ปลัด พม. ศึกษาสถานการณ์การใช้กัญชา-กัญชง ณ น ครนิวยอร์ก เตรียมออกแนวทางให้ความรู้แก่เด็ก เยาวชนไทย ป้องกันผลกระทบทางสังคม..99 - MSK News

Breaking

Home Top Ad

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ปลัด พม. ศึกษาสถานการณ์การใช้กัญชา-กัญชง ณ น ครนิวยอร์ก เตรียมออกแนวทางให้ความรู้แก่เด็ก เยาวชนไทย ป้องกันผลกระทบทางสังคม..99

เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2565 นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) เยี่ยมชมร้านค้าจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากกัญชาในนครนิวยอร์ก ระหว่างการเข้าร่วมประชุมหารือระดับสูงทางการเมืองว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปี 2565 (High-level Political Forum on Sustainable Development: HLPF2022) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 – 15 กรกฎาคม 2565 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกานางพัชรี กล่าวว่า ตนได้รับแต่งตั้งจากประธานคณะกรรมการบูรณาการนโยบายพืชกัญชาและกัญชงให้เป็นประธานคณะอนุกรรมการด้านการให้ความรู้แก่เยาวชนและประชาชนเพื่อป้องกันผลกระทบทางสังคม อีกทั้งภารกิจในการดูแล ปกป้อง คุ้มครองเด็กและเยาวชนของกระทรวง พม. ตนจึงมีความสนใจศึกษาสถานการณ์การใช้กัญชาและกัญชงของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนของสหรัฐอเมริกาทั้งนี้จากการเยี่ยมชมร้านค้าจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากกัญชา กํญชง ในนครนิวยอร์ก พบว่ามีผลิตภัณฑ์รูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นลูกอม เยลลี่ แคปซูล รวมทั้งผลิตภัณฑ์รูปแบบเม็ดและผง ซึ่งอาจใช้กิน ดื่ม สูบ หรือวิธีการอื่นได้ โดยได้เปิดจำหน่ายอย่างเสรีให้แก่ประชาชนทั่วไปที่แสดงหลักฐานว่ามีอายุ 21 ปีขึ้นไป

นางพัชรี กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ จากการพูดคุยกับผู้ขายทำให้ทราบว่า เด็กและเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 21 ปี ยังสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์จากกัญชาได้ไม่ยาก หากซื้อผ่านผู้ที่อายุผ่านเกณฑ์หรือมีความสนิทสนมกับผู้ขาย ซึ่งในประเด็นนี้ ทำให้ตนมีความห่วงกังวลต่อเด็กและเยาวชนไทยอยู่พอสมควร เนื่องจากผลิตภัณฑ์จากกัญชามีความหลากหลาย เด็กและเยาวชนจึงสามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยผู้ปกครองอาจไม่ทราบ

นางพัชรี กล่าวเพิ่มเติมว่า อย่างไรก็ดี ตนจะได้รวบรวมประโยชน์และโทษ การเข้าถึง รูปแบบการใช้ รวมถึงผลกระทบทางสังคมที่อาจเกิดจากการใช้พืชกัญชาและกัญชง เพื่อหารือกับคณะอนุกรรมการฯ เพื่อจัดทำเป็นแนวทางการให้ความรู้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป ได้รู้เท่าทัน และสามารถใช้พืชกัญชาและกัญชงให้เกิดประโยชน์มากกว่าโทษ รวมถึงวางแนวทางในการดูแลเด็ก เยาวชน และครอบครัวที่อาจได้รับผลกระทบจากเรื่องดังกล่าวในอนาคตต่อไป 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น