ม.หอการค้าไทย ดันหลักสูตรใหม่ “สาขาวิชาธุรกิจดิจิทัลและนวัตกรรม” พร้อมเสริมแกร่ง “สาขาวิชาการเงิน” เพิ่มกิจกรรมการเรียนรู้สู่ Practice University - MSK News

Breaking

Home Top Ad

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ม.หอการค้าไทย ดันหลักสูตรใหม่ “สาขาวิชาธุรกิจดิจิทัลและนวัตกรรม” พร้อมเสริมแกร่ง “สาขาวิชาการเงิน” เพิ่มกิจกรรมการเรียนรู้สู่ Practice University


มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยอันดับ 1 ด้านการปั้น “เด็กหัวการค้า” ย้ำจุดยืนเดสติเนชั่นของนักบริหารรุ่นเล็กที่ฝันใหญ่ สู่การเป็นมืออาชีพ และเป็นตัวจริงทั้งด้านวิชาการและภาคปฏิบัติ ด้วยภารกิจการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรให้ก้าวทันสมัยในยุคดิจิทัล โดยล่าสุด คณะบริหารธุรกิจ ได้มีการปรับหลักสูตรจาก “สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ” สู่รูปแบบเนื้อหายุคใหม่ในชื่อ “สาขาวิชาธุรกิจดิจิทัล และนวัตกรรม” สร้างบัณฑิตนักพัฒนาที่เก่งด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรม ให้พร้อมเข้าเติมเต็มความก้าวหน้าของภาคอุตสาหกรรมในประเทศ ตลอดจนการเป็นผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ

อาจารย์บุษรา เอื้อจิระพงษ์พันธ์  หัวหน้ากลุ่มวิชาธุรกิจดิจิทัลและนวัตกรรม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงที่มาของการพัฒนาหลักสูตรครั้งนี้ว่า “จากเดิมสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้การวิเคราะห์ทางธุรกิจ โดยการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาเป็นเครื่องมือในการช่วยตัดสินใจ สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ หรือโฮมเพจ หรือระบบฐานข้อมูลของธุรกิจ สามารถเป็นผู้ให้คำแนะนำด้านเทคนิค และที่ปรึกษาด้านคอมพิวเตอร์ธุรกิจได้ด้วย และในปีการศึกษา 2565 เป็นต้นไป เราจะเริ่มการเรียนการสอนหลักสูตรใหม่ ในชื่อ ‘สาขาวิชาธุรกิจดิจิทัล’ และนวัตกรรม’ ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันของทั่วโลกกำลังเผชิญกับยุคดิจิทัลดิสรับชั่น ไร้การหยุดนิ่ง เทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในภาคธุรกิจและอุตสหกรรมต่างปรับตัวโดยการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการต่อยอดพัฒนาธุรกิจ นับเป็นกลยุทธ์ด้านการขยายขีดความสามารถทางการแข่งขัน โดยปัจจุบันจะเห็นว่า ในภาคธุรกิจมีเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่แทรกซึมอยู่ในทุกกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมภายในองค์กรเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการทำงาน หรืออำนวยความสะดวกต่อการใช้งานของผู้บริหารทั้งการสั่งซื้อ ชำระเงิน ติดตามการจัดส่ง ฯลฯ ทำให้ผู้บริหารยุคนี้จำเป็นต้องมี digital skill เพื่อความสามารถในการตัดสินใจเชิงนโยบาย ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ ทั้งการสร้างแพลตฟอร์มการสื่อสารระหว่างบุคลากร สินค้า บริการใหม่ ๆ เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจในทุกสถานการณ์ โดยเป้าประสงค์ของสาขาวิชาฯ คือการสร้างบัณฑิตที่มีทักษะและความเข้าใจในธุรกิจ ไอที และความสามารถในการตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของตลาดทั้งความต้องการของผู้บริโภค ตลอดจนความเข้าใจต่อศักยภาพของคู่แข่งทางธุรกิจ”

