โดย ผศ. นพ. โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยเผยว่า โรคฝีดาษลิงเป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตระกูล ออโธพอกซ์ (orthopox) จากการสัมผัสสารคัดหลั่ง หรือ การรับประทานเนื้อสัตว์ตระกูลสัตว์ฟันแทะ ซึ่งเมื่อติดเชื้อในคนจะทำเกิดอาการไข้ มีผื่นตุ่มน้ำ ตุ่มหนองตามร่างกาย คล้ายโรคฝีดาษ(smallpox) ที่ถูกกำจัดไปแล้วในไปปี ค.ศ 1968
“จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงอัพเดตในวันที่ 14 มิ.ย.65 มีรายงานผู้ป่วยยืนยันประมาณ 1,500 คน กระจายทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศกลุ่มเสี่ยงในแถบยุโรปและอเมริกา โดยเฉพาะในประเทศสเปน อังกฤษ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และโปรตุเกส ที่มีรายงานการระบาดพบจำนวนผู้ติดเชื้อเกิน 20 คน ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ปัจจุบันยังไม่พบรายงานผู้ติดเชื้อในประเทศไทย ซึ่งยังคงต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเชื่อว่ามีการแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ ผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้ออย่างใกล้ชิด เนื่องจากไวรัสมีระยะฟักตัวนานได้ถึง 21 วัน และในบางรายพบว่าอาการผื่นตุ่มน้ำเกิดขึ้นเพียงในเยื่อบุช่องปาก และที่อวัยวะเพศถึง 60% คล้ายกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อย่างเริม หรืออาจจะเป็นเชื้อซิฟิลิส ทำให้ผู้ป่วยอาจไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคฝีดาษลิง ทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อต่อไปยังผู้อื่นได้ สำหรับผู้ที่มีประวัติสัมผัสเสี่ยงสูง มีความจำเป็นต้องกักตัวเพื่อสังเกตอาการอย่างน้อย 3 สัปดาห์ จึงจะสามารถสังเกตอาการที่ชี้ชัดได้ว่าเป็นผู้ป่วยติดเชื้อหรือไม่ หากไม่พบว่ามีการปรากฎ ก็ไม่จัดว่าเป็นผู้ป่วย สำหรับแนวทางการรักษาในปัจจุบัน ผู้ติดเชื้อฝีดาษวานร สามารถรักษาด้วยยาต้านไวรัส 3 กลุ่ม ซึ่งถึงแม้จะยังไม่ใช่ยามาตรฐานเฉพาะสำหรับโรค แต่สามารถใช้ยารักษาฝีดาษในมนุษย์ได้ ได้แก่ Tecovirimat และ Cidofovir, Brincidofovir ซึ่งอาจส่งผลข้างเคียงต่อตับได้เพียงเล็กน้อย และเนื่องจากเป็นโรคติดเชื้อที่สามารถหายได้เองในผู้ป่วยที่มีสุขภาพแข็งแรง และอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างต่ำ การใช้ยาต้านไวรัส ยังมีความจำเป็นเฉพาะผู้ป่วยบางรายได้เท่านั้น ที่มีความเสี่ยงอันตรายจากโรคถึงชีวิต เช่นผู้ที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน ผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือด ซึ่งประชาชนทั่วไปยังไม่มีความจำเป็นต้องรับการฉีดวัคซีนเหมือนกับโรคระบาดอื่น ๆ เช่นโควิด 19 เนื่องจากโอกาสในการแพร่ระบาดยังเป็นวงจำกัด จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ติดเชื้อ ได้แก่ แพทย์ บุคลากรทางการแพทย์เจ้าหน้าที่พยาบาล ที่มีโอกาสสัมผัสโรคนี้ รวมถึงสมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วย ซึ่งสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันหลังจากมีความเสี่ยง” ผศ.นพ. โอภาส กล่าว
