยังศาลทหารพิเศษหรือศาลทหารที่มีอยู่ ซึ่งบุคคลจะได้รับการพิจารณาคดีอย่างรวบรัดโดยไม่มีสิทธิในการอุทธรณ์
ศาลเหล่านี้พิพากษาความผิดที่หลากหลายรวมถึงความผิดที่มีโทษประหารชีวิต ภายใต้กฎหมายและมาตรฐานระหว่างประเทศ การประหารชีวิตหลังจากการพิจารณาคดีที่ไม่ยุติธรรมถือเป็นการละเมิดข้อห้ามต่อการลิดรอนชีวิตตามอำเภอใจ รวมถึงข้อห้ามต่อการทรมานและการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี
การประหารชีวิตที่ทราบครั้งล่าสุดของเมียนมาเกิดขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1980 นับตั้งแต่รัฐประหารในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้บันทึกการใช้โทษประหารชีวิตในเมียนมาที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ ซึ่งได้กลายเป็นเครื่องมือสำหรับกองทัพในการปราบปราม ข่มขู่ และคุกคามอย่างต่อเนื่องต่อทุกคนที่กล้าท้าทายกองทัพ
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลคัดค้านโทษประหารชีวิตทุกกรณีโดยไม่มีข้อยกเว้น ประเทศต่างๆ มากกว่าสองในสามของประเทศทั่วโลกได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตทั้งในทางกฎหมายหรือทางปฏิบัติแล้ว
(ขอบคุณภาพจาก ไอลอว์)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น