เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 65 เวลา 19.30 น. นายอนุกูล ปีดแก้ว อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ลงพื้นที่ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดชลบุรี พร้อมเปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผู้ก่อเหตุแอบหนีไปซื้อสุรามาดื่มจนมึนเมา ประกอบกับเงินหาย และผู้เสียชีวิตพูดขึ้นมาว่า
“สงสัยจะเป็นผมมั้ง” ทำให้ผู้ก่อเหตุบันดาลโทสะ แล้วก่อเหตุฆาตกรรมสยองขึ้นภายในศูนย์ฯ
นายอนุกูล กล่าวต่อไปว่า การดูแลผู้ใช้บริการในศูนย์คุ้มครองฯ มีการจัดเวรเจ้าหน้าที่ดูแลผู้ใช้บริการตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน วันละ 1 คน และในวันเกิดเหตุมีเจ้าหน้าที่เวรเป็นผู้หญิงปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ใช้บริการภายในศูนย์ฯ ทั้งหมด จำนวน 11 คน มีระเบียบการเข้าพักอาศัยชัดเจน ประกอบด้วย ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามดื่มสุรา ห้ามทะเลาะวิวาท ห้ามลักขโมย ฯลฯ เวลาเกิดเหตุเป็นยามวิกาล เป็นเวลานอนของผู้ใช้บริการ ตอนเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ได้รีบรุดไปที่เกิดเหตุ พร้อมประสานตำรวจ และสายด่วน 1669 เพื่อรับตัวผู้ได้รับบาดเจ็บไปรักษา แต่ก็เสียชีวิตในเวลาต่อมา
ซึ่งตนรู้สึกเสียใจกับเหตุการณ์ในครั้งนี้
เบื้องต้นได้ติดต่อไปทางญาติผู้เสียชีวิต ซึ่งจะได้ดำเนินการเรื่องงานศพต่อไป ส่วนผู้ก่อเหตุให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการตามกฎหมาย
สำหรับแนวทางการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำ เนื่องจากศูนย์คุ้มครองฯ เป็นสถานแรกรับซึ่งพักอาศัยชั่วคราว การจัดทำแผนการให้บริการจึงมีข้อจำกัด เนื่องจากผู้ใช้บริการบางคนไม่ปรากฏอาการทางจิตเด่นชัด ทั้งนี้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการจะดำเนินการ ดังนี้ 1. ประสานความร่วมมือกับกรมสุขภาพจิตในเรื่องการตรวจสุขภาพจิตเบื้องต้นให้กับผู้ใช้บริการในสถานรองรับ และจะนำข้อจำกัดดังกล่าว ไปหารือกรมสุขภาพจิตเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา 2. กรณีเร่งด่วน ผู้ใช้บริการที่ให้ข้อมูลไม่ชัดเจน จะประสานโรงพยาบาลในการตรวจประเมินสภาพจิตเบื้องต้น และตรวจประวัติอาชญากรรม ส่วนในระยะยาวจะนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาดูแลผู้ใช้บริการ เช่น กล้องวงจรปิด ฯลฯ 3. จัดให้มีกรอบอัตรานักจิตวิทยาในศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง และ 4. มีหนังสือสั่งการไปยังศูนย์คุ้มครองทั่วประเทศ ถึงมาตรการในการดูแลผู้ใช้บริการ กำชับ เข้มงวดยิ่งขึ้นในการดูแลและเฝ้าระวังในเรื่องความปลอดภัยภายในศูนย์ฯ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำอีก
สำหรับแนวทางการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำ เนื่องจากศูนย์คุ้มครองฯ เป็นสถานแรกรับซึ่งพักอาศัยชั่วคราว การจัดทำแผนการให้บริการจึงมีข้อจำกัด เนื่องจากผู้ใช้บริการบางคนไม่ปรากฏอาการทางจิตเด่นชัด ทั้งนี้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการจะดำเนินการ ดังนี้ 1. ประสานความร่วมมือกับกรมสุขภาพจิตในเรื่องการตรวจสุขภาพจิตเบื้องต้นให้กับผู้ใช้บริการในสถานรองรับ และจะนำข้อจำกัดดังกล่าว ไปหารือกรมสุขภาพจิตเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา 2. กรณีเร่งด่วน ผู้ใช้บริการที่ให้ข้อมูลไม่ชัดเจน จะประสานโรงพยาบาลในการตรวจประเมินสภาพจิตเบื้องต้น และตรวจประวัติอาชญากรรม ส่วนในระยะยาวจะนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาดูแลผู้ใช้บริการ เช่น กล้องวงจรปิด ฯลฯ 3. จัดให้มีกรอบอัตรานักจิตวิทยาในศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง และ 4. มีหนังสือสั่งการไปยังศูนย์คุ้มครองทั่วประเทศ ถึงมาตรการในการดูแลผู้ใช้บริการ กำชับ เข้มงวดยิ่งขึ้นในการดูแลและเฝ้าระวังในเรื่องความปลอดภัยภายในศูนย์ฯ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำอีก นายอนุกูลกล่าวในตอนท้าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น