โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ เชื่อมั่นผลการประชุมอาเซียน-สหรัฐฯ สมัยพิเศษ ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยอย่างเป็นรูปธรรม ย้ำไทยต้องการให้สถานการณ์ความขัดแย้งทั่วโลกยุติโดยเร็วเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2565 นายธนกร วังบุญคงชนะ เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่ากระทรวงกลาโหม ย้ำความสำเร็จจากการเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ สมัยพิเศษ เมื่อวันที่ 12-13 พฤษภาคม 2565 ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเชื่อมั่นว่าเป็นการประชุมแบบพบกันที่ทุกฝ่ายได้หารือถึงแนวทางขับเคลื่อนความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมและเห็นผลประโยชน์ร่วมกันในอนาคต มุ่งสู่การเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์แบบรอบด้าน
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้ใช้โอกาสในการเดินทางครั้งนี้อย่างคุ้มค่า ได้เน้นย้ำ 3 ประเด็นสำคัญกับสหรัฐฯ ได้แก่ 1.การส่งเสริมให้สหรัฐฯ มีบทบาทที่สร้างสรรค์ในภูมิภาค โดยเสนอให้สหรัฐฯ ทำงานร่วมกับอาเซียนและผู้เล่นสำคัญในภูมิภาค ให้ความสำคัญกับข้อพิจารณาด้านมนุษยธรรม เยียวยาผู้ที่เดือดร้อนจากทุกสถานการณ์ในโลก
2. ผลักดันเรื่องการฟื้นฟูเศรษฐกิจ เสนอให้ไทยและอาเซียนเป็นส่วนสำคัญของห่วงโซ่อุปทานของสหรัฐฯ ในสาขาธุรกิจสำคัญ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เชิญชวนภาคธุรกิจสหรัฐฯ ร่วมลงทุนขยายฐานการผลิตอุตสาหกรรมในไทย ซึ่งบริษัทชั้นนำของสหรัฐฯ หลายบริษัท ให้ความสนใจ โดยสหรัฐฯ ได้ประกาศจะนำนักธุรกิจคณะใหญ่ที่สุดที่เรียกว่า “เทรดวินด์” (Trade Winds) มาเยือนประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2566 โดยใช้ไทยเป็นฐานการผลิต ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี นวัตกรรม เศรษฐกิจดิจิทัล และช่วยพัฒนาศักยภาพกำลังคนดิจิทัลในอาเซียน ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้สนับสนุนให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันอย่างจริงจัง ดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่ออนาคตของคนรุ่นหลัง
3. นายกรัฐมนตรีชี้ให้ทุกฝ่ายคำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชน ที่เกิดจากความท้าทาย ได้แก่ วิกฤตพลังงาน สินค้าขาดแคลน และความยากจน ซึ่งต้องเร่งแก้ไขเพื่อให้ประชาชนอยู่รอด และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
นายธนกรฯ กล่าวเสริมว่า ในการกล่าวถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรีระหว่างการหารือระหว่างผู้นำอาเซียนกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายกรัฐมนตรีได้แสดงทัศนะส่วนตัวต่อสถานการณ์ระหว่างประเทศว่า ไทยต้องการเห็นสงครามซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บยุติลงโดยเร็ว อย่างไรก็ดี เชื่อมั่นว่าความร่วมมือของทุกฝ่าย จะช่วยหาทางออกให้สถานการณ์คลี่คลายได้ และนายกรัฐมนตรีเห็นว่า ทุกฝ่ายควรวางแผนเตรียมการฟื้นฟูและเยียวยาหลังสงคราม ควบคู่ขนานไปกับการดำเนินการเพื่อหาทางยุติสงคราม
3. นายกรัฐมนตรีชี้ให้ทุกฝ่ายคำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชน ที่เกิดจากความท้าทาย ได้แก่ วิกฤตพลังงาน สินค้าขาดแคลน และความยากจน ซึ่งต้องเร่งแก้ไขเพื่อให้ประชาชนอยู่รอด และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
นายธนกรฯ กล่าวเสริมว่า ในการกล่าวถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรีระหว่างการหารือระหว่างผู้นำอาเซียนกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายกรัฐมนตรีได้แสดงทัศนะส่วนตัวต่อสถานการณ์ระหว่างประเทศว่า ไทยต้องการเห็นสงครามซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บยุติลงโดยเร็ว อย่างไรก็ดี เชื่อมั่นว่าความร่วมมือของทุกฝ่าย จะช่วยหาทางออกให้สถานการณ์คลี่คลายได้ และนายกรัฐมนตรีเห็นว่า ทุกฝ่ายควรวางแผนเตรียมการฟื้นฟูและเยียวยาหลังสงคราม ควบคู่ขนานไปกับการดำเนินการเพื่อหาทางยุติสงคราม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น