ด้าน ดร.เดวิด มกรพงศ์ อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาธุรกิจดิจิทัลและนวัตกรรม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวเสริมว่า “ด้วยบริบทของภาคอุตสาหกรรม ที่มีการแข่งขันสูง สาขาวิชาธุรกิจดิจิทัลและนวัตกรรม เรามุ่งเน้นการสร้างบุคลาการรุ่นใหม่ที่ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน มีทักษะที่ดีเยี่ยมทั้งในเชิงวิชาการและปฏิบัติการ เนื้อหาในรายวิชาเป็นการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจต่อโครงสร้างของ digital transformation เป็นสำคัญ และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งทำงานเคียงคู่มากับหอการค้าไทย จึงมีจุดแข็งด้านเครือข่ายความสัมพันธ์กับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เหนียวแน่น ทำให้เรามีโอกาสได้สื่อสารแลกเปลี่ยนอยู่เสมอ จนทำให้ทราบถึงความต้องการของตลาดแรงงานว่า pain point ของตลาดแรงงานในวันนี้ยังขาดซึ่งบุคลากรที่มีศักยภาพในด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม เมื่อเทียบอัตราส่วนระหว่างจำนวนบุคลากรและองค์กรธุรกิจ 

ทั้งนี้สำหรับบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากสาขาวิชาธุรกิจดิจิทัลและนวัตกรรม จากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จะมีคุณลักษณะเด่นหลายประการ อาทิ ความสามารถในการเป็นโปรแกรมเมอร์ การคิดค้น digital device การเป็นนักประดิษฐ์ Augmented Reality (AR), Virtual Reality (VR) เพื่อพร้อมรับมือการมาของเทคโนโลยี Metaverse รวมถึงความสามารถด้านเทคโนโลยี Blockchain ตลอดจนเป็น Innovator ผู้สร้างนวัตกรรมทางเลือกเพื่อลดต้นทุน เพิ่มความสะดวกในการทำงานขององค์กร หรือนำเสนอสินค้าและบริการใหม่แก่ผู้บริโภค การริเริ่มทำธุรกิจสตาร์ทอัพเป็นของตนเอง และทักษะด้านอื่น ๆ ที่สามารถนำไปใช้เพื่อเติมเต็มภาคอุตสาหกรรมให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยผู้เรียนทุกคนจะมีโอกาสได้สัมผัสกับประสบการณ์การเรียนที่ควบคู่ไปกับการทำงานจริง โดยการเข้าไปมีส่วนร่วมกับโครงการของภาคธุรกิจซึ่งล้วนเป็นภาคีเครือข่ายของหอการค้าไทย กล่าวคือสามารถนับหนึ่งประสบการณ์การทำงานได้ตั้งแต่ยังเรียน และจะเป็นเป็นบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีคุณค่าต่อตลาดแรงงานและภาคธุรกิจในอนาคต”

นอกจากการพัฒนาหลักสูตรใหม่เพื่อสร้างบุคลากรรุ่นต่อไปที่ช่วยส่งเสริมตลาดแรงงานในด้านนวัตกรรมแล้ว อีกหนึ่งกระแสที่น่าจับต่อมองคือการเรื่องของการเงินการลงทุนในยุคนี้ ทั้งในเรื่องของการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งตลาดแรงงานด้านธุรกิจการเงินและการลงทุนในปัจจุบัน ต่างต้องการคนทำงานที่มีทักษะ และความเข้าใจในการวิเคราะห์ มีความสามารถในการให้คำแนะนำในฐานะที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการการเงินและการลงทุนอย่างแท้จริง สาขาวิชาการเงินและการลงทุน จากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ก็ได้ปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัย เพิ่มกิจกรรมการเรียนรู้ในภาคปฏิบัติ ตามแบบฉบับ Practice University เพื่อสร้างบัณฑิตที่พร้อมทำงาน

ดร.นงนภัส แก้วพลอย
หัวหน้ากลุ่มวิชาการเงินการลงทุน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า “สาขาวิชาการเงินและการลงทุน เรามุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้หลักการบริหารการเงิน การจัดการสภาพคล่อง หลักการลงทุน ตลอดจนนโยบายด้านการเงิน เพื่อพัฒนาสู่การเป็นนักบริหารการเงินมืออาชีพ การสร้างกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สัมผัสประสบการณ์จริงจากการทำงานในภาคธุรกิจด้านการเงินและการลงทุนด้วย โดยในปีการศึกษานี้ การใช้ ‘ห้องปฎิบัติการเทรดหุ้น’ โดยมีเป้าหมายเพื่อผู้เรียนที่มีความสนใจด้านนี้โดยตรง สามารถเรียนรู้ซักซ้อมการลงทุนในหลักทรัพย์ได้ โดยมีอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำชี้แนะ รวมถึงห้องปฏิบัติการซึ่งเป็นคลังความรู้ด้านการเงินและหลักทรัพย์ สิ่งเหล่านี้คือกิจกรรมภาคปฏิบัติที่ต้องการให้ผู้เรียนได้อยู่ในบรรยากาศเสมือนโลกการทำงานในอนาคต ซึ่งในระหว่างการทดลองในห้องปฏิบัติการจะเป็นไปในลักษณะ ‘เพื่อนช่วยเพื่อน’ หรือ ‘พี่ช่วยน้อง’ 

อีกทั้งยังมีความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในภาคธุรกิจหลักทรัพย์ด้านการเงินมาร่วมกันพัฒนาหลักสูตรและเป็นวิทยากรบรรยายในโอกาสสำคัญต่าง ๆ อาทิ บริษัท หลักทรัพย์ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) บริษัท หลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน) บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด รวมทั้งการบรรยายด้านการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก คริปโตเคอเรนซี สาขาวิชาฯ จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับกระแสความนิยมด้านการเงินและการลงทุนในปัจจุบัน เหล่านี้ล้วนเป็นจุดแข็งที่ทำให้ผู้เรียนได้ความรู้นอกเหนือจากตำรา นั่นคือการเรียนจากเจ้าของประสบการณ์จริง”

ด้าน ผศ.ดร.ลลิตา หงษ์รัตนวงศ์
อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาการเงินการลงทุน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวเสริมว่า “นอกจากการเรียนการสอน รวมถึงกิจกรรมในภาคปฏิบัติแล้วนั้น อาจารย์ผู้สอนเองก็มีส่วนสำคัญที่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในการให้คำชี้แนะแก่ผู้เรียนในการประกอบอาชีพเนื่องจากวิชาชีพด้านการเงิน มีความจำเป็นต้องมีการสอบเพื่อรับใบอนุญาต (License) ในการประกอบอาชีพ อาทิ ใบอนุญาตที่ปรึกษาทางการเงิน ใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุน ใบอนุญาตนักวิเคราะห์การลงทุน (AISA) ซึ่งผู้เรียนจะสามารถเพิ่มพูนคุณวุฒิในการสอบจากรายวิชาได้ทันที และอาจารย์ผู้สอนเองก็มักจะมีประสบการณ์การสอบจึงสามารถถ่ายทอดประสบการณ์และคำแนะนำแก่ผู้เรียนที่มีความตั้งใจสอบรับใบอนุญาตเหล่านั้นได้ ในขณะที่โครงการสหกิจอาจารย์ มหาวิทยาลัยฯ จะมีการส่งอาจารย์ผู้สอนที่ไม่มีภารกิจการสอนในช่วงภาคฤดูร้อน เข้าไปร่วมงานกับภาคธุรกิจเอกชน ซึ่งเป็นภาคีเครือข่ายของหอการค้าไทย ทำให้อาจารย์มีประสบการณ์การทำงานและความรู้ที่กว้างขวางเหนือกว่าเพียงตำราเรียน เพราะผู้เรียนในปัจจุบันต้องการผู้สอนที่มีประสบการณ์การทำงาน และสามารถฉายภาพการรับรู้แก่ผู้เรียนเกี่ยวกับโลกการทำงานได้ทันที”

สำหรับผู้สนใจศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาทั้ง สาขาวิชาธุรกิจดิจิทัลและนวัตกรรม และ สาขาวิชาการเงินและการลงทุน รวมถึงสาขาวิชาอื่น ๆ จาก คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้แก่ สาขาวิชาการตลาด, สาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ, สาขาวิชาการจัดการ, สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์, สาขาวิชาธุรกิจเกมส์และอีสปอร์ต, สาขาวิชาการประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม, สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ และหลักสูตรปริญญาโท อีกหลากหลายหลักสูตร สามารถติดตามสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์รับสมัครนักศึกษา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย อาคาร 24 ชั้น 2 โทร. 02-697-6767 ในเวลาทำการ 9.00-16.00 น.https://www.utcc.ac.th Facebook page : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย UTCC (https://www.facebook.com/utccsmart/) หรือ LINE @UTCC


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น