นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานพิธีเปิดการประชุมแถลงผลงานวิจัยสิ้นสุด ปี 2559 - 2564 กรมวิชาการเกษตร “กรมวิชาการเกษตรร่วมใจ มุ่งสู่เศรษฐกิจใหม่ เพื่อความมั่นคงทางอาหาร DOA Together for BCG and Food Security” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 – 20 กรกฎาคม 2565 ณ โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ว่า การจัดงานในครั้งนี้เป็นการประชุมแถลงผลงานวิจัยที่มีคุณค่าของกรมวิชาการเกษตร นับเป็นโอกาสดีสำหรับนักวิจัยซึ่งเป็นผู้ผลิตผลงาน และผู้ใช้ผลงานซึ่งเป็นพี่น้องเกษตรกร ผู้ประกอบการ ภาคเอกชน และหน่วยงานภาครัฐ ที่จะได้รับรู้ แลกเปลี่ยน นำผลงานวิจัยไปพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการผลิต เพื่อให้เกิดการบูรณาการและทำงานวิจัยร่วมกันให้สอดคล้องกับแนวทางของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ทั้งในด้านการวิจัยรองรับการขับเคลื่อนประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG มุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน งานวิจัยที่สร้างรายได้ และเพิ่มอัตราการขยายตัวของ GDP ภาคเกษตร งานวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์พืชใหม่ ซึ่งยังคงเป็นผลงานที่โดดเด่นของกรมวิชาการเกษตร และการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเข้ามาช่วยเพื่อลดระยะเวลาการวิจัย ให้ผลงานออกสู่พี่น้องเกษตรกรโดยเร็ว
รมช.เกษตรฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า
ด้านนายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า การประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นรวมทั้งสิ้น 3 วัน เป็นการรายงานผลงานวิจัย นวัตกรรมรวม 29 เรื่องหลัก เพื่อแถลงผลงานวิจัยไปสู่สาธารณะ สร้างการยอมรับและนำไปปรับใช้ในกระบวนการผลิตให้สอดรับกับตลาดสินค้าเกษตรสมัยใหม่ ตลอดจนการรับฟังความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ จากผู้เกี่ยวข้องในด้านการวิจัยและการผลิต มีผู้เข้าร่วมประกอบด้วยผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย ตัวแทนจากหน่วยงานรัฐ บริษัทเอกชน เกษตรกร และประชาชนผู้สนใจ
รมช.เกษตรฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า
นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงการวิจัยและการทำงานเพื่อรองรับภาวะวิกฤติของประเทศ อาทิ ภาวะภัยแล้ง ปัญหาการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช รวมไปถึงมาตรการกีดกันทางการค้าต่างๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของประเทศ ซึ่งจากการดำเนินงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตรในระยะ 5 ปี ที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2559 - 2564 ทำให้เกิดผลงานวิจัยที่มีคุณค่ามากมาย ไม่น้อยกว่า 900 ต้นแบบเทคโนโลยี และกรมวิชาการเกษตรได้ขับเคลื่อนผลงานไปสู่ภาคการเกษตร จึงเชื่อมั่นว่าการประชุมแถลงผลงานในครั้งนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าต่อทุกภาคส่วน
ด้านนายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า การประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นรวมทั้งสิ้น 3 วัน เป็นการรายงานผลงานวิจัย นวัตกรรมรวม 29 เรื่องหลัก เพื่อแถลงผลงานวิจัยไปสู่สาธารณะ สร้างการยอมรับและนำไปปรับใช้ในกระบวนการผลิตให้สอดรับกับตลาดสินค้าเกษตรสมัยใหม่ ตลอดจนการรับฟังความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ จากผู้เกี่ยวข้องในด้านการวิจัยและการผลิต มีผู้เข้าร่วมประกอบด้วยผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย ตัวแทนจากหน่วยงานรัฐ บริษัทเอกชน เกษตรกร และประชาชนผู้สนใจ
ทั้งนี้ การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านพืช เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคการเกษตรของประเทศไทย เป็นภารกิจที่สำคัญของกรมวิชาการเกษตร โดยในปี 2564 กรมวิชาการเกษตรได้รับงบประมาณสนับสนุนด้านการวิจัย ตามแผนงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) รวมทั้งสิ้น 388 ล้านบาท เพื่อดำเนินงานวิจัยใน 29 แผนงานวิจัย (255 โครงการวิจัย) ต่อเนื่องจากปี 2559
จนกระทั่งสิ้นสุดกระบวนการวิจัยในปี 2564 รวมงบประมาณทั้งสิ้น 2,508 ล้านบาท ส่งผลให้กรมวิชาการเกษตร เกิดผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณค่า พร้อมที่จะนำไปเผยแพร่สู่สาธารณะ ไม่น้อยกว่า 900 ต้นแบบเทคโนโลยี อาทิ
1.พืชพันธุ์พืชใหม่รองรับตลาดเฉพาะและภาคอุตสาหกรรม 16 ชนิด (49 พันธุ์) พันธุ์พืชท้องถิ่นที่มีศักยภาพในอนาคต 19 ชนิด
1.พืชพันธุ์พืชใหม่รองรับตลาดเฉพาะและภาคอุตสาหกรรม 16 ชนิด (49 พันธุ์) พันธุ์พืชท้องถิ่นที่มีศักยภาพในอนาคต 19 ชนิด
พร้อมทั้งเทคโนโลยีการผลิตพืชท้องถิ่น 41 ชนิด พืช GI รวม 9 ชนิดพืช 2. สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนเกษตรกรรม จากการใช้ชุดเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น 20-50 % และได้พัฒนาไปสู่เว็บแอปพลิเคชันระบบพยากรณ์ผลผลิตในไม้ผลเศรษฐกิจ ระบบให้คำแนะนำในการใช้ปุ๋ยในปาล์มน้ำมัน ระบบการประเมินการระบาดของศัตรูพืชมันสำปะหลัง
3. นวัตกรรมด้านอารักขาพืชแก้ไขปัญหา โรคใบขาวอ้อย โรคใบด่างมันสำปะหลัง หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด ช่วยลดการสูญเสียผลผลิตทางการเกษตรและค่าใช้จ่ายในการป้องกันกำจัดมากกว่าร้อยล้านบาทต่อปี 4. สร้างผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผลิตภัณฑ์ใหม่จากฐานพันธุกรรมพืช สู่อุตสาหกรรมอาหารและเวชสำอาง และยกระดับมาตรฐานการผลิต และ 5. พัฒนาชุดตรวจสอบศัตรูพืชแบบแม่นยําสูง วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชสำหรับการเจรจาเปิดตลาดสินค้า จัดทำมาตรการสุขอนามัยพืชในการนำเข้า-ส่งออก สินค้าเกษตร ซึ่งส่งผลต่อตลาดเมล็ดพันธุ์และตลาดสินค้าเกษตร ที่มีมูลค่าไม่น้อยกว่า 8 แสนล้านบาทต่อปี เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น