ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญของ ‘ช้าง’ สัตว์คู่บ้านคู่เมืองที่เป็นมรดกทางธรรมชาติ และเป็นสมบัติทางวัฒนธรรม “เครือสหพัฒน์” นำโดย บุญเกียรติ โชควัฒนา ประธานกรรมการ บริษัท เอส แอนด์ เจ อินเตอร์เนชั่นแนลอินเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) ทิพาภรณ์ โชควัฒนา รองประธานกรรมการบริษัทเอสแอนด์เจฯ พร้อมด้วยบริษัทในเครือฯ ได้แก่ บริษัท ท็อปเทรนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด และ บริษัท คิวพี (ประเทศไทย) จำกัด ได้ร่วมใจจัด “งานรับขวัญช้าง” เข้าสู่บ้านใหม่ในโครงการโลกของช้าง ซึ่งจะมีพิธีเซ่นไหว้ศาลปะกำ อันเป็นประเพณีที่ตกทอดกันมาอย่างยาวนานของชาวสุรินทร์ในการทำกิจกรรมเกี่ยวกับช้าง เช่น รับขวัญช้าง ทั้งนี้ได้จัดขึ้น ณ ศูนย์คชศึกษา บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
โดยกิจกรรมการรับขวัญช้างครั้งนี้เป็นการรวมพลังของบริษัทในเครือสหพัฒน์ หลังจากที่ได้มีการไถ่ชีวิตช้างชรา ภายใต้โครงการอนุรักษ์ช้างชราที่เริ่มต้นโดยบริษัทเอส แอนด์ เจฯ ได้ไถ่ชีวิตช้างเชือกแรกเมื่อปี 2554 ตามนโยบายของบุญเกียรติ โชควัฒนา ที่ต้องการให้ช้างชราที่ปลดเกษียณจากการทำงานได้มีโอกาสพักผ่อนในบั้นปลายชีวิต และในปี 2565 ได้ขยายผลต่อไปยังบริษัท ท็อปเทรนด์ฯ และบริษัท คิวพี (ประเทศไทย) ตามลำดับ ในโครงการมีช้างรวม 7 เชือก ล้มไปเมื่อปี 2563 จำนวน 1 เชือก ปี 2564 จำนวน 1 เชือก ปัจจุบันมีช้างรวม 5 เชือก ได้แก่ สีดอบารมี พังมรกต พังบุญรวม พังมีสิทธิ์ และพังท็อป “ถึงเวลาปลด ซ. โซ่ แห่งหน้าที่ คืนวิถีแห่งชีวิตให้กับช้าง”
ประวัติความเป็นมาของโครงการช้างได้เริ่มต้น โดยย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีก่อน บริษัท เอส แอนด์ เจ อินเตอร์เนชั่นแนลอินเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) ได้จัดตั้ง ‘โครงการอนุรักษ์ช้าง’ เริ่มจากโครงการอนุรักษ์ช้างศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย โดยในปี พ.ศ. 2547 บริษัท เอส แอนด์ เจ ฯ ได้จัดสร้าง ‘สถานีอนามัยช้างบ้านตึก’ ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เพื่อทำการรักษาช้าง และสัตว์ต่าง ๆ ที่เจ็บป่วย หรือได้รับบาดเจ็บเบื้องต้น ก่อนส่งไปรักษาในโรงพยาบาลสัตว์ ด้วยการสนับสนุนเจ้าหน้าที่และเวชภัณฑ์ยา รวมถึงค่าใช้จ่ายทุกอย่าง ทำให้ชาวบ้านมีโอกาสที่ดีในการเลี้ยงสัตว์ และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษา โดย ณ ขณะนั้นมีช้างที่อยู่ในการดูแลด้านเวชภัณฑ์ยา และด้านความเป็นอยู่ จำนวนทั้งสิ้น 7 เชือก และมีช้างที่ได้รับการสนับสนุนเวชภัณฑ์ยาอีกกว่า 15 เชือก
