รองโฆษกรัฐบาลเผยอุตสาหกรรมชีวภาพโต ปี64 ต่างชาติสนใจลงทุน 7.6หมื่นล้าน รัฐบาลตั้งเป้าเป็นฮับอาเซียนในปี 2570
เมื่อวันที่ 28 พ.ค.65 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการเยือนประเทศญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อวันที่ 26-27 พ.ค. ว่า ส่วนหนึ่งของการกล่าวปาฐกถา บนเวที นิคเคอิฟอรั่ม นายกฯได้กล่าวถึงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศที่มุ่งเป้าสร้างความสมดุล ลดความเหลื่อมล้ำและขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวครอบคลุมการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมชีวภาพของอาเซียน (Bio Hub of ASEAN) ภายในปี พ.ศ. 2570 ทั้งนี้ รัฐบาลได้ออกมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพที่ครอบคลุมหลายด้านตั้งแต่ปี 2561 และมีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เฉพาะในปี 2564 มีโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมชีวภาพ เช่น การเกษตรและแปรรูปอาหาร เทคโนโลยีชีวภาพ รวม 222 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 7.65 หมื่นล้านบาท อาทิ 1)โครงการผลิตพลาสติกชีวภาพชนิด Thermoplastic Strach ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก2)โครงการผลิตพลาสติกชีวภาพชนิด Polylactic Acid ในจังหวัดนครสวรรค์ และ 3) โครงการผลิตหลอดดูดน้ำย่อยสลายได้จากเศษแป้ง จังหวัดขอนแก่น
สำหรับความคืบหน้าโครงการของภาคเอกชน เช่น โครงการไบโอฮับเอเซีย ที่จ.ฉะเชิงเทรา มูลค่าลงทุน 57,600 ล้านบาท ซึ่งเป็นการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศอัจฉริยะ เช่น พลังงานชีวภาพ เคมีชีวภาพ และอาหารแห่งอนาคตสำหรับคนและสัตว์ มีการลงนามสัญญาร่วมทุนกับนักลงทุนต่างชาติแล้ว และเกษตรกรสนใจเข้าร่วมโครงการกว่า 6 หมื่นครัวเรือน
ส่วนการดำเนินงานภายใต้มาตรการอื่น ซึ่งประกอบด้วย การกระตุ้นความต้องการในการซื้อสินค้าและบริการ การขจัดปัญหาและอุปสรรค เช่น การปรับปรุงร่างพ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาล การปรับปรุงกฎกระทรวงต่างๆเพื่อเอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมฯ การใช้แผนที่เกษตรเพื่อจัดการการปลูกพืชเศรษฐกิจให้เหมาะกับสภาพพื้นดิน การออกไปรับรองผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อให้สามารถยื่นขอยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล การจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อสร้างบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญด้านชีวภาพและการพัฒนาศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะอุตสาหกรรมชีวภาพ เป็นต้น
“อย่างไรก็ตาม การดำเนินการยังพบปัญหาและอุปสรรคอยู่บ้าง เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้การลงทุนของภาคเอกชนไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ บางจังหวัดยังพบปัญหาด้านผังเมืองที่ไม่สอดคล้องกับการพัฒนาโครงการอุตสาหกรรมฯ บุคคลากรที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญไม่เพียงพอ และปริมาณเม็ดพลาสติกชีวภาพที่ผลิตในประเทศมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรมชีวภาพ ซึ่งทั้งหมดนี้ รัฐบาลได้เร่งดำเนินการเพื่อแก้ไขอยู่ เพื่อให้เกิดการใช้ศักยภาพด้านการเกษตรของประเทศที่มีอยู่มาก เป็นฐานรองรับการขยายตัวอุตสาหกรรมชีวภาพที่ค่าเฉลี่ยตลาดโลกเติบโตไม่ต่ำกว่า 14% ซึ่งหมายความว่า เกษตรกรจะมีรายได้มากขึ้นและอย่างยั่งยืน รวมถึงเศรษฐกิจเติบโตและผนวกการส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน” นางสาวรัชดา กล่าว
