ปลัดมหาดไทย เน้นย้ำ ผู้ว่าฯ สกลนคร นายอำเภอ และภาคีเครือข่ายโคก หนอง นา น้อมนำพระราชดำริฯ...00 - MSK News

Breaking

Home Top Ad

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ปลัดมหาดไทย เน้นย้ำ ผู้ว่าฯ สกลนคร นายอำเภอ และภาคีเครือข่ายโคก หนอง นา น้อมนำพระราชดำริฯ...00

เมื่อวันที่ 30 ก.ค. 65 เวลา 15.30 น. ที่ศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบ “โคก หนอง นา” นายบัญชา ราษีมิน บ้านเจริญศิลป์ หมู่ที่ 1 ต.เจริญศิลป์ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นำสรุปบทเรียนกิจกรรมเอามื้อสามัคคี พร้อมมอบแนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อนกิจกรรมทฤษฎีใหม่รูปแบบ โคก หนอง นา และประกาศเจตนารมณ์เดินตามรอยพ่อ โดยมี นางจุรีรัตน์ เทพอาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร นายชานน วาสิกศิริ นายชูศักดิ์ รู้ยิ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร นายปัญญา ศรีสมยา กรรมการศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน ตำบลวานรนิวาส นายบัญชา ราษีมิน ที่ปรึกษาศูนย์เรียนรู้โคกหินแห่โมเดล นายศุภมิตร ชัยนา ประธานศูนย์เรียนรู้โคกหินแห่โมเดล พร้อมหัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ ข้าราชการ และภาคีเครือข่ายโคก หนอง นา ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ร่วมรับฟังและร่วมกิจกรรม

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ขอขอบคุณนายบัญชา ราษีมิน (ครูม่อน) นางสาวกาญจนี ละศรีจันทร์ (ครูนง) และครูโอ๋ ที่ได้ช่วยสนับสนุน ส่งเสริม และอำนวยความสะดวกในการลงมือปฏิบัติผ่านกระบวนการเรียนรู้ในศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบ “โคก หนอง นา” บ้านเจริญศิลป์ แห่งนี้ อันเป็นการสนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมุ่งมั่นในการสืบสาน รักษา และต่อยอดศาสตร์พระราชาและแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการน้อมนำเอาหลักทฤษฎีใหม่ที่มีมากกว่า 40 ทฤษฎี มาทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่างยั่งยืนด้วยการพึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา ดังพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2562 “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป” อันเป็นสัจจะวาจาที่พระองค์ท่านทรงขับเคลื่อนอย่างจริงจัง และพระราชทานกำลังใจให้กับพสกนิกรของพระองค์ ไม่ว่าจะเป็น 1) โครงการโคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง ที่ได้รับการขับเคลื่อนผ่านการพัฒนาผู้ต้องขังในเรือนจำให้ได้รับองค์ความรู้และฝึกฝนทักษะในการใช้ชีวิตประจำวันตามหลักการช่วยเหลือพึ่งพาตนเองก่อนจะพ้นโทษ เพื่อให้สามารถช่วยเหลือพึ่งพาตนเอง ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขร่วมกับผู้อื่นได้ 2) พระราชทานหลักสูตรโคก หนอง นา เป็นหลักสูตรฝึกอบรมในโรงเรียนจิตอาสาพระราชทาน 3) พระราชทานภาพวาดฝีพระหัตถ์ 4) ทรงกำหนดหลักสูตรฝึกสอนข้าราชบริพารให้ได้เรียนรู้หลักการของโคก หนอง นา ในบริเวณพระที่นั่งวิมานเมฆ พระราชวังดุสิต และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำผลผลิตจากแปลงโคก หนอง นา พระราชทานแก่ข้าราชบริพาร ด้วยเพราะทรงอยากเห็นพสกนิกรมีความสุขอย่างยั่งยืนด้วยการพึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

“หลังจากได้ร่วมกิจกรรมเอามื้อสามัคคี และเดินชมบริเวณแปลงโคก หนอง นา บ้านเจริญศิลป์แห่งนี้ ร่วมกับทุกท่าน ทำให้ได้เห็นเป็นที่ประจักษ์และจินตนาการถึงในอดีตที่บริเวณนี้จากเป็นพื้นที่เป็นหินกรวด หรือหินแห่ นั่นคือ มีแต่ดินลูกรัง/หินคลุก เต็มพื้นที่ แต่ด้วยการน้อมนำทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา มาใช้ ทำให้สามารถฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในแปลงที่ดินทั้ง 20 กว่าไร่ให้อุดสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหาร เป็นแหล่งร่มเย็นเป็นสุข และในอนาคตจะมีไม้ใช้สอย ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ และสามารถใช้ทำเป็นที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ สิ่งที่พวกเราทุกคนได้ทำกันในวันนี้ ยังเป็นการตอบโจทย์หลักการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN SDGs) ทั้ง 17 ข้อ ซึ่งเป็นการถอดองค์ความรู้จากหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งองค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ (UNDP Human Development Lifetime Achievement Award) เป็นกรณีพิเศษประเภท Life-long achievement ที่ริเริ่มขึ้นใหม่ ทูลเกล้าฯ ถวายแด่ พระองค์ท่านเป็นบุคคลแรกของโลก พร้อมกล่าวถวายรายงานสดุดีพระเกียรติคุณว่า หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นดุจแสงสว่างที่สร้างความหวัง สร้างอนาคต สร้างสิ่งที่ดีให้กับประชาคมโลก ให้เป็นที่พึ่งพิงได้” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเน้นย้ำ

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้กล่าวต่ออีกว่า ในวิถีชีวิตที่อาศัยในพื้นที่แปลงโคก หนอง นา เป็นการประกอบสัมมาชีพในที่ดินของตนเอง ซึ่งในระยะยาวสามารถการันตีได้ว่าไม่ต้องใช้แรงงานคนเยอะ หลังจากเราจัดแจงวางระบบพื้นที่เราครบ เพราะธรรมชาติจะช่วยดูแลธรรมชาติเอง หากแต่การริเริ่มเติมแต่งแห่งที่แปลงที่ดินในช่วงแรกนั้น จะเป็นสถานที่แห่งการหลอมรวมความรัก ความสามัคคี ความเสียสละ ของสมาชิกในชุมชน ในประชาคมตำบล/หมู่บ้าน ตามแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่เรียกว่า "เอามื้อสามัคคี" ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ว่า “การทำเกษตรที่หลากหลาย จะทำให้ธรรมชาติดูแลตนเอง ซึ่งเป็นความมั่นคงระดับครัวเรือน ระดับชุมชน และต่อยอดไปได้ถึงระดับโลก หากทุกคนร่วมมือกัน จึงขอให้ได้ช่วยกันขยายผล ช่วยกันเล่า ช่วยกันบอก ช่วยกันแนะนำผู้ที่สนใจ รวมไปถึงเด็ก เยาวชน ลูก ๆ หลาน ๆ ให้มาศึกษาเรียนรู้ เพื่อนำกลับไปประยุกต์พัฒนาต่อยอดในแปลงที่ดินของตนเองต่อไป

“คนสกลนครโชคดีที่มีองค์ความรู้และภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในเรื่องผ้า ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ได้รับการสืบสาน รักษา และต่อยอดโดย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงทุ่มเทและเสด็จฯ ลงมาช่วยสอน ช่วยแนะนำ ช่วยพัฒนา ก่อเกิดเป็น “ดอนกอยโมเดล” ที่อำเภอพรรณนานิคม จนสามารถพึ่งพาตนเอง สามารถผลิต ใช้วัสดุธรรมชาติ พัฒนาจนเกิดรายได้ดี จากเดิมเดือนละ 700 บาทต่อเดือน เมื่อได้รับพระมหากรุณา ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นเดือนละ 7,000 – 10,000 บาท นอกจากนี้ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงมีพระราชดำริในการสร้างความมั่นคงทางอาหารผ่านโครงการพระราชดำริ “บ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง” และ “ทางนี้มีผลผู้คนรักกัน” ด้วยการใช้พื้นที่ภายในบ้านปลูกพืชผักสวนครัว รวมถึงพืชสมุนไพรต่าง ๆ ด้วยการเป็น "ผู้นำต้องทำก่อน" ทั้งภายในจวนผู้ว่าราชการจังหวัด บ้านพักรองผู้ว่าราชการจังหวัด บ้านพักนายอำเภอ และบ้านทุกท่าน เพราะการปลูกผักสวนครัวภายในครัวเรือน นอกจากจะช่วยลดรายจ่ายครอบครัว ประหยัดได้ 50 บาท/วัน เมื่อคำนวณ 10 ล้านครัวเรือน จะเท่ากับวันละ 500 ล้านบาท แล้ว เรายังมีผักปลอดสารพิษรับประทาน สร้างเสริมสุขภาพให้ร่างกาย และยังช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับสภาพแวดล้อมอีกด้วย" นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเพิ่มเติม

ในช่วงท้าย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า นอกจากนี้ ขอให้ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด ท่านนายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการ และพี่น้องภาคีเครือข่ายทุกท่าน ได้ช่วยกันส่งเสริมให้มีอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) ในทุกครัวเรือน และรณรงค์ให้ทุกบ้านจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนในบริเวณบ้าน เพื่อส่งเสริมการแยกขยะเปียก ขยะจากเศษอาหาร ซึ่งสามารถใช้เป็นปุ๋ยหมักบำรุงพืชผักสวนครัว และเป็นการส่งเสริมการแยกขยะตั้งแต่ครัวเรือน สร้างระบบบริหารจัดการขยะในภาพรวม อันสอดคล้องกับสิ่งที่พวกเราทุกคนกำลังทำเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสิ่งที่ดี Change for Good ให้กับประเทศไทยและโลกใบเดียวนี้ของพวกเราทุกคน ทั้งนี้ หากพวกเราทุกคนได้ทำแล้ว ก็ต้องช่วยกันขยายผล ช่วยกันเป็นภาคีเครือข่ายสื่อมวลชน สื่อสารสร้างการรับรู้ให้กับเพื่อนบ้าน ทั้งในรูปแบบการนำผลผลิตจากโคก หนอง นา ผลผลิตจากแปลงผักสวนครัว ไปฝากเพื่อนบ้าน และชักชวนให้ร่วมทำเช่นเดียวกับเรา รวมถึงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของเราเอง ทั้งการโพสต์ข้อความ การแชร์คลิปวีดีโอดีๆ หรือแม้แต่การพูดคุยการชักชวน และชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่เป็นรูปธรรม ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการทำให้สังคมไทย ทำให้พี่น้องคนไทย ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความสุขอย่างยั่งยืน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น