ด้าน ดร. พิไลลักษณ์ อัคคไพบูลย์ โอกาดะ หัวหน้าศูนย์ไข้หวัดใหญ่แห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงการวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการว่า เนื่องจากโรคฝีดาษลิงเป็นโรคที่มีข้อมูลและประสบการณ์ในการตรวจหาเชื้อฯ มาแล้ว และด้วยแผนปฏิบัติการฉุกเฉินด้านสาธารณสุขที่มีความพร้อม และการตอบโต้สถานการณ์ระบาดของโรคโควิด 19 ที่ผ่านมา เป็นเสมือนการซ้อมแผนในสถานการณ์จริง ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่มีความพร้อมรับมือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนมีความเชี่ยวชาญและพร้อมในการปฏิบัติงาน จึงสามารถเตรียมการตรวจได้ในทันที ทั้งระบบการคัดกรองและการตรวจวินิจฉัยเชื้อเพื่อช่วยในการยืนยัน โดยในปัจจุบันสามารถใช้วิธี RT-PCR และการถอดรหัสสารพันธุกรรม ซึ่งถือเป็นการป้องกันเชิงรุกที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการตรวจวินิฉัยเชื้อซึ่งจะสามารถแยกผู้ป่วยออกจากสังคมเพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาได้รวดเร็ว ลดการแพร่ระบาดได้
“สำหรับการตรวจวินิจฉัยเชื้อสามารถทำได้โดยเก็บตัวอย่างทั้งการสะกิดแผล เลือด และการสว็อบ ซึ่งผลตรวจจะออกภายใน 24 ชั่วโมง สำหรับการรักษายังคงเป็นการรักษาตามอาการ โดยส่วนใหญ่โรคสามารถหายเองได้ อย่างไรก็ตามน้ำยาสำหรับตรวจ RT-PCR ต้องเป็นน้ำยาที่สามารถตรวจจับเชื้อที่เป็นสาเหตุของการระบาดในปี 2022 นี้ อย่างไรก็ดี สำหรับผู้ที่พบอาการผิดปกติต้องสงสัย สามารถขอเข้ารับการตรวจหาเชื้อได้ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน โดยชุดข้อมูลจากการสอบสวนโรคจากสถานพยาบาลจะถูกส่งไปยังกรมควบคุมโรค ในขณะที่ตัวอย่างเชื้อจะถูกส่งต่อมายังกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อนำไปสู่การตรวจหาเชื้อในห้องปฏิบัติการในห้องชีวนิรภัย ของกรมวิทย์ฯต่อไป ทั้งนี้คณะกรรมการพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์จะมีการพิจารณาระดับความรุนแรงของโรคเพื่อการจัดลำดับอีกครั้ง โดยประเมินจากสถานการณ์ของโรค” ดร. พิไลลักษณ์ กล่าวเสริม
ด้าน ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงการวิเคราะห์รหัสพันธุกรรม และเพื่อวางแผนแนวทางการปัองกันและรักษาว่า โรคฝีดาษลิงที่ระบาดอยู่ในขณะนี้เป็นสายพันธุ์ฝีดาษลิงที่มีการกลายพันธุ์แล้วซึ่งมีการกลายพันธุ์ไปถึง 40 ตำแหน่งเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิม และ มีการกลายพันธุ์เร็วขึ้น ดังนั้นการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของไวรัสก่อโรคฝีดาษลิง (MONKEYPOX) จะช่วยในการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ และช่วยตอบคำถามว่าทำไมจึงมีการระบาดของโรคฝีดาษลิงพร้อมกันกว่า 100 รายในหลายประเทศนอกทวีปแอฟริกา(ซึ่งถือเป็นโรคประจำถิ่น) ทั้งในยุโรบ สหรัฐอเมริกา และ ออสเตรเลีย
“จากการศึกษาในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา มีการกลายพันธุ์เร็วขึ้นเป็น 1 ตำแหน่งต่อเดือน จากเดิมเพียง 1 ตำแหน่งต่อปี ซึ่งการกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นนี้ ถือเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงอันตรายที่ต้องเตรียมรับมือ โดยเชื่อว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะเข้ามาในประเทศไทยในอนาคต อย่างไรก็ตาม หากสงสัยว่ามีการระบาดของโรคฝีดาษลิงในคนเกิดขึ้นในประเทศเป็นจำนวนมาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถทำการ PCR “สวอป” น้ำลาย ส่วนน้ำหรือหนองจากตุ่มแผล ทำการสกัดสารพันธุกรรม (nucleic acid purification) ส่งมายังศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ เพื่อให้ร่วมด้วยช่วยกันถอดรหัสพันธุกรรมได้” ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ กล่าวปิดท้าย
เกี่ยวกับเชื้อไวรัส
โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1985 ในกลุ่มลิงที่เลี้ยงไว้เพื่อใช้ในงานวิจัย อย่างไรก็ตาม ไวรัสชนิดนี้ถูกสันนิษฐานว่าเกิดจากการติดต่อจากสัตว์ป่า เช่น สัตว์ตระกูลหนู มาสู่คน หรือจากคนสู่คน โดยในแถบแอฟริกาตะวันตกและแอฟริกากลาง สามารถพบผู้ติดเชื้อโดยเฉลี่ยประมาณ 2-3 พันรายต่อปี แต่สามารถพบผู้ติดเชื้อนอกแถบทวีปแอฟริกาได้ ซึ่งส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับการเดินทางไปแอฟริกา หรือการนำเข้าสัตว์ที่ติดเชื้อ ทั้งนี้การรักษาและวัคซีนที่ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับไข้ทรพิษถูกคาดการณ์ว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการจำกัดการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงได้1
เกี่ยวกับโรช
โรชก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2439 ที่เมืองบาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และเป็นหนึ่งในผู้ผลิตยารายแรกๆ จวบจนวันนี้ โรชเป็นบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นผู้นำทางด้านศาสตร์แห่งการตรวจวินิจฉัยแบบภายนอกร่างกาย (in-vitro diagnostics) บริษัทฯ มุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศในการค้นคว้าวิจัย และพัฒนาเวชภัณฑ์ รวมถึงวิธีการตรวจวินิจฉัย เพื่อรักษา และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรทั่วโลก โรชคือผู้ริเริ่มรูปแบบการดูแลรักษาสุขภาพแบบเฉพาะบุคคล (Personalised Healthcare) และมุ่งหวังที่จะพลิกโฉมบริการด้านเฮลต์แคร์ บริษัทฯ ได้ร่วมมือกับพันธมิตรต่างๆ มากมายเพื่อส่งมอบการดูแลที่ดีและเหมาะสมที่สุดกับแต่ละบุคคล โดยการผสานความแข็งแกร่งของงานด้านเวชศาสตร์ เข้ากับศาสตร์แห่งการวินิจฉัย และใช้ข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากการปฏิบัติงานจริงทางการแพทย์
ทั้งนี้ ดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices, DJSI) ได้ยกย่องให้โรชเป็นหนึ่งในบริษัทที่ยั่งยืนที่สุดในวงการเภสัชกรรมเป็นระยะเวลาติดต่อกันมาแล้วถึง 13 ปี ถือเป็นเครื่องยืนยันความอุตสาหะ และความมุ่งมั่นในการดำเนินตามวิสัยทัศน์ของโรชได้เป็นอย่างดี อีกทั้ง ยังเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของโรชในการเพิ่มการเข้าถึงบริการเฮลต์แคร์ ผ่านความร่วมมือกับองค์กรพันธมิตรที่มีอยู่ในแต่ละประเทศ
ยีนเอ็นเทค (Genentech) ในสหรัฐอเมริกา เป็นบริษัทที่กลุ่มบริษัทโรชเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด และโรชเป็นผู้ถือหุ้นหลักของบริษัท ชูไก ฟาร์มาซูติคอล (Chugai Pharmaceutical) ในประเทศญี่ปุ่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น