เมื่อวันที่ 28 พ.ค.65 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการเยือนประเทศญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อวันที่ 26-27 พ.ค. ว่า ส่วนหนึ่งของการกล่าวปาฐกถา บนเวที นิคเคอิฟอรั่ม นายกฯได้กล่าวถึงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศที่มุ่งเป้าสร้างความสมดุล ลดความเหลื่อมล้ำและขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวครอบคลุมการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมชีวภาพของอาเซียน (Bio Hub of ASEAN) ภายในปี พ.ศ. 2570 ทั้งนี้ รัฐบาลได้ออกมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพที่ครอบคลุมหลายด้านตั้งแต่ปี 2561 และมีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เฉพาะในปี 2564 มีโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมชีวภาพ เช่น การเกษตรและแปรรูปอาหาร เทคโนโลยีชีวภาพ รวม 222 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 7.65 หมื่นล้านบาท อาทิ 1)โครงการผลิตพลาสติกชีวภาพชนิด Thermoplastic Strach ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก2)โครงการผลิตพลาสติกชีวภาพชนิด Polylactic Acid ในจังหวัดนครสวรรค์ และ 3) โครงการผลิตหลอดดูดน้ำย่อยสลายได้จากเศษแป้ง จังหวัดขอนแก่น
สำหรับความคืบหน้าโครงการของภาคเอกชน เช่น โครงการไบโอฮับเอเซีย ที่จ.ฉะเชิงเทรา มูลค่าลงทุน 57,600 ล้านบาท ซึ่งเป็นการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศอัจฉริยะ เช่น พลังงานชีวภาพ เคมีชีวภาพ และอาหารแห่งอนาคตสำหรับคนและสัตว์ มีการลงนามสัญญาร่วมทุนกับนักลงทุนต่างชาติแล้ว และเกษตรกรสนใจเข้าร่วมโครงการกว่า 6 หมื่นครัวเรือน
ส่วนการดำเนินงานภายใต้มาตรการอื่น ซึ่งประกอบด้วย การกระตุ้นความต้องการในการซื้อสินค้าและบริการ การขจัดปัญหาและอุปสรรค เช่น การปรับปรุงร่างพ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาล การปรับปรุงกฎกระทรวงต่างๆเพื่อเอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมฯ การใช้แผนที่เกษตรเพื่อจัดการการปลูกพืชเศรษฐกิจให้เหมาะกับสภาพพื้นดิน การออกไปรับรองผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อให้สามารถยื่นขอยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล การจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อสร้างบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญด้านชีวภาพและการพัฒนาศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะอุตสาหกรรมชีวภาพ เป็นต้น
“อย่างไรก็ตาม การดำเนินการยังพบปัญหาและอุปสรรคอยู่บ้าง เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้การลงทุนของภาคเอกชนไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ บางจังหวัดยังพบปัญหาด้านผังเมืองที่ไม่สอดคล้องกับการพัฒนาโครงการอุตสาหกรรมฯ บุคคลากรที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญไม่เพียงพอ และปริมาณเม็ดพลาสติกชีวภาพที่ผลิตในประเทศมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรมชีวภาพ ซึ่งทั้งหมดนี้ รัฐบาลได้เร่งดำเนินการเพื่อแก้ไขอยู่ เพื่อให้เกิดการใช้ศักยภาพด้านการเกษตรของประเทศที่มีอยู่มาก เป็นฐานรองรับการขยายตัวอุตสาหกรรมชีวภาพที่ค่าเฉลี่ยตลาดโลกเติบโตไม่ต่ำกว่า 14% ซึ่งหมายความว่า เกษตรกรจะมีรายได้มากขึ้นและอย่างยั่งยืน รวมถึงเศรษฐกิจเติบโตและผนวกการส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน” นางสาวรัชดา กล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น