นอกจากนี้ บริษัท เอส แอนด์ เจฯ ยังให้การสนับสนุนการจัดทำโฮมสเตย์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และการอนุรักษ์ช้าง จังหวัดสุโขทัย อีกทั้งยังร่วมส่งเสริมประเพณีของชาวศรีสัชนาลัย ไม่ว่าจะเป็นพิธีบวชช้างหาดเสี้ยว หรือ ประเพณีแห่น้ำขึ้นโฮม ส่งน้ำเจ้าหมื่นด้ง ซึ่งการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวสร้างให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างบริษัทกับชุมชน
หลังจากนั้นอีก 2 ปี บริษัท เอส แอนด์ เจฯ ได้จัดสร้างสถานีอนามัยช้างแห่งที่ 2 ณ บ้าน ช.ช้างชรา จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งมีช้างในการดูแลมากกว่า 20 เชือก และมีโครงการหลัก ๆ ในการช่วยเหลือช้าง นอกเหนือจากการสนับสนุนเวชภัณฑ์ยา ได้แก่ โครงการไถ่ชีวิตช้างชรา โครงการสวดส่งวิญญาณช้าง และโครงการอาหารช้าง ภายใต้สโลแกน “ช้างหิว ช้างป่วย ผู้ช่วยคือ เอสแอนด์เจฯ” สำหรับ ‘โครงการไถ่ชีวิตช้างชรา’ พังวาสนาในวัย 50 ปีนับเป็นช้างชราเชือกแรก ที่ บริษัท เอส แอนด์ เจฯ ได้ปลดโซ่ออกจากขา โดยการไถ่ชีวิตและคืนอิสรภาพให้ในปี พ.ศ. 2554 และ ต่อมาในปี พ.ศ. 2559 บริษัท เอส แอนด์ เจฯ ได้ขยายโครงการช้างไปยังจังหวัดตาก โดยสร้าง ‘สถานีอนามัยช้าง’ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เพื่อดูแลช้างใน 5 อำเภอ จำนวนกว่า 200 เชือก
ตลอดระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจมากว่า 40 ปี บริษัท เอส แอนด์ เจ อินเตอร์เนชั่นแนล อินเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) ยืนหยัดอยู่บนเส้นทางการดำเนินธุรกิจ โดยยึดแนวทางตามนโยบายที่ดำรงไว้ซึ่งการเป็นบรรษัทภิบาลที่ดี ด้วยจิตสำนึกแห่งความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะจิตสำนึกแห่งความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นเรื่องที่บริษัทให้ความสำคัญมาโดยตลอด ตั้งแต่การกำหนดนโยบายการจัดตั้งคณะทำงาน การกำหนดทิศทางการดำเนินกิจกรรม ซึ่งครอบคลุมทั้งในด้านเด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และศาสนกุศลต่างๆ ทั้งนี้ ยังรวมไปถึงโครงการช่วยเหลือดูแลรักษาสัตว์ ทั้งสัตว์เล็กสัตว์ใหญ่ โดยเฉพาะ ‘ช้าง’ ที่ถือเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง
‘ช้าง’ จึงไม่ใช่แค่สัตว์ แต่ช้างได้เชื่อมชีวิตผู้คนทั้งภายในและภายนอกบริษัท เอส แอนด์ เจฯ ที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยกัน โดยมีจุดประสงค์เป็นหนึ่งเดียวในการที่จะอนุรักษ์ให้ช้างได้อยู่คู่กับคนไทยและประเทศไทยสืบต่อไป
‘ช้าง’ จึงไม่ใช่แค่สัตว์ แต่ช้างได้เชื่อมชีวิตผู้คนทั้งภายในและภายนอกบริษัท เอส แอนด์ เจฯ ที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยกัน โดยมีจุดประสงค์เป็นหนึ่งเดียวในการที่จะอนุรักษ์ให้ช้างได้อยู่คู่กับคนไทยและประเทศไทยสืบต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น