ผู้ป่วยในโครงการ “เจอ แจก จบ” แตกต่างจากผู้ป่วยภายใต้โครงการ Home Isolation (HI) ที่ต้องลงทะเบียนผ่านสายด่วน 1330 และรอรับการจัดสรรไปยังหน่วยพยาบาลต่าง ๆ ที่กำหนดโดยสปสช. ผู้ป่วยภายใต้ OPD หรือ ผู้ป่วยที่รับการรักษาแบบไม่ต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล สามารถลงทะเบียนได้ทันทีผ่านคลินิกที่ได้รับการรับรองจาก สปสช. แบบไม่ต้องมีเอกสารอ้างอิงและสามารถดูแลตัวเองได้ด้วยยาที่จะถูกจัดส่งให้ผู้ป่วยถึงบ้าน นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อติดเชื้อโควิด-19 สามารถนำผล ATK ที่แสดงผลบวก มาติดต่อเข้ารับการรักษาจาก GDTT หนึ่งในพันธมิตรของ สปสช. เพื่อรับบริการความช่วยเหลือทางการแพทย์แบบผู้ป่วยนอก (OPD) ผ่านการให้บริการผ่านทางแอปพลิเคชัน SCB Spring Up พร้อมเข้ารับการรักษาได้โดยตรงจากบริการการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคโควิด-19 ของ GDTT และเตรียมรับยารักษาที่บ้าน
ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า หลังจากที่กระทรวงสาธารณสุขได้ปรับระบบการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มสีเขียวมาเป็นการดูแลแบบผู้ป่วยนอก หรือ "เจอ แจก จบ" ผู้ป่วยใส่หน้ากากอนามัยไปพบแพทย์แล้วกลับบ้านได้เหมือนผู้ป่วยนอกทั่วไป สปสช.จึงสร้างทางเลือกใหม่ๆเพื่ออำนวยความสะดวก เช่น การร่วมมือกับสภาเภสัชกรรม ดึงร้านยากว่า 700 แห่งทั่วประเทศมาเป็นเครือข่ายให้ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวไปรับยาที่ร้านยาได้ รวมทั้งมองหาช่องทางอื่นๆ และทราบว่าธนาคารไทยพาณิชย์มีแอปพลิเคชัน SPRING UP ซึ่งเป็นแอปฯ เกี่ยวกับสุขภาพและมีบริการพบแพทย์ออนไลน์ที่ให้บริการโดยบริษัท กู๊ดด็อกเตอร์เทคโนโลยี (ประเทศไทย) อยู่ในนั้น จึงได้ชักชวนให้เข้ามาร่วมมือกันดูแลผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียวด้วย
"กระทรวงสาธารณสุขคาดการณ์ฉากทัศน์หลังเทศกาลสงกรานต์ไว้ 3 แบบคือมีจำนวนผู้ติดเชื้อน้อย ปานกลาง และติดเชื้อจำนวนมาก การเตรียมพร้อมเราก็จะมอง worst case scenario ไว้ก่อน จึงต้องเตรียมช่องทางการให้บริการไว้เยอะๆ ถ้าเป็นกลุ่มอาการหนักหรือปานกลาง กลุ่มนี้ต้องไปโรงพยาบาลอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นกลุ่มสีเขียวที่ไม่มีโรคประจำตัว ไม่เป็นผู้สูงอายุ จะมีทางเลือกหลายช่องทาง ไปโรงพยาบาลใกล้ก็ได้ ไปรับยาที่ร้านยาใกล้บ้านก็ได้ พบแพทย์แบบ Tele-Health ผ่านแอปฯ SPRING UP ก็ได้ หรือที่บ้านอยู่หลายคนก็เข้า Home Isolation ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละบุคคล" ทพ.อรรถพร กล่าว
ดร. สุทธิชัย โชคกิจชัย หัวหน้าฝ่ายการแพทย์ บริษัท กู๊ด ด็อกเตอร์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) กล่าวว่า “เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มีโอกาสสนับสนุน สปสช. ในการเปิดตัวโครงการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 แบบผู้ป่วยนอก (OPD care initiative) ด้วยประสบการณ์ของเราในการให้คำปรึกษาและดูแลผู้ป่วยโรคโควิด-19 กว่า 15,000 ครั้ง ภายใต้โครงการ Home Isolation (HI) ของ สปสช. เราจะยังคงใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีแยะยกระดับการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ทำให้พวกเขาสะดวกต่อการปรึกษากับ
แพทย์ทางออนไลน์ของเรา และจัดส่งยาไปที่บ้านของผู้ป่วย ซึ่งนี่ถือเป็นแนวทางในการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 แบบผู้ป่วยนอก (OPD) ที่เรากำลังร่วมมือกับ สปสช.”
“ขั้นตอนการลงทะเบียนนั้นง่ายมาก ผู้ป่วยเพียงแค่แนบรูปถ่ายของ ATK ที่เป็นบวก กรอกแบบสอบถามสั้น ๆ เกี่ยวกับอาการ และข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อนามสกุล ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ จากนั้นเจ้าหน้าที่ของเราจะทำการตรวจสอบเบื้องต้นเพื่อดูว่าผู้ป่วยมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ OPD หรือไม่ หากทุกอย่างเรียบร้อยดี เราจะติดต่อกลับไปหาผู้ป่วยเพื่อยืนยันตัวตน พร้อมให้คำปรึกษาและวินิฉัย หลังจากยืนยันอาการแล้ว แพทย์จะสั่งยาจากร้านขายยาพันธมิตรให้ทันที โดยเราทำงานร่วมกับร้านยาพันธมิตรกว่า 450 แห่ง เรามุ่งมั่นให้ Grab นำยาไปส่งยังหน้าบ้านของผู้ป่วยภายในหนึ่งชั่วโมง และหลังจากผ่านไป 48 ชั่วโมง แพทย์จะติดต่อกลับไปหาผู้ป่วยอีกครั้งเพื่อติดตามอาการ” ดร. สุทธิชัย โชคกิจชัย กล่าวเสริม
“ขอขอบคุณ สปสช. ที่เล็งเห็นคุณค่าของการให้บริการดูแลสุขภาพผ่านระบบดิจิทัลและนำมาใช้ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ในวงกว้าง สำหรับระยะแรกนั้น GDTT ได้มุ่งมั่นในการสนับสนุนการแพทย์ทางไกลแก่ผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาพยาบาลอย่างรวดเร็ว เราได้ช่วยเหลือผู้ป่วยประมาณ 5,000 รายจนถึงปัจจุบัน และมีอัตราการรักษาผู้ป่วยรายวันสูงสุดกว่า 700 ราย เราส่งมอบอาหารกว่า 25,000 มื้อ พร้อม ยา และอุปกรณ์ทางการแพทย์” เมลวิน หวู ประธานเจ้าหน้าที่บริหารระดับภูมิภาคของ กู๊ด ด็อกเตอร์ เทคโนโลยี กล่าว
“ผู้ป่วยของเราจำนวน 95% ให้คะแนนความพึงพอใจระดับ 5 ดาว ทำให้เรามีความมั่นใจในเทคโนโลยีของเรา และความเป็นมืออาชีพของทีมแพทย์ของเรา รวมถึงแนวทางในการดูแลผู้ป่วยนอกฉบับล่าสุดของ สปสช. เรามุ่งหน้าที่จะนำการแพทย์ทางไกลมาใช้อย่างรวดเร็วและให้บริการที่ครอบคลุมทั้งประเทศในการจัดการด้านการดูแลสุขภาพในระยะยาว” เมลวิน หวู กล่าวเสริม
GDTT ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพรูปแบบดิจิทัลภายใต้โครงการ Home Isolation (HI) ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา โดยตั้งแต่การได้รับการแต่งตั้ง GDTT ได้ส่งมอบการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพขั้นต้นที่สำคัญได้อย่างรวดเร็วและยังคงรับมือกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอนอย่างต่อเนื่อง GDTT ยังคงให้การสนับสนุนและให้บริการแก่ผู้ป่วยในโครงการ Home Isolation (HI) ผ่านแอปพลิเคชัน Good Doctor นอกจากนี้ยังให้การสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์แก่ผู้ป่วยนอก (OPD) บนแอปพลิเคชัน SPRING UP ของ SCB อีกด้วย
สำหรับ บริษัท กู๊ด ด็อกเตอร์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด (GDTT) คือบริษัทในเครือของกู๊ด ด็อกเตอร์ เทคโนโลยี (GDT) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลชั้นนำในระดับภูมิภาค GDT เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างแพลตฟอร์มบริการดูแลสุขภาพแบบครบวงจรชั้นนำของจีน Ping An Healthcare and Technology Company Limited กับ Grab Holdings Inc (“Grab”) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม O2O แนวหน้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้บริการด้านสุขภาพออนไลน์ที่จะมาพลิกโฉมการให้บริการ ด้วยวิสัยทัศน์ที่จะทำให้ “หนึ่งแพทย์ต่อหนึ่งครอบครัวทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ SEA” และพันธกิจที่จะทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการด้านการรักษาพยาบาลได้ในราคาประหยัด GDT เปิดตัวครั้งแรกในปี 2561 มีสำนักงานใหญ่ในประเทศสิงคโปร์ และเข้าไปให้บริการในประเทศอินโดนีเซียในปีต่อมา
บริษัท กู๊ด ด็อกเตอร์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด (GDTT) เปิดตัวครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2564 โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มโอกาสด้านการดูแลสุขภาพบนช่องทางดิจิทัลให้กับประเทศ และในไม่ช้าก็ได้รับการยอมรับให้เข้าร่วมโปรแกรมการแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation - HI) ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในฐานะผู้ให้บริการดูแลสุขภาพผ่านทางแอปพลิเคชันสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2564 นอกจากโครงการ HI ของสปสช. แล้ว ยังมีบริการ กู๊ด ด็อกเตอร์ให้กับประชาชนในประเทศไทยผ่านข้อตกลงกับบริษัทที่เป็นคู่สัญญาด้วย
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://www.gooddoctor.health/
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://www.gooddoctor.